คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 288

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 813 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9337/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยในชั้นร้องขัดทรัพย์: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะเจ้าของทรัพย์สิน ไม่ใช่ข้อพิพาทเรื่องหนี้สิน
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288กฎหมายประสงค์ให้ศาลที่ออกหมายบังคับคดีชี้ขาดเพียงว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้หรือไม่เท่านั้น จะไปวินิจฉัยว่า ฮ.เจ้ามรดกไม่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ไม่ได้ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาดังกล่าว จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นชั้นร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7863/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ใช้บ้านเป็นหลักประกันและตกลงยกให้หากผิดนัดชำระหนี้เป็นโมฆะ หากไม่ได้กำหนดเวลาชำระ
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินมีใจความว่า ถ้าโจทก์ผู้กู้ไม่นำเงินมาชำระคืนแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ตามกำหนดผู้กู้ยินยอมยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง และสัญญากู้ยืมไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงินคืนไว้ ความตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่ได้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินนั้น ในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบซึ่งขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองความตกลงของโจทก์และผู้ร้องตามสัญญาข้อนี้จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม ดังนั้น แม้โจทก์ยื่นคำแถลงรวมทั้งเบิกความยืนยันว่าขอยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์บ้านจึงยังคงเป็นของโจทก์ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7863/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ทรัพย์สินแทนเงินกู้: โมฆะหากราคาไม่สมเหตุสมผล
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินมีใจความว่า ถ้าโจทก์ผู้กู้ไม่นำเงินมาชำระคืนแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ตามกำหนด ผู้กู้ยืนยอมยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง และสัญญากู้ยืมไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงินคืนไว้ ความตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่ได้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินนั้น ในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบซึ่งขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง ความตกลงของโจทก์และผู้ร้องตามสัญญาข้อนี้จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม ดังนั้น แม้โจทก์ยื่นคำแถลงรวมทั้งเบิกความยืนยันว่าขอยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ บ้านจึงยังคงเป็นของโจทก์ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6547/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการครอบครองทรัพย์สิน: ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่ได้อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบและจดทะเบียนโอนอาคารพาณิชย์ห้องพิพาทให้โจทก์ จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงดำเนินการบังคับคดีโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไปจัดการให้โจทก์เข้าครอบครองอาคารพาณิชย์ห้องพิพาทและส่งมอบให้โจทก์เข้าครอบครองแล้ว การส่งมอบดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ตรี เพื่อจัดการให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ หาใช่เป็นการยึดทรัพย์เพื่อนำออกขายทอดตลาดตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 288 ไม่ กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 ที่ผู้ร้องจะมาร้องขอให้ปล่อยอาคารพาณิชย์ห้องพิพาทได้
ปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6547/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีส่งมอบทรัพย์: สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์จากจำเลยเมื่อมีการบังคับคดี
ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบและจดทะเบียนโอนห้องพิพาทให้โจทก์จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาโจทก์จึงดำเนินการบังคับคดีโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไปจัดการให้โจทก์เข้าครอบครองห้องพิพาทและส่งมอบให้โจทก์เข้าครอบครองแล้วซึ่งการส่งมอบดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296ตรีเพื่อจัดการให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ไม่ใช่เป็นการยึดเพื่อนำออกขายทอดตลาดตามความในมาตรา288กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา288ที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องพิพาทจากจำเลยจะมาร้องขอให้ปล่อยห้องพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4945/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านคำสั่งขยายเวลาชำระราคาในการบังคับคดีสงวนไว้สำหรับผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายเท่านั้น
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งขยายเวลาในการชำระราคาทรัพย์แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ เป็นเรื่องระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับผู้ซื้อทรัพย์ในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญา ผู้ร้องเป็นเพียงผู้เข้าสู้ราคามิได้เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและมิใช่บุคคลผู้ชอบจะใช้สิทธิอันได้จดทะเบียนไว้โดยชอบหรือที่ได้ยื่นคำขอตามป.วิ.พ. มาตรา 288, 289 และ 290 จึงมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามมาตรา 296 วรรคสอง ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4945/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการคัดค้านคำสั่งขยายเวลาชำระราคาทรัพย์ในการบังคับคดี ผู้เข้าสู้ราคาไม่มีสิทธิ
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งขยายเวลาในการชำระราคาทรัพย์แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้เป็นเรื่องระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับผู้ซื้อทรัพย์ในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญาผู้ร้องเป็นเพียงผู้เข้าสู้ราคามิได้เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและมิใช่บุคคลผู้ชอบจะใช้สิทธิอันได้จดทะเบียนไว้โดยชอบหรือที่ได้ยื่นคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา288,289และ290จึงมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามมาตรา296วรรคสองไม่มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินที่ถูกยึดโดยเจตนาสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ ถือเป็นโมฆะ
การที่ผู้ร้องรู้อยู่ว่าที่พิพาทซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และมีสิทธิครอบครองอยู่ด้วยถูกยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาชำระหนี้โจทก์อยู่ แต่ก็ยังรับโอนที่พิพาทโดยอ้างว่าเจ้าพนักงานที่ดินยอมทำการจดทะเบียนการโอน ถือว่าผู้ร้องรับโอนโดยไม่สุจริต เป็นพฤติการณ์ที่สมคบกันเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ที่พิพาทถูกยึดใช้หนี้โจทก์การจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทระหว่าง ส. ในฐานะผู้จัดการมรดก ป. ในส่วนที่เป็นมรดกตกแก่จำเลยกับผู้ร้อง จึงเป็นไปโดยการสมยอมกันซึ่งเป็นเจตนาลวงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคแรก เดิม (มาตรา 155 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการบังคับคดีและการดำเนินคดีในชั้นร้องขัดทรัพย์: การขาดนัดยื่นคำให้การและการทิ้งฟ้อง
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยขายทอดตลาดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นร้องขัดทรัพย์ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคสอง ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา โดยโจทก์ร่วมมีฐานะเป็นจำเลย โจทก์หาใช่ผู้ร้องขอให้บังคับคดีจึงไม่มีฐานะเป็นจำเลย ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำสั่งในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ให้โจทก์ให้การแก้คดี แต่เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยได้ให้การแก้คดีแล้ว จึงมิใช่กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคแรก ผู้ร้องในฐานะโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง หาได้ไม่
การที่ศาลมีคำสั่งในคำให้การโจทก์ร่วมแต่เพียงว่า "รอฟังโจทก์จำเลยก่อน" เท่านั้น มิได้กำหนดให้ผู้ร้องดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรและได้ส่งคำสั่งโดยชอบ จะถือว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องและจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 132 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์บังคับคดี: สถานะคู่ความ, การขาดนัดยื่นคำให้การ, และการจำหน่ายคดี
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยขายทอดตลาดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาขั้นร้องขัดทรัพย์ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา288วรรคสองให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดาโดยโจทก์ร่วมมีฐานะเป็นจำเลยโจทก์หาใช่ผู้ร้องขอให้บังคับคดีจึงไม่มีฐานะเป็นจำเลยดังนั้นแม้ศาลจะมีคำสั่งในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ให้โจทก์ให้การแก้คดีแต่เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยได้ให้การแก้คดีแล้วจึงมิใช่กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคแรกผู้ร้องในฐานะโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองหาได้ไม่ การที่ศาลมีคำสั่งในคำให้การโจทก์ร่วมแต่เพียงว่า"รอฟังโจทก์จำเลยก่อน"เท่านั้นมิได้กำหนดให้ผู้ร้องดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรและได้ส่งคำสั่งโดยชอบจะถือว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องและจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132หาได้ไม่
of 82