พบผลลัพธ์ทั้งหมด 813 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีขัดทรัพย์ผูกพันคู่กรณี ไม่อาจยกกรรมสิทธิ์ร่วมในภายหลัง
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามกฎหมายการที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่าที่ดินและอาคารดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง แต่ศาลได้พิพากษายกคำร้องขัดทรัพย์ คดีถึงที่สุดไปแล้วเช่นนี้ จึงมีผลว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่ดินและอาคารพิพาทเป็นของผู้ร้อง คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันผู้ร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ผู้ร้องจะมาร้องขอกันส่วนในคดีนี้อีกโดยอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์รวมในอาคารพิพาทหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีขัดทรัพย์: ห้ามฟ้องขอส่วนแบ่งทรัพย์ซ้ำหลังศาลยกคำร้อง
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามกฎหมาย การที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่าที่ดินและอาคารดังกล่าวเป็นของผู้ร้องแต่ศาลได้พิพากษายกคำร้องขัดทรัพย์ คดีถึงที่สุดไปแล้วเช่นนี้จึงมีผลว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่ดินและอาคารพิพาทเป็นของผู้ร้อง คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145ผู้ร้องจะมาร้องขอกันส่วนในคดีนี้อีกโดยอ้างว่ามี กรรมสิทธิ์รวมในอาคารพิพาทหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจ้าพนักงานศาลละเลยหน้าที่ส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ ทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ทราบ
ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่7 พฤศจิกายน 2539 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้ว โดยกำหนดขายในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2539ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 7 วัน ต่อมาในวันที่ 12พฤศจิกายน 2539 ผู้ร้องได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนา คำร้องขัดทรัพย์ให้เจ้าพนักงานศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายแล้วเมื่อสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์อยู่ในอาคารเดียวกันกับศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานศาลผู้มีหน้าที่นำส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ทราบดีอยู่แล้วว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมีสำนักงานอยู่ ณ ที่ใด ไม่มีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องไปร้องขอต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้ส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(1) อีก การที่ผู้ร้องได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายในคดีนี้มีผลเท่ากับผู้ร้องได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานศาลผู้มีหน้าที่นำส่งไม่ดำเนินการส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจนเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ทราบว่าศาลได้รับคำร้องดังกล่าวไว้แล้วและได้ดำเนิน การขายทอดตลาดไปตามกำหนดการขายทอดตลาดจึงไม่ชอบผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7182-7183/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินประกันความเสียหายเพื่อคัดค้านการบังคับคดี: ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวน หากมีหลักฐานเบื้องต้นแสดงคำร้องไม่มีมูล
การวางเงินเพื่อประกันความเสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) มิได้บังคับให้ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องเสมอไป เพียงแต่มีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีมูลโดยศาลอาจตรวจดูจากเอกสารในสำนวนรวมทั้งตัวคำร้องขอเอง ก็เพียงพอแล้วที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7182-7183/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินประกันความเสียหายจากการขัดทรัพย์: ศาลไม่ต้องไต่สวนเสมอไป หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องไม่มีมูล
การวางเงินเพื่อประกันความเสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) มิได้บังคับให้ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องเสมอไป เพียงแต่มีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีมูลโดยศาลอาจตรวจดูจากเอกสารในสำนวนรวมทั้งตัวคำร้องขอเอง ก็เพียงพอแล้วที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์หุ้นตกแก่ผู้ซื้อทันทีเมื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นเพียงการแจ้งให้ทราบ
ตาม พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517มาตรา 20 ได้บัญญัติให้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์กระทำได้เฉพาะหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตและโดยสมาชิกเท่านั้น สมาชิกจะทำการเป็นนายหน้าของบุคคลใด ๆ หรือเป็นตัวแทนบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกก็ได้ดังนั้นการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มิใช่เป็นเรื่องการซื้อขายหุ้นตามปกติ แต่เป็นการซื้อขายหุ้นในกรณีพิเศษ และผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้น ประเภท จำนวนและราคา ตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญ จึงเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในหุ้นตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่มีการซื้อขายกันโดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน ทั้งไม่ต้องจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1129 การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอก หาได้เกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นไม่
เมื่อหุ้นพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นและสลักหลังลอยให้แก่ ส. วันที่ 23 เมษายน 2535 ส.ได้มอบหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นตัวแทนนำไปขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ร้องจึงเสนอขายให้แก่บริษัท-เงินทุนหลักทรัพย์ อ. บริษัทดังกล่าวขายหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ซื้อในวันนั้นเอง กรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทย่อมตกเป็นของผู้ซื้อทันที โจทก์นำยึดหุ้นพิพาทเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน2535 เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของหุ้นพิพาทแล้ว ผู้ร้องซึ่งรับหุ้นพิพาทคืนมาไว้ในครอบครอง จึงเป็นเจ้าของผู้ถือหุ้นมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยหุ้นดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องลงทะเบียนการโอน
เมื่อหุ้นพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นและสลักหลังลอยให้แก่ ส. วันที่ 23 เมษายน 2535 ส.ได้มอบหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นตัวแทนนำไปขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ร้องจึงเสนอขายให้แก่บริษัท-เงินทุนหลักทรัพย์ อ. บริษัทดังกล่าวขายหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ซื้อในวันนั้นเอง กรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทย่อมตกเป็นของผู้ซื้อทันที โจทก์นำยึดหุ้นพิพาทเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน2535 เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของหุ้นพิพาทแล้ว ผู้ร้องซึ่งรับหุ้นพิพาทคืนมาไว้ในครอบครอง จึงเป็นเจ้าของผู้ถือหุ้นมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยหุ้นดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องลงทะเบียนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการเพิกถอนการฉ้อฉลในชั้นบังคับคดี ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ ศาลที่ออกหมายบังคับคดีจะชี้ขาดได้แต่เพียงว่าสมควรปล่อยทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้หรือไม่เท่านั้น และถ้าหากได้ความจริงว่าผู้ร้องขัดทรัพย์ได้รับโอนทรัพย์นั้นมาโดยไม่สุจริต เป็นการหลีกเลี่ยงการการชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้อยู่แล้ว ฉะนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนชื่อผู้ร้องทั้งสองออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้และชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาลในชั้นขัดทรัพย์: เพิกถอนการฉ้อฉลเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ศาลที่ออกหมายบังคับคดีจะชี้ขาดได้แต่เพียงว่าสมควรปล่อยทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้หรือไม่เท่านั้นและถ้าหากได้ความจริงว่าผู้ร้องขัดทรัพย์ได้รับโอนทรัพย์นั้นมาโดยไม่สุจริตเป็นการหลีกเลี่ยงการการชำระหนี้แก่โจทก์แล้วศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้อยู่แล้วฉะนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนชื่อผู้ร้องทั้งสองออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้และชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิจารณาคำร้องขัดทรัพย์และการเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีบังคับคดี
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ศาลที่ออกหมายบังคับคดีจะชี้ขาดได้แต่เพียงว่าสมควรปล่อยทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้หรือไม่เท่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา288วรรคแรกและถ้าหากได้ความจริงว่าผู้ร้องขัดทรัพย์ได้รับโอนทรัพย์นั้นมาโดยไม่สุจริตเป็นการหลีกเลี่ยงการชำระหนี้แก่โจทก์แล้วศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้อยู่แล้วฉะนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนชื่อผู้ร้องทั้งสองออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้กับคำสั่งอายัดเงิน: ผู้ขายกุ้งต่อบุคคลภายนอกไม่มีสิทธิคัดค้านการอายัดเงินจากลูกหนี้
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องเป็นคนขายกุ้งให้ผู้คัดค้านไม่ใช่จำเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้อายัดเงินค่ากุ้งที่ขายให้แก่ผู้คัดค้านตามที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงินดังกล่าวจากผู้คัดค้านไว้ชั่วคราวในระหว่างพิจารณาขอให้เพิกถอนการอายัดเงินดังกล่าวดังนี้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้คัดค้านที่ผู้ร้องอ้างมิใช่เป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นซึ่งผู้ร้องอาจร้องขอให้บังคับได้ตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287และไม่ใช่การขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามมาตรา288หากผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้คัดค้านจริงผู้ร้องก็มีเพียงสิทธิเรียกร้องให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ให้ตนเท่านั้นไม่มีสิทธิที่จะบังคับจากเงินที่ผู้คัดค้านรับว่าเป็นหนี้จำเลยและได้ส่งมาตามที่ศาลอายัดดังกล่าวผู้ร้องชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่ผู้คัดค้านเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก