พบผลลัพธ์ทั้งหมด 813 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นคู่ความในคดีปล่อยทรัพย์: ผลประโยชน์ร่วมกันเป็นสำคัญ แม้เหตุเกิดวันเดียวกัน
เมื่อผู้ร้องทั้งสองได้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มาคนละประเภทโดยผู้ร้องที่1ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับที่ดินแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นส่วนผู้ร้องที่2ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับบ้านอีกแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านหลังนั้นย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าวการที่เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นในวันเดียวกันหรือเป็นการสะดวกที่จะดำเนินคดีไปพร้อมกันก็หาใช่ข้อที่จะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันแต่อย่างใดไม่เมื่อผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีย่อมไม่อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์โดยผู้ร้องต่างกรรมสิทธิ์ ศาลไม่อนุญาตรับคำร้องหากไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในคดี
โจทก์นำยึดที่ดิน 1 แปลงของจำเลยที่ 1 และบ้าน 1 หลังของจำเลยที่ 2 ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขัดทรัพย์รวมมาในคำร้องฉบับเดียวกันโดยผู้ร้องที่ 1 ร้องขอให้ปล่อยที่ดินแห่งหนึ่ง ส่วนผู้ร้องที่ 2 ร้องขอให้ปล่อยบ้านอีกแห่งหนึ่งผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าว การที่เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นในวันเดียวกันหรือเป็นการสะดวกที่จะดำเนินคดีไปพร้อมกันไม่ใช่ข้อที่จะแสดงว่ามีผลประโยชน์ร่วมกัน ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินของผู้ครอบครองโดยชอบธรรม vs. ผู้รับจำนองโดยสุจริต: สิทธิครอบครองที่ชอบธรรมย่อมเหนือกว่า
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ส. เมื่อ ส.ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทตกได้แก่ ช.มารดาของผู้ร้อง ต่อมา ช.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องได้ยึดถือครอบครองมาโดยตลอด ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าจำเลยมีสิทธิเช่นนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวย่อมตกไป การที่จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทนำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยสุจริตก็ตาม ก็หามีผลให้โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาทในฐานะผู้รับจำนองไม่ เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 705 จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองปรปักษ์และผลกระทบต่อการจำนอง
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของส. เมื่อส.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ช. มารดาของผู้ร้องต่อมาช.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องได้ยึดถือครอบครองมาโดยตลอดผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแม้ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าจำเลยมีสิทธิเช่นนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373เมื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวย่อมตกไปการที่จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทนำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่โจทก์แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยสุจริตก็ตามก็หามีผลให้โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาทในฐานะผู้รับจำนองไม่เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา705จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินของผู้ครอบครองตามกฎหมาย แม้ชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะเป็นชื่ออื่น
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของส. เมื่อส. ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ช. มารดาของผู้ร้องต่อมาช.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องได้ยึดถือครอบครองมาโดยตลอดผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแม้ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าจำเลยมีสิทธิเช่นนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373เมื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวย่อมตกไปการที่จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทนำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่โจทก์แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยสุจริตก็ตามก็หามีผลให้โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาทในฐานะผู้รับจำนองไม่เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา705จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองจริง vs. ชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ส.เมื่อส.ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทตกได้แก่ ช.มารดาของผู้ร้องต่อมาช.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องได้ยึดถือครอบครองมาโดยตลอด ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าจำเลยมีสิทธิเช่นนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวย่อมตกไปการที่จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทนำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยสุจริตก็ตาม ก็หามีผลให้โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาทในฐานะผู้รับจำนองไม่เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 705จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองเมื่อเจ้าของที่ดินบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง – ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดี
โจทก์ใช้สิทธิบังคับคดีขับไล่จำเลยให้รื้อถอนตึกแถวพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองตึกแถวดังกล่าวไว้จากจำเลยชอบเพียงที่จะใช้สิทธิเพื่อให้ตนได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้สามัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา289วรรคแรกเท่านั้นผู้ร้องจึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีเกี่ยวกับตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนออกไปจากที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ล้มละลาย: อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และกระบวนการคัดค้าน
โจทก์ฟ้องและบังคับคดีแก่จำเลยในระหว่างจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22,109และเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลชั้นต้นเปิดคดีและขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไว้ในคดีนี้แล้วโอนเงินที่เหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายกรณีถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฏิบัติการแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา22ประกอบกับมาตรา6การยึดทรัพย์สินเพื่อบังคับคดีในคดีนี้จึงมีผลเท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายซึ่งผู้ใดจะคัดค้านจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา158ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีผู้ใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่ในระหว่างล้มละลาย ต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น
โจทก์ฟ้องและขอให้บังคับคดีแก่จำเลยในระหว่างจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว การจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,109และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไว้ในคดีนี้แล้วโอนเงินที่เหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฎิบัติการแทนตามมาตรา 22ประกอบกับมาตรา 6 จึงมีผลเท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ซึ่งผู้ใดจะคัดค้านจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 158ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9337/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิจารณาของศาลในชั้นร้องขัดทรัพย์: เจ้าของทรัพย์สิน vs. ข้อพิพาทเรื่องหนี้สิน
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 กฎหมายประสงค์ให้ศาลที่ออกหมายบังคับคดีชี้ขาดเพียงว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้หรือไม่เท่านั้น จะไปวินิจฉัยว่าฮ. เจ้ามรดกไม่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ไม่ได้ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาดังกล่าว จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นชั้นร้องขัดทรัพย์