พบผลลัพธ์ทั้งหมด 813 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: รถยนต์ที่ซื้อระหว่างสมรสด้วยเงินกู้และเงินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสจำเลยมีสิทธิ
ผู้ร้องซื้อรถยนต์คันพิพาทในระหว่างที่เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย โดยผู้ร้องรวบรวมเงินมาซื้อโดยได้นำเงินบางส่วนที่ผู้ร้องเก็บสะสมมาตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลย และอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินกู้จากสหกรณ์ออมทรัพย์โดยเงินกู้ที่ได้มาเป็นเงินที่ผู้ร้องได้มาในระหว่างเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายกับจำเลย ย่อมถือเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 หาใช่เป็นเงินที่ได้มาจากการเปลี่ยนสินส่วนตัวของผู้ร้องมาเป็นสินสมรสดังเช่นที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง เมื่อรถยนต์คันพิพาทเป็นสินสมรส จำเลยจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย และตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดคืนแก่ผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า ทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เป็นของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เมื่อจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในรถยนต์คันพิพาทนั้นด้วย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9508/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องขัดทรัพย์และการบังคับคดี: การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้อง ให้เพิกถอนหมายบังคับคดีและการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 และไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ว. เพราะก่อนที่ ว. จะถึงแก่ความตายได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้อง โดยสละการครอบครองและส่งมอบการครอบครองให้ผู้ร้องตามคำร้องของผู้ร้องมีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยที่ดินพิพาทที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้อง จึงเป็นกรณีที่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 288 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องร้องขัดทรัพย์ มิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์และจำเลยทั้งสองตามส่วนนั้น เป็นวิธีการแบ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตามคำพิพากษาที่ให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท โดยศาลกำหนดไว้ว่าหากไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลราคากันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองถ้าตกลงกันไม่ได้ให้นำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินที่ได้แบ่งให้โจทก์ 1 ใน 3 ส่วน อันเป็นวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้มีสิทธิร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง โจทก์และจำเลยทั้งสองมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกัน จึงมิใช่การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอันเป็นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 เข้ามาในชั้นบังคับคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9508/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องขัดทรัพย์และการบังคับคดี: ผู้ร้องไม่มีสิทธิเพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อไม่ใช่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้อง ให้เพิกถอนหมายบังคับคดีและการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 และไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ว. เพราะก่อนที่ ว. จะถึงแก่ความตายได้ยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้อง โดยสละการครอบครองและส่งมอบการครอบครองให้ผู้ร้องตามคำร้องของผู้ร้องมีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยที่ดินพิพาทที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้อง จึงเป็นกรณีที่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 288 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องร้องขัดทรัพย์ มิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีตาม มาตรา 296 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27
โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์และจำเลยทั้งสองตามส่วน เป็นวิธีการแบ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตามคำพิพากษาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง โจทก์และจำเลยทั้งสองมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกัน จึงมิใช่การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอันเป็นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288
โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์และจำเลยทั้งสองตามส่วน เป็นวิธีการแบ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตามคำพิพากษาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง โจทก์และจำเลยทั้งสองมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกัน จึงมิใช่การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอันเป็นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8963/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินฝากในบัญชีชื่อจำเลย ธนาคารคืนเงินให้จำเลย ผู้ฝากย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้รับฝากจำต้องคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากไว้นั้นให้แก่ผู้ฝาก หรือทรัพย์สินนั้นฝากในนามของผู้ใดคืนให้แก่ผู้นั้น... บัญชีเงินฝากชื่อบัญชีเป็นการฝากในนามของจำเลยโดยไม่ปรากฏข้อความว่าจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าวแทนผู้ร้อง ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินฝากให้แก่จำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมาย แม้ผู้ร้องนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้จำเลยรับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าทั่วไปแทนผู้ร้อง แต่เงินที่ผู้ร้องนำเข้าฝากในบัญชีเงินฝากของจำเลยจึงเป็นกรณีการฝากเงิน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึ่งต้องส่งคืนเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่ฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิเอาเงินนั้นออกใช้ได้ ฉะนั้นเงินที่ฝากจึงตกเป็นของธนาคาร เมื่อจำเลยใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินที่ฝากจากธนาคาร ธนาคารก็ไม่จำต้องคืนเงินตราอันเดียวกับที่รับฝาก ธนาคารคงมีแต่หน้าที่จะต้องคืนเงินให้ครบถ้วนเท่านั้น จำเลยเป็นผู้ทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารในนามของจำเลย ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฝาก ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญากับธนาคารด้วย จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินที่รับฝากไว้จากบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้ในนามของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 และมาตรา 672 ผู้ร้องเพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามหน้าที่ที่จำเลยมีต่อผู้ร้องเท่านั้น หากจำเลยไม่รับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าตามที่ผู้ร้องอนุมัติเงินไป ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยคืนได้เอง ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าของเงินฝากตามบัญชีธนาคารของจำเลยที่ถูกอายัดไว้ และไม่มีสิทธิขอให้ถอนอายัดเงินฝากดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7320/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเพิกถอนการขายทอดตลาด: การยึดทรัพย์ที่ถูกต้องและการระบุเลขที่บ้านผิดพลาด
ข้อเท็จจริงได้ความตามรายงานการยึดทรัพย์ประกอบบัญชียึดทรัพย์ว่า โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินโฉนดเลขที่ 8418 ซึ่งจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ส. โดยแสดงรายละเอียดสภาพของบ้านว่าเป็นบ้านตึกชั้นเดียว กระเบื้องซีแพค ผนังก่ออิฐฉาบปูนขอบเรียบ มี 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ ด้านหลังต่อเติมเป็นห้องครัว ด้านข้างทำเป็นที่จอดรถ ไม่ปรากฏเลขทะเบียน แต่โจทก์ยืนยันว่าเป็นบ้านเลขที่ 142 และเป็นของจำเลย ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว โดยระบุสภาพของบ้านและแผนที่แสดงที่ตั้งของบ้านไว้ชัดเจน เป็นที่เข้าใจได้ว่าบ้านที่จะขายทอดตลาดเป็นบ้านที่ปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ยึดไว้ บ้านที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดและประกาศขายทอดตลาดกับบ้านที่ขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์จึงเป็นบ้านหลังเดียวกัน มิใช่เป็นการขายทอดตลาดบ้านหลังที่มิได้ยึดแต่ประการใด แม้เลขที่ของบ้านจะไม่ตรงกัน ก็เป็นเพียงการระบุเลขที่บ้านผิดไป มิได้มีผลให้การขายทอดตลาดไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด ที่ผู้ร้องที่ 1 อ้างว่า บ้านดังกล่าวเป็นของตนมิใช่ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ผู้ร้องที่ 1 ก็ชอบที่จะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าวเสียก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง เมื่อการขายทอดตลาดบ้านพิพาทเสร็จสิ้นแล้ว ย่อมล่วงเลยเวลาที่ผู้ร้องที่ 1 จะขอปล่อยทรัพย์นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7318/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการบังคับคดี: ศาลฎีกายกข้อโต้แย้งเรื่องระยะเวลาคำร้อง และวินิจฉัยการปล่อยทรัพย์ที่ดินแปลงที่ 2
ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสามหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงเกี่ยวกับการบังคับคดีครั้งนี้ อันมีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องไปในที่สุด จึงเป็นกรณีที่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 288 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องขัดทรัพย์นั้นเอง มิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามกฎหมายแต่อย่างใด และการจะให้พนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องได้นั้นตามมาตรา 288 วรรคหนึ่ง ก็กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดแปลงที่ 1 ไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยการยึดที่ดินจำนวน 2 แปลง ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยว่ามีปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้ร้องเฉพาะที่ดินแปลงที่ 1 ว่า กรณีของผู้ร้องเป็นการร้องขัดทรัพย์ และผู้ร้องยื่นคำร้องภายหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายที่ดินแปลงที่ 1 ไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลก่อนที่จะได้เอาทรัพย์สินที่ยึดออกขายทอดตลาดโดยมิได้วินิจฉัยถึงที่ดินแปลงที่ 2 ที่ผู้ร้องอุทธรณ์มาด้วยว่าเป็นอย่างไร อันเป็นการมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 246 และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 247 สำหรับที่ดินแปลงที่ 2 ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว และเมื่อคำร้องของผู้ร้องเป็นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยการยึดที่ดินจำนวน 2 แปลง ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยว่ามีปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้ร้องเฉพาะที่ดินแปลงที่ 1 ว่า กรณีของผู้ร้องเป็นการร้องขัดทรัพย์ และผู้ร้องยื่นคำร้องภายหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายที่ดินแปลงที่ 1 ไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลก่อนที่จะได้เอาทรัพย์สินที่ยึดออกขายทอดตลาดโดยมิได้วินิจฉัยถึงที่ดินแปลงที่ 2 ที่ผู้ร้องอุทธรณ์มาด้วยว่าเป็นอย่างไร อันเป็นการมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 246 และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 247 สำหรับที่ดินแปลงที่ 2 ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว และเมื่อคำร้องของผู้ร้องเป็นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7318/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการบังคับคดี: สิทธิของผู้ร้องที่ถูกยึดทรัพย์โดยมิชอบ และการยื่นคำร้องขัดทรัพย์เกินกำหนด
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของผู้ร้องและขายทอดตลาดให้แก่โจทก์โดยผู้ร้องไม่รู้เห็นมาก่อน ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงเกี่ยวกับการบังคับคดี อันมีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องไปในที่สุด จึงเป็นกรณีที่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 288 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องขัดทรัพย์ มิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามกฎหมาย และตามมาตรา 288 วรรคหนึ่ง ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้วผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยการยึดที่ดินจำนวน 2 แปลง ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน โดยวินิจฉัยว่ามีปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้ร้องเฉพาะที่ดินแปลงที่ 1 ว่า กรณีของผู้ร้องเป็นการร้องขัดทรัพย์ และผู้ร้องยื่นคำร้องภายหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายที่ดินแปลงที่ 1 ไปแล้ว โดยมิได้วินิจฉัยถึงที่ดินแปลงที่ 2 ที่ผู้ร้องอุทธรณ์มาด้วยว่าเป็นอย่างไร จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยการยึดที่ดินจำนวน 2 แปลง ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน โดยวินิจฉัยว่ามีปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้ร้องเฉพาะที่ดินแปลงที่ 1 ว่า กรณีของผู้ร้องเป็นการร้องขัดทรัพย์ และผู้ร้องยื่นคำร้องภายหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายที่ดินแปลงที่ 1 ไปแล้ว โดยมิได้วินิจฉัยถึงที่ดินแปลงที่ 2 ที่ผู้ร้องอุทธรณ์มาด้วยว่าเป็นอย่างไร จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3737/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินขายฝาก: สิทธิเจ้าของทรัพย์เหนือสิ่งปลูกสร้างย่อมตกแก่ผู้รับจำนอง
แม้ในการซื้อขายสิ่งปลูกสร้างพิพาท ผู้ร้องกับจำเลยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่สิ่งปลูกสร้างนี้อยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 7412 ซึ่งจำเลยทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้ร้องแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินย่อมตกเป็นของผู้ร้อง เมื่อบ้านเลขที่ 50 อยู่บนที่ดินดังกล่าวมาก่อน และจำเลยยังได้ทำหนังสือสัญญาโอนสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่ผู้ร้องด้วย สิ่งปลูกสร้างจึงเป็นส่วนควบของที่ดินซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 144 วรรคสอง บัญญัติว่า เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น เช่นนี้ การที่โจทก์นำยึดสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าของทรัพย์ ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการปล่อยทรัพย์สิน: การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามลำดับชั้นของศาลและต้องเข้าข่ายตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ต่อศาลฎีกากระทำได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) - (5) เท่านั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินต่าง ๆ ที่อ้างว่าเป็นของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 มิใช่กรณีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว การอุทธรณ์หรือฎีกาต้องเป็นไปตามลำดับชั้นของศาล ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้อง แต่เนื่องจากคู่ความได้สืบพยานมาเสร็จสิ้น พยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการซื้อประมูลทอดตลาด: ผู้ซื้อได้สิทธิแม้ผู้ขายเดิมไม่มีสิทธิสมบูรณ์
แม้จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาก่อน ป. ซื้อที่ดินพิพาทและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาว่า จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทในคดีที่ ป. เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทตามคดีแพ่งของศาลชั้นต้นก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าก่อนหน้านั้น ป. นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่ ก. ในปี 2530 และถูก ก. ฟ้องบังคับจำนองที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2531 แต่ ป. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม ก. จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาด และโจทก์เป็นผู้ซื้อทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ก็ต้องถือว่า ก. ยึดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจาก ป. แล้วหากจำเลยเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยก็ต้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทในคดีที่ ก. เป็นโจทก์ฟ้องบังคับจำนองแก่ ป. ก่อนเอาที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขายแล้ว แม้ ป. ไม่ได้เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจนำที่ดินออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 308 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดและโจทก์เป็นผู้ซื้อทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจากการซื้อทอดตลาด สิทธิของโจทก์ผู้ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลจึงมิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าที่ดินพิพาทนั้นมิใช่ของ ป. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 อันเป็นข้อยกเว้นหลักกฎหมายที่ว่า "ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน"
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย การที่จำเลยปลูกห้องแถว 5 ห้อง รุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่จำเลยมิได้ยกข้อโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้จำเลยใช้แก่โจทก์ขึ้นอ้างไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา ฎีกาของจำเลยในส่วนค่าเสียหายจึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับคดีรื้อถอนห้องแถว 5 ห้อง ของจำเลยออกจากที่ดินพิพาทตามคำพิพากษา การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นละเมิดต่อจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้ง
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย การที่จำเลยปลูกห้องแถว 5 ห้อง รุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่จำเลยมิได้ยกข้อโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้จำเลยใช้แก่โจทก์ขึ้นอ้างไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา ฎีกาของจำเลยในส่วนค่าเสียหายจึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับคดีรื้อถอนห้องแถว 5 ห้อง ของจำเลยออกจากที่ดินพิพาทตามคำพิพากษา การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นละเมิดต่อจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้ง