คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 288

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 813 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจำนองต่อผู้รับโอนทรัพย์สินก่อนฟ้องคดี การบังคับคดีต้องเป็นไปตามกฎหมายและยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้การที่โจทก์เพียงแต่บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735 โดยมิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วยนั้น จึงไม่ใช่เป็นการบังคับจำนองที่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดที่ดินของผู้ร้องได้ เพราะการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 278 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าทรัพย์ที่จะบังคับคดีเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อโจทก์รับว่าทรัพย์ที่พิพาทเป็นของผู้ร้องมิใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเช่นนี้ จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทที่ยึดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีที่ผิดพลาดกระทบสิทธิบุคคลภายนอก ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดไม่ได้รับความคุ้มครอง
ที่ดินที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้องไม่ใช่ของจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษา การบังคับคดีจึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง เมื่อการบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้นลงเพราะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายังไม่ได้รับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไป ผู้ร้องในฐานะผู้มีส่วนได้เสียซึ่งต้องเสียหายในการบังคับคดีย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการบังคับคดีนั้นได้ แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง เมื่อศาลสั่งเพิกถอนการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ย่อมส่งผลให้การขายทอดตลาดสิ้นไป ฉะนั้น แม้ผู้ซื้อทรัพย์จะได้ซื้อที่ดินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดก็ตาม ผู้ซื้อทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์มรดก โจทก์มีสิทธิยึดเพื่อชำระหนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอปล่อยทรัพย์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งกันครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดก ระหว่างผู้ร้องทั้งสามกับจำเลยที่ 1และบรรดาพี่น้องคนอื่น ๆ แล้ว กรณีจึงต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสามและจำเลยที่ 1 ยังมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาท โจทก์สามารถนำยึดมาชำระหนี้ได้ ผู้ร้องทั้งสามจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3621/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กองมรดกไม่มีอำนาจฟ้องร้องได้ เพราะไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
สิทธิในการดำเนินคดีทางศาลจะมีได้ก็แต่เฉพาะบุคคลเท่านั้นซึ่งคำว่าบุคคลหมายถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล กองมรดกของผู้ตายหามีกฎหมายใดบัญญัติให้มีสภาพเป็นนิติบุคคลไม่ จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง: ทรัพย์พิพาท, การจดทะเบียน, ข้อเท็จจริงนอกสำนวน
คดีมีทุนทรัพย์ในชั้นร้องขัดทรัพย์ 180,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง การที่ผู้ร้องฎีกาว่า ทรัพย์พิพาทยังไม่ได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514เป็นฎีกาที่โต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าทรัพย์พิพาทได้จดทะเบียนแล้ว และที่ผู้ร้องฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามฎีกาของผู้ร้องมิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงใดที่อ้างว่าเป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวนฎีกาของผู้ร้องจึงเป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ, สิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบของที่ดิน
การที่ผู้ร้องและจำเลยซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทำสัญญาเพื่อให้มีผลเป็นการโอนสิทธิในที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่กันภายในกำหนดเวลาห้ามโอนนั้นแม้จะเรียกว่าสัญญาจะซื้อจะขายและระบุในสัญญาว่าจะมีการโอนทางทะเบียนเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม การทำสัญญาเช่นนี้เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายสัญญาจึงเป็นโมฆะ จำเลยจึงยังคงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว ส่วนบ้านและอาคารซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ร้องปลูกสร้างในที่ดินของจำเลยโดยผู้ร้องมิใช่ผู้มีสิทธิในที่ดินย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นของจำเลย โจทก์ย่อมสามารถนำยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2244/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด แม้ได้มาด้วยเงินผิดกฎหมาย ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ตกแก่ผู้เสียหาย
การที่จำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์คันพิพาทด้วยเงินที่ลักไปจากผู้ร้อง จะถือว่ารถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหาได้ไม่เพราะรถยนต์พิพาทไม่ใช่ทรัพย์ของผู้ร้องที่จำเลยที่ 1 ลักเอาไปเมื่อผู้ร้องไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท ผู้ร้องจึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิและไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยรถยนต์พิพาทที่โจทก์นำยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2244/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน: แม้ได้มาด้วยเงินทุจริต แต่สิทธิในการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ยึดมีเฉพาะเจ้าของทรัพย์
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์พิพาทด้วยเงินที่ลักไปจากผู้ร้องก็ตาม แต่ก็จะถือว่ารถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหาได้ไม่ เพราะรถยนต์พิพาทไม่ใช่ทรัพย์ของผู้ร้องที่จำเลยที่ 1 ลักเอาไป เมื่อผู้ร้องไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาท ผู้ร้องจึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิและไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยรถยนต์พิพาทที่โจทก์นำยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจงดการขายทอดตลาดหลังศาลชั้นต้นยกคำร้องขัดทรัพย์ และฐานะผู้ร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 288
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อได้รับคำร้องขัดทรัพย์แล้วให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นไว้ระหว่างรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล หมายถึงศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้นเอง คือศาลชั้นต้น หาได้หมายถึงศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจขายทรัพย์ดังกล่าวได้ ผู้ร้องขัดทรัพย์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดของผู้ร้อง และขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งงดการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจว่ามีเหตุสมควรที่จะให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวหรือไม่ ผู้ร้องขัดทรัพย์อ้างว่า ทรัพย์ที่โจทก์ยึดเพื่อขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย ดังนี้ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอกันส่วนของผู้ร้องในทรัพย์ที่จะขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ผู้ร้องไม่ได้มีฐานะเป็นผู้ร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 288 จึงไม่มีเหตุที่จะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ไว้ในระหว่างอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีจากสารบบความหลังคู่ความมรณะ และการอุทธรณ์คำสั่งศาล
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความในกรณีคู่ความมรณะตามมาตรา 42 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นเอง เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องถึงแก่กรรมระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์โดยไม่มีผู้อยู่ในฐานะที่จะรับมรดกความแทนและไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอให้หมายเรียกผู้ใดเข้ามาในคดีจนล่วงเลยกำหนดเวลา 1 ปี ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งคดีดังกล่าวค้างพิจารณาอยู่ที่จะสั่งจำหน่ายคดี คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เป็นคำสั่งใด ๆ ที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจชี้ขาดได้ตามอำนาจที่มีอยู่และคำสั่งดังกล่าวอยู่ในบังคับของการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดซึ่งต้องยื่นฎีกาภายในกำหนด 1เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งให้คู่ความฟัง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223,229 ประกอบด้วยมาตรา 247
of 82