คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 288

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 813 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: การซื้อขายรถยนต์หลังถูกดำเนินคดีอาญาเพื่อป้องกันทรัพย์สิน
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์เพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ผู้ร้องยื่นคำร้องว่ารถยนต์พิพาทเป็นของผู้ร้อง ดังนี้เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 เพิ่งจะหย่ากับ ส. ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ถูกดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็ครายนี้ เพียง 18 วัน ในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ จำเลยที่ 2 กับ ส. ก็ยังไปไหนมาไหนด้วยกัน แต่ที่จดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินกันเพราะถูกโจทก์เร่งรัดชำระหนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นน้องของ ส. กับจำเลยที่ 1รับซื้อรถยนต์ที่โจทก์นำยึดนี้ไว้ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้เพียง 6 วันและหลังจากทราบว่าจำเลยที่ 1 ถูกโจทก์ดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็ครายนี้แล้ว ทั้งโจทก์ก็นำยึดรถยนต์พิพาทได้ในขณะอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 รูปคดีเชื่อ ได้ว่า ผู้ร้องรับซื้อรถยนต์พิพาทไว้โดยไม่สุจริต รถยนต์ยังเป็นของจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์ซ้ำในประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
ผู้ร้องเคยฟ้องคดีแพ่งที่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ผู้ร้องเป็นทายาทจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวดังกล่าวร่วมกับจำเลย โจทก์คดีนี้รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวไว้โดยไม่สุจริต จึงขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนอง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยคดีนี้เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทที่จำนองแต่ผู้เดียว ซึ่งเท่ากับวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีว่าทรัพย์ที่จำนองมิใช่ของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมาร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้ในขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นของผู้ร้อง จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วดังกล่าวมา การร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: การโอนทรัพย์สินระหว่างสมรสต้องทำเป็นหนังสือระบุเป็นสินส่วนตัวจึงจะชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยและผู้ร้องสมรสกันเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2512จดทะเบียนหย่า เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2529 ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2518 บิดาผู้ร้องซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจาก ว.แต่เวลาจดทะเบียนโอนได้ให้ผู้ร้องมีชื่อเป็นผู้ซื้อเนื่องจากบิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง ดังนี้เป็นการที่ผู้ร้องรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทจาก ว. ในระหว่างที่ผู้ร้องและจำเลยเป็นสามีและภรรยากันและรับโอนก่อนประกาศใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ทรัพย์ที่รับโอนจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะรับโอน เพราะสินสมรสหรือสินส่วนตัวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวซึ่งบทบัญญัติที่ใช้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1466และ 1464 เดิมที่กำหนดว่า การยกทรัพย์สินให้คู่สมรสเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่นั้นจะต้องทำเป็นหนังสือโดยมีข้อความระบุแสดงไว้โดยชัดแจ้งว่ายกให้เป็นสินส่วนตัว ที่ผู้ร้องอ้างว่าบิดายกที่ดินและบ้านพิพาทให้ผู้ร้องเป็นสินส่วนตัวโดยไม่มีหนังสือยกให้มาแสดงว่าเป็นสินส่วนตัวนั้น การยกให้เป็นสินส่วนตัวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินและบ้านพิพาทจึงมิใช่สินส่วนตัวของผู้ร้อง แต่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องและจำเลยซึ่งผู้ร้องและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยึดมาเพื่อบังคับคดีนำเงินมาชำระหนี้ของจำเลยแก่โจทก์ตามคำพิพากษาผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: การโอนทรัพย์สินระหว่างสมรสต้องทำเป็นหนังสือระบุเป็นสินส่วนตัวจึงมีผล
จำเลยและผู้ร้องสมรสกันเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2512 จดทะเบียนหย่าเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2529 ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2518 บิดาผู้ร้องซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจาก ว. แต่เวลาจดทะเบียนโอนได้ให้ผู้ร้องมีชื่อเป็นผู้ซื้อเนื่องจากบิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง ดังนี้ เป็นการที่ผู้ร้องรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทจาก ว.ในระหว่างที่ผู้ร้องและจำเลยเป็นสามีและภรรยากันและรับโอนก่อนประกาศใช้บทบัญญัติ บรรพ 5แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ทรัพย์ที่รับโอนจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะรับโอน เพราะสินสมรสหรือสินส่วนตัวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวซึ่งบทบัญญัติที่ใช้คือ ป.พ.พ.บรรพ 5 มาตรา 1466 และ 1464เดิมที่กำหนดว่า การยกทรัพย์สินให้คู่สมรสเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่นั้นจะต้องทำเป็นหนังสือโดยมีข้อความระบุแสดงไว้โดยชัดแจ้งว่ายกให้เป็นสินส่วนตัว ที่ผู้ร้องอ้างว่าบิดายกที่ดินและบ้านพิพาทให้ผู้ร้องเป็นสินส่วนตัวโดยไม่มีหนังสือยกให้มาแสดงว่าเป็นสินส่วนตัวนั้น การยกให้เป็นสินส่วนตัวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินและบ้านพิพาทจึงมิใช่สินส่วนตัวของผู้ร้อง แต่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องและจำเลยซึ่งผู้ร้องและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยึดมาเพื่อบังคับคดีนำเงินมาชำระหนี้ของจำเลยแก่โจทก์ตามคำพิพากษาผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์ ต้องเป็นการแต่งตั้งโดยชัดเจนตามกฎหมาย มิฉะนั้นคำร้องไม่สมบูรณ์
การที่ ฉ. ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความในใบแต่งทนายความ2 ฉบับ ซึ่งไม่มีข้อความระบุว่า ผู้ร้องทั้งสองได้แต่งตั้งให้ฉ.เป็นทนายความแต่ระบุชื่อน.เป็นทนายความเช่นนี้ฉ.จึงมิใช่ทนายความของผู้ร้องทั้งสองและไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์แทนผู้ร้องทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 คำร้องขัดทรัพย์มีลักษณะเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(3) จึงต้องลงลายมือชื่อของผู้ร้องทั้งสองตามมาตรา 67(5)หรือลายมือชื่อของทนายความที่ผู้ร้องแต่งตั้งตามมาตรา 62 มิฉะนั้นคำร้องดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 67(5) ศาลต้องสั่งคืนคำร้องนั้นไปให้ผู้ร้องทั้งสองแก้ไขภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควรจะกำหนดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่คำร้องขัดทรัพย์ที่ลงลายมือชื่อโดยทนายความผู้ไม่มีอำนาจ มิใช่กรณีที่คำร้องไม่มีลายมือชื่อของผู้ร้องอันจะสั่งให้แก้ไขได้ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ไม่เป็นคู่ความ แม้เป็นหนี้ร่วม
แม้หนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเคยเป็นสามีภริยากันหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะนำยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีบังคับคดีและการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดแยกกันเป็น2 ส่วน ส่วนแรกขอให้ปล่อยที่ดินกับบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินอันเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์และส่วนที่สองขอให้ปล่อยทรัพย์ต่าง ๆรวม 7 รายการ ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์แม้จะร้องขอรวมกันมา การที่จะอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ก็จะต้องถือทุนทรัพย์ของผู้ร้องแต่ละส่วน ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องกันและแยกออกจากกันได้ เมื่อคำขอส่วนที่สองซึ่งเป็นคดีเกี่ยวด้วยสังหาริมทรัพย์อันมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินสองหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อในการขัดทรัพย์เมื่อถูกยึด – ทรัพย์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ
ผู้ร้องเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึด แม้จะชำระค่าเช่าซื้อยังไม่ครบ แต่ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องมีสิทธิยึดถือประโยชน์ตลอดจนต้องรับผิดในความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์ที่ถูกยึด และเมื่อผู้ร้องชำระค่าเช่าซื้อครบย่อมได้กรรมสิทธิ์ ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อทรัพย์ที่ผู้ร้องเช่าซื้อมาถูกยึด ถือได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์ที่ถูกยึดตามป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ร้องจึงร้องขัดทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ปรากฏว่าผู้ร้องเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึดมาและยังใช้เงินไม่ครบ ทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ ไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยศาลต้องปล่อยทรัพย์ที่ยึด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2534)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อในการคัดค้านการยึดทรัพย์ – ทรัพย์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ
ผู้ร้องเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึด แม้จะชำระค่าเช่าซื้อยังไม่ครบ แต่ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องมีสิทธิยึดถือประโยชน์ตลอดจนต้องรับผิดในความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์ที่ถูกยึด และเมื่อผู้ร้องชำระค่าเช่าซื้อครบย่อมได้กรรมสิทธิ์ ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อทรัพย์ที่ผู้ร้องเช่าซื้อมาถูกยึด ถือได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์ที่ถูกยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ร้องจึงร้องขัดทรัพย์ได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 288 ปรากฏว่าผู้ร้องเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึดมาและยังใช้เงินไม่ครบ ทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ ไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยศาลต้องปล่อยทรัพย์ที่ยึด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อในการคัดค้านการยึดทรัพย์ - ทรัพย์สินยังไม่ตกเป็นของจำเลย
ผู้ร้องเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึด แม้จะชำระค่าเช่าซื้อยังไม่ครบ แต่ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องมีสิทธิยึดถือใช้ประโยชน์ตลอดจนต้องรับผิดในความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์ที่ถูกยึด และเมื่อผู้ร้องชำระค่าเช่าซื้อครบย่อมได้ กรรมสิทธิ์ ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียเมื่อทรัพย์ที่ผู้ร้องเช่าซื้อถูกยึด ถือได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์ที่ถูกยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้องจึงร้องขัดทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ผู้ร้องเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึดมาและยังใช้เงินไม่ครบ ทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ ไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลย ศาลต้องปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดตามคำร้อง
of 82