คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 288

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 813 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขัดทรัพย์ซ้ำ: ศาลยกคำร้องเนื่องจากประเด็นเคยถูกวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องในคราวก่อนเพราะผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ เท่ากับว่าผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างในประเด็นแห่งคดีที่ผู้ร้องนำมาฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีของผู้ร้องนั้นแล้ว หาใช่ว่าศาลยังมิได้รับฟังพยานหลักฐานและวินิจฉัยเนื้อหาในคำร้องขัดทรัพย์ไม่เมื่อศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดแล้วว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 148(1)เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288ให้ศาลพิจารณาชี้ขาดคดีคำร้องขัดทรัพย์เหมือนคดีธรรมดาคำร้องของ ผู้ร้องจึงเป็นคำร้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขัดทรัพย์ซ้ำ: ศาลยกคำร้องเนื่องจากเคยมีคำสั่งถึงที่สุดแล้วในประเด็นเดียวกัน
ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้อง ในคราวก่อนเพราะผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ เท่ากับว่าผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างในประเด็น แห่งคดีที่ผู้ร้องนำมาฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ประเด็นแห่งคดีของผู้ร้องนั้นแล้ว ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน อีกไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 148(1) เพราะมาตรา 288 ให้ศาลพิจารณาชี้ขาดคดีคำร้องขัดทรัพย์ นั้นเหมือนคดีธรรมดา คำร้องของ ผู้ร้องจึงเป็นคำร้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6545/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามเมื่อทุนทรัพย์ในชั้นบังคับคดีต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฎีกาว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เป็นของผู้ร้อง อันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาทรัพย์สินพิพาทไว้เพียง 71,000 บาท และโจทก์เองก็เห็นชอบในราคาประเมินดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็นทุนทรัพย์ในชั้นร้องขัดทรัพย์ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5882/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขัดทรัพย์คือฟ้องคดี: ค่าขึ้นศาลต้องเสียตามราคาทรัพย์, คำสั่งระหว่างพิจารณาห้ามอุทธรณ์ฎีกา
คำร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 ถือเป็นคำฟ้องตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 1(3)เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวก็เท่ากับ ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาล อันมีผลทำให้คดีร้องขัดทรัพย์เป็นคดี ที่อยู่ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 173 วรรคสอง โดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเสียก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม อย่างคดีมีทุนทรัพย์ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งคำร้องขอ ของผู้ร้องนั้น จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 ซึ่งต้องห้ามมิให้ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณา เมื่อผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์และโต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลนี้ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้คู่ความเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มในส่วนที่ยังขาดหรือสั่งคืนในส่วนที่เสียเกินได้โดยไม่ต้องให้คู่ความขอ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในระหว่างพิจารณาของผู้ร้องและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ให้นั้น จึงไม่ถูกต้องจำเป็นต้องยกเลิกเพิกถอนแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เสียใหม่ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการอายัดเงินค่างาน: ศาลมีอำนาจงดการไต่สวนหากไม่เกี่ยวข้องกับประเด็น
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวถึงเรื่องตามที่ โจทก์ฎีกาว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 261 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้แต่เฉพาะจำเลยที่อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมายยึดหรืออายัดหรือคำสั่งห้ามหรือสั่งอื่นใดเช่นว่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ร้อง ส่วนคำว่าบุคคลภายนอก ตามมาตรา 312 วรรคแรกหมายถึงบุคคลที่ได้รับหมายอายัด หรือ ส. ซึ่งมิใช่ผู้ร้องการใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถูกต้อง และในชั้นอุทธรณ์โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องอุทธรณ์ ไว้แต่เพียงว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 261 บัญญัติว่า"จำเลยหรือบุคคลภายนอก" การยื่นคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 โดยอนุโลม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงคนละอย่างกับฎีกา ของโจทก์ดังกล่าว ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวดโดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างาน ในงวดที่ 5 ดังกล่าว แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะ ฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็น หรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการ ไต่สวนเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา และพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรับเงินค่างานของผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง และการห้ามฎีกาประเด็นใหม่ที่ไม่เคยว่ากันในศาลล่าง
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวถึงเรื่องตามที่โจทก์ฎีกาว่า ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 261 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้แต่เฉพาะจำเลยที่อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมายยึดหรืออายัดหรือคำสั่งห้ามหรือสั่งอื่นใดเช่นว่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ร้อง ส่วนคำว่าบุคคลภายนอก ตามมาตรา 312วรรคแรก หมายถึงบุคคลที่ได้รับหมายอายัด หรือ ส. ซึ่งมิใช่ผู้ร้อง การใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถูกต้อง และในชั้นอุทธรณ์โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องอุทธรณ์ ไว้แต่เพียงว่า ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 บัญญัติว่า"จำเลยหรือบุคคลภายนอก..." การยื่นคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 โดยอนุโลม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงคนละอย่างกับฎีกาของโจทก์ดังกล่าว ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก
เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวด โดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างานในงวดที่ 5 ดังกล่าว
แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดคัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็นหรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการไต่สวนเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จากการประมูล: ผู้ซื้อที่แท้จริง vs. ตัวแทน
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทะเบียนรถยนต์ไม่มีผลทำให้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อ เพราะผู้มีชื่อในทะเบียนรถยนต์จะเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ต่อเมื่อเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงเท่านั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330จะบัญญัติให้สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลมิเสียไปก็ตามแต่บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินที่แท้จริงหากบุคคลดังกล่าวเป็นแต่เพียงตัวแทนของบุคคลอื่นในการซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด บุคคลดังกล่าวย่อมไม่ใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อนั้น เมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาท จำเลยเป็นผู้ซื้อโดยใส่ชื่อผู้ร้องแทนรถยนต์คันพิพาทจึงเป็นของจำเลย มิใช่ของผู้ร้องผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยรถยนต์คันพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์: การซื้อแทนไม่ทำให้ผู้รับมอบฉันทะเป็นเจ้าของ
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทะเบียนรถยนต์ไม่มีผลทำให้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อ เพราะผู้มีชื่อในทะเบียนรถยนต์จะเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ต่อเมื่อเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงเท่านั้น
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1330 จะบัญญัติให้สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลมิเสียไปก็ตาม แต่บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินที่แท้จริง หากบุคคลดังกล่าวเป็นแต่เพียงตัวแทนของบุคคลอื่นในการซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด บุคคลดังกล่าวย่อมไม่ใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อนั้นเมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาท จำเลยเป็นผู้ซื้อโดยใส่ชื่อผู้ร้องแทน รถยนต์คันพิพาทจึงเป็นของจำเลย มิใช่ของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยรถยนต์คันพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส-ทรัพย์สินส่วนตัว: การได้มาซึ่งที่ดินระหว่างสมรสโดยการยกให้ และสิทธิในการอ้างว่าไม่ใช่ทรัพย์มรดก
แม้ผู้ร้องจะได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างสมรส กับผู้ตาย แต่ปรากฏว่าเป็นกรณีได้รับยกให้ที่ดิน ภายหลังจากประกาศใช้ พระราชบัญญัติให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 เมื่อไม่ปรากฏมี หนังสือยกให้โดยระบุให้เป็นสินสมรส ก็ต้องถือว่า เป็นการยกที่ดินให้เป็นสินส่วนตัวแก่ผู้ร้อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) การที่ผู้ร้องเป็นภริยาของผู้ตายซึ่งเป็นหนี้ โจทก์ตามคำพิพากษาอันเป็นความรับผิดในฐานะ ทายาทผู้รับมรดกของผู้ตายซึ่งจะต้องรับผิด ในหนี้สินดังกล่าวต่อโจทก์เมื่อผู้ร้องได้รับมรดก ของผู้ตายเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้รับมรดกและ โจทก์ก็มิได้ฟ้องผู้ร้องให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา โจทก์เพิ่งมานำสืบ ในชั้นร้องขัดทรัพย์ว่าผู้ตายกู้ยืมเงินโจทก์ไปใช้จ่าย ในครอบครัวและเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร จะให้ฟังว่าผู้ร้องต้องรับผิดในฐานะที่เป็นหนี้ร่วม ระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายหาได้ไม่ ตามคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้อง ผู้ร้องได้บรรยายให้ปรากฏชัดแล้วว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดคดีนี้ ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายทั้งมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องแต่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องและ ต. ร่วมกันแสดงว่าผู้ร้องได้อ้างแล้วว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องมิใช่เป็นผู้รับมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องในฐานะทายาทก็ไม่ต้องรับผิด ต่อโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกคำร้องของ ผู้ร้องโดยอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อย ทรัพย์พิพาทจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้เป็นสินส่วนตัวหลัง พ.ร.บ. 2519 และขอบเขตความรับผิดในหนี้สินของทายาท
แม้ผู้ร้องจะได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างสมรสกับผู้ตาย แต่ปรากฏว่าเป็นกรณีได้รับยกให้ที่ดินภายหลังจากประกาศใช้ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 เมื่อไม่ปรากฏมีหนังสือยกให้โดยระบุให้เป็นสินสมรส ก็ต้องถือว่าเป็นการยกที่ดินให้เป็นสินส่วนตัวแก่ผู้ร้อง ตาม ป.พ.พ.มาตรา1471 (3)
การที่ผู้ร้องเป็นภริยาของผู้ตายซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาอันเป็นความรับผิดในฐานะทายาทผู้รับมรดกของผู้ตายซึ่งจะต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวต่อโจทก์เมื่อผู้ร้องได้รับมรดกของผู้ตายเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้รับมรดกและโจทก์ก็มิได้ฟ้องผู้ร้องให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา โจทก์เพิ่งมานำสืบในชั้นร้องขัดทรัพย์ว่าผู้ตายกู้ยืมเงินโจทก์ไปใช้จ่ายในครอบครัวและเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร จะให้ฟังว่าผู้ร้องต้องรับผิดในฐานะที่เป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายหาได้ไม่
ตามคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้อง ผู้ร้องได้บรรยายให้ปรากฏชัดแล้วว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดคดีนี้ ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายทั้งมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างผู้ตายกับผู้ร้อง แต่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องและ ต.ร่วมกัน แสดงว่าผู้ร้องได้อ้างแล้วว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องมิใช่เป็นผู้รับมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องในฐานะทายาทก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกคำร้องของผู้ร้องโดยอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทจึงไม่ชอบ
of 82