คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 65

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เกณฑ์สิทธิ์ vs. เกณฑ์เงินสด การรับรู้รายได้เมื่อได้รับเงินจริง
โจทก์ปรับปรุงทางเท้าและทำถนนตามที่รับจ้างจากหน่วยราชการเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2516 แต่ได้รับค่าจ้างเมื่อเดือนมกราคม 2517 และรวมคำนวณกำไรสุทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2517 แล้ว ย่อมเป็นการเสียภาษีที่ถูกต้อง ที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้นำค่าจ้างดังกล่าวไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2516 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะขณะนั้นไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องนำเกณฑ์สิทธิ์มาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิ.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องใช้เกณฑ์เงินสด ไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี2515ถึง2517หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในปี2527นั้นต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ทั้งนี้เพราะประมวลรัษฎากรมาตรา65กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา39ให้หมายถึงเงินทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีฉะนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ(อ้างฎีกาที่580/2506และ793/2523).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องใช้เกณฑ์เงินสดก่อนมีการแก้ไขประมวลรัษฎากรปี 2527
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2515 ถึง 2517 หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในปี 2527 นั้นต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ ทั้งนี้ เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 65 กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี และเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา 39 ให้หมายถึง เงินทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชี มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ (อ้างฎีกาที่ 580/2506 และ 793/2523)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์เงินสดก่อนปี 2527 แม้จะมีสิทธิเรียกร้องยังไม่ได้รับเงิน
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2515 ถึง 2517 หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากรในปี 2527 นั้น ต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ ทั้งนี้ เพราะป.รัษฎากร มาตรา 65 กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา 39 ให้หมายถึง เงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชี มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชี ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์เงินสดก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร ปี 2527
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี2515ถึง2517หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากรในปี2527นั้นต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ทั้งนี้เพราะป.รัษฎากรมาตรา65กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา39ให้หมายถึงเงินทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีฉะนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ภาษีอากร และอำนาจศาลในการวินิจฉัยความชอบของหนี้
ป.รัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจกรมสรรพากรผู้ร้องเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลสิทธิดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอเฉลี่ยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา287,290 ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม ป.รัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้นโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้องก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ภาษีอากร และการโต้แย้งหนี้โดยบุคคลภายนอก
ประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจกรมสรรพากรผู้ร้องเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลสิทธิดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอเฉลี่ยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287,290 ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลรัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้นโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้องก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรมสรรพากรขอเฉลี่ยทรัพย์สิน และการวินิจฉัยหนี้ที่ไม่ชอบของศาล
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจกรมสรรพากรผู้ร้องเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล สิทธิดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอเฉลี่ยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287, 290
ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลรัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้น โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบ ผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่ เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่ และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้อง ก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีล่วงหน้าขัดต่อประกาศกระทรวงการคลังที่อนุญาตให้เฉลี่ยรายได้จากสัญญาเช่า
โจทก์ทำสัญญาให้เช่าตึกแถวมีกำหนด 18 ปี ได้รับเงินกินเปล่า จำนวนหนึ่ง ได้เฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแบ่งจำนวนปีของอายุการเช่าตามประกาศของกระทรวงการคลังซึ่งออกมาเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้เสียภาษีประการหนึ่งและเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีเงินได้จัดการเสียภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมายไม่ปิดบังประการหนึ่ง แล้วนำเงินเฉลี่ยดังกล่าวไปคำนวณเป็นเงินได้สุทธิของโจทก์เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นรายปีมา 2 ปีแล้ว แสดงว่าเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยที่1 อนุญาตให้โจทก์ยื่นรายการเงินได้เพื่อเสียภาษีตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องผู้มีเงินได้จากการให้เช่าไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 และเจ้าพนักงานประเมินจำเลยที่ 2 จะอาศัยอำนาจ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิ มาบังคับโจทก์โดยประเมินเรียกเก็บ ภาษีโจทก์ล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการเงินได้โดยอ้างว่าโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่มีความแน่นอนว่าจะสิ้นสภาพนิติบุคคลหรือเลิกประกอบกิจการเมื่อใดและจะมีความสามารในการเสียภาษีอากรตลอดไปหรือไม่เพราะระยะเวลาการเสียภาษีตามอายุสัญญาเช่านานถึง 16 ปี ไม่มีหลักประกันแน่นอนเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของโจทก์ในการเสียภาษี กรณีเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามมาตรา 18 ทวิ เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินโดยเฉลี่ยตามประกาศกระทรวงการคลัง เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีล่วงหน้า
โจทก์ทำสัญญาให้เช่าตึกแถวมีกำหนด 18 ปี ได้รับเงินกินเปล่า จำนวนหนึ่ง ได้เฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแบ่งจำนวนปีของอายุการเช่า ตามประกาศของกระทรวงการคลังซึ่งออกมาเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้เสียภาษี ประการหนึ่งและเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีเงินได้จัดการเสียภาษี โดยถูกต้องตามกฎหมายไม่ปิดบังประการหนึ่ง แล้วนำเงินเฉลี่ยดังกล่าว ไปคำนวณเป็นเงินได้สุทธิของโจทก์เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นรายปีมา 2 ปีแล้ว แสดงว่าเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยที่1 อนุญาตให้โจทก์ยื่นรายการเงินได้เพื่อเสียภาษีตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่องผู้มีเงินได้จากการให้เช่าไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วนแล้วการที่จำเลยที่ 1 และเจ้าพนักงานประเมินจำเลยที่ 2 จะอาศัยอำนาจ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิ มาบังคับโจทก์โดยประเมินเรียกเก็บ ภาษีโจทก์ล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการเงินได้โดยอ้างว่าโจทก์ มีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่มีความแน่นอนว่าจะสิ้นสภาพนิติบุคคลหรือ เลิกประกอบกิจการเมื่อใดและจะมีความสามารในการเสียภาษีอากร ตลอดไปหรือไม่เพราะระยะเวลาการเสียภาษีตามอายุสัญญาเช่า นานถึง 16 ปี ไม่มีหลักประกันแน่นอนเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของโจทก์ ในการเสียภาษีกรณีเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามมาตรา 18 ทวิ เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการได้
of 14