คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 288

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 813 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9151/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในชั้นร้องขัดทรัพย์และการอุทธรณ์ดุลพินิจเมื่อทุนทรัพย์น้อย
แม้มูลคดีและประเด็นแห่งคดีในชั้นร้องขัดทรัพย์กับคดีเดิมจะเป็นคนละเรื่องกัน แต่ปรากฏตามคำแถลงของผู้ร้องที่ขออนุญาตยื่นสำนวนคดีเดิมเป็นพยานและศาลชั้นต้นได้สั่งรับตามคำแถลงของผู้ร้องแล้ว ดังนี้ ถือได้ว่าพยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนคดีเดิมได้ถูกนำเข้าสู่สำนวนในชั้นร้องขัดทรัพย์แล้วการที่ศาลชั้นต้นรับฟังคำเบิกความของจำเลยซึ่งอยู่ในสำนวนคดีเดิมมาประกอบการวินิจฉัยชี้ขาดในชั้นร้องขัดทรัพย์ จึงหาใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกสำนวนไม่
ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย ผู้ร้องอุทธรณ์เป็นทำนองว่าพยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย ดังนี้เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นร้องขัดทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงห้ามมิให้อุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9151/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานจากคดีเดิมในชั้นร้องขัดทรัพย์และการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท
แม้มูลคดีและประเด็นแห่งคดีในชั้นร้องขัดทรัพย์กับคดีเดิมจะเป็นคนละเรื่องกัน แต่ปรากฏตามคำแถลงของผู้ร้องที่ขออนุญาตยื่นสำนวนคดีเดิมเป็นพยานและศาลชั้นต้นได้สั่งรับตามคำแถลงของผู้ร้องแล้ว ดังนี้ ถือได้ว่า พยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนคดีเดิมได้ถูกนำเข้าสู่สำนวนในชั้นร้องขัดทรัพย์แล้ว การที่ศาลชั้นต้นรับฟังคำเบิกความของจำเลยซึ่งอยู่ในสำนวนคดีเดิมมาประกอบการวินิจฉัยชี้ขาดในชั้นร้องขัดทรัพย์ จึงหาใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกสำนวนไม่
ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย ผู้ร้องอุทธรณ์เป็นทำนองว่าพยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย ดังนี้เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นร้องขัดทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงห้ามมิให้อุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6078/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อฉลสะดุดหยุดเมื่อยึดทรัพย์ แม้ยังไม่ฟ้องคดี
ว.ผู้แทนโจทก์ทราบเมื่อประมาณเดือนกันยายน 2534 ว่าที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งถือได้ว่าโจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลแล้ว แต่โจทก์ก็ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2535 ซึ่งเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล และยังอยู่ภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนดังกล่าว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และตราบใดที่ที่ดินพิพาทยังถูกยึดอยู่ เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ยังไม่สิ้นสุด อายุความไม่เริ่มนับใหม่ตามมาตรา193/15 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่า ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้อง โจทก์ต่อสู้ว่ายังเป็นของ จ.โดยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉล คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6078/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อฉลและการยึดทรัพย์: การยึดทรัพย์เป็นการกระทำที่ทำให้สะดุดหยุดอายุความ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ที่พิพาทที่โจทก์นำยึดทรัพย์ของจำเลย โจทก์ให้การว่าผู้ร้องรับโอนที่พิพาทจากจำเลยโดยคบคิดกันฉ้อฉล ดังนี้ หากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่พิพาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือภายใน 10 ปี นับแต่จำเลยโอนที่พิพาทให้ผู้ร้อง ก็ถือว่าการยึดทรัพย์เป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ซึ่งทำให้อายุความเกี่ยวกับการเพิกถอนการฉ้อฉลสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(5) และตราบใดที่พิพาทยังถูกยึดอยู่เหตุที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ยังไม่สิ้นสุด อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6078/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อฉลและการสะดุดหยุดของอายุความจากการยึดทรัพย์
ว.แทนโจทก์ทราบเมื่อประมาณเดือนกันยายน2534ว่าที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งถือได้ว่าโจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลแล้วแต่โจทก์ก็ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่1กรกฎาคม2535ซึ่งเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลและยังอยู่ภายในกำหนดเวลา1ปีนับแต่เวลาที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนดังกล่าวอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(5)และตราบใดที่ที่ดินพิพาทยังถูกยึดอยู่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ยังไม่สิ้นสุดอายุความไม่เริ่มนับใหม่ตามมาตรา193/15วรรคสองดังนั้นเมื่อผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้องโจทก์ต่อสู้ว่ายังเป็นของจ. โดยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลคดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5457/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์มรดกโดยโจทก์หลังผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้อื่น ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ที่โจทก์ฎีกาว่าคำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของผู้ใดแต่ปรากฏว่าตามคำร้องได้ระบุไว้แล้วว่าเป็นของผู้ร้องกับส.ที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าข้ออ้างตามฎีกาของโจทก์ไม่เป็นความจริงจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ ในประเด็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ร้องกับส. เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมที่ดินและบ้านพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องกับส.โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดมาชำระหนี้โจทก์อุทธรณ์ว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นอีกและพินัยกรรมไม่ได้ระบุว่าให้ที่ดินแปลงใดหรือให้ที่ดินมีเอกสารสิทธิหรือไม่ทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านที่กำหนดให้ก็มิได้ระบุว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอะไรบ้านเลขที่เท่าใดตั้งอยู่ที่ไหนข้อความที่ตกเติมในพินัยกรรมก็ไม่มีลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมกำกับไว้จึงเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์เมื่อผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งผู้ร้องยังไม่ได้มีการจัดการมรดกโจทก์จึงนำยึดมาชำระหนี้ได้ล้วนเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อที่ดินและบ้านพิพาทมีราคารวมกันไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง การโต้เถียงว่าศาลวินิจฉัยคดีนอกประเด็นหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อนการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือที่ดินอีก20ไร่ก็เป็นการยกเหตุผลขึ้นมาสนับสนุนให้เห็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ตามพินัยกรรมอันอยู่ในประเด็นพิพาทว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่หาใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5266/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกคดีและสิทธิในการปล่อยทรัพย์: การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและการอ้างว่าเป็นสินสมรส
แม้ผู้ร้องจะเป็นภริยาของจำเลยแต่ก็มิได้ถูกฟ้องด้วยจึงเป็นบุคคลภายนอกและชอบที่จะนำคดีตามที่กล่าวอ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นการจัดการสินสมรสโดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอมด้วยไปฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนเป็นอีกคดีหนึ่งจะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนในคดีซึ่งตนมิได้เป็นคู่ความด้วยหาได้ไม่ การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา288ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าวเมื่ออ้างว่าทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยร่วมกันเท่ากับยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าของทรัพย์ด้วยผู้ร้องจึงหามีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4411/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
คำสั่งของศาลชั้นต้นในคำแถลงของโจทก์ที่ยื่นเข้ามาคัดค้านคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดที่สั่งว่า "โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การในกำหนด แต่กลับแถลงคัดค้านตามคำแถลงนี้ ให้รับรวมสำนวน สำเนาให้ผู้ร้อง" สามารถเข้าใจได้ชัดเจนว่า ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำแถลงคัดค้านดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นคำให้การของโจทก์จึงได้แจ้งให้โจทก์ทราบในคำสั่งนั้นว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การในกำหนด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำแถลงคัดค้านของโจทก์ดังกล่าว ให้รับรวมสำนวนสำเนาให้ผู้ร้อง จึงเป็นการรับไว้เป็นคำแถลงเท่านั้น มิใช่รับไว้เป็นคำให้การของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด โจทก์ย่อมขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องจึงต้องมีคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้โจทก์ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อผู้ร้องไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ศาลชั้นต้นชอบที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นคู่ความในคดีเดียวกันต้องมีผลประโยชน์ร่วมกัน
เมื่อผู้ร้องทั้งสองได้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มาคนละประเภทโดยผู้ร้องที่ 1 ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับที่ดินแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้น ส่วนผู้ร้องที่ 2 ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับบ้านอีกแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านหลังนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าว การที่เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นในวันเดียวกัน หรือเป็นการสะดวกที่จะดำเนินคดีไปพร้อมกันก็หาใช่ข้อที่จะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันแต่อย่างใดไม่ เมื่อผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ย่อมไม่อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์โดยผู้ร้องต่างกรรมสิทธิ์ ศาลไม่อนุญาตรับคำร้องหากไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในคดี
โจทก์นำยึดที่ดิน 1 แปลงของจำเลยที่ 1 และบ้าน 1 หลังของจำเลยที่ 2 ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขัดทรัพย์รวมมาในคำร้องฉบับเดียวกันโดยผู้ร้องที่ 1 ร้องขอให้ปล่อยที่ดินแห่งหนึ่ง ส่วนผู้ร้องที่ 2 ร้องขอให้ปล่อยบ้านอีกแห่งหนึ่งผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าว การที่เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นในวันเดียวกันหรือเป็นการสะดวกที่จะดำเนินคดีไปพร้อมกันไม่ใช่ข้อที่จะแสดงว่ามีผลประโยชน์ร่วมกัน ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59
of 82