คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 65

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีล่วงหน้าต้องก่อนกำหนดเวลายื่นรายการ การประเมินหลังกำหนดเวลาเป็นโมฆะ
การประเมินเรียกเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิจะต้องประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 17และมาตรา 84 เว้นแต่อธิบดีหรือรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรตามความจำเป็นให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 3 อัฏฐการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลย ประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับที่เกิดขึ้นสำหรับวันที่ 1 มกราคม 2527ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2528 จากโจทก์ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2531จึงเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี พ.ศ. 2527 และ 2528 เป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่กรณีประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ทั้งไม่ปรากฏว่ารอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ. 2527 และ 2528 ได้มีประกาศของอธิบดีหรือรัฐมนตรีให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการแต่อย่างใด การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมิชอบขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 18 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายซื้อข้าวโพดชดเชยขาดสต๊อก เป็นรายจ่ายจริงในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษี
โจทก์ประกอบธุรกิจรับอบข้าวโพดที่จะส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศเมื่อลูกค้านำข้าวโพดมาส่งให้โจทก์ โจทก์จะชั่งน้ำหนักและวัดความชื้นไว้แล้วใช้สูตรมาตรฐานคำนวณว่าเมื่อนำข้าวโพดมาแยกวัสดุเจือปนออกและอบให้ได้ความชื้น ร้อยละ 14.5 แล้วจะเหลือน้ำหนักเท่าใด โจทก์ก็จะออกใบรับตามจำนวนน้ำหนักที่คำนวณจากสูตรมาตรฐานนั้นให้ลูกค้าเพื่อนำมารับข้าวโพดคืน ข้าวโพดที่ลูกค้ามารับคืนไม่จำต้องเป็นจำนวนเดียวกันกับที่ลูกค้านำมาอบ ลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบการสูญเสียน้ำหนักเอง ข้าวโพดที่ผ่านการอบแล้วบางส่วนจะมีความชื้นเหลือน้อยกว่าร้อยละ 14.5 ทำให้สูญเสียน้ำหนักไปเกินกว่าที่คำนวณไว้โดยสูตรมาตรฐานดังกล่าว และยังมีการสูญเสียน้ำหนักภายหลังอบแล้วด้วยเหตุอื่นอีก เช่นความชื้นลดลงอีกตามธรรมชาติและการขนถ่ายข้าวโพดลงเรือซึ่งโจทก์ไม่สามารถปัดให้เป็นความรับผิดของลูกค้าได้ โจทก์ต้องส่งมอบข้าวโพดที่อบแล้วตามจำนวนน้ำหนักที่ได้คำนวณด้วยสูตรมาตรฐานให้แก่ลูกค้าแต่ละรายที่ได้ออกใบรับให้ไว้ ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการซื้อข้าวโพดมาชดเชยจำนวนข้าวโพดที่สูญเสียน้ำหนักไปซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดชอบต่อลูกค้า จึงเป็นรายจ่ายที่มีการจ่ายจริงนำมาคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ ส่วนค่าใช้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเจ้าหน้าที่มาตรฐานสินค้าและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสินค้าที่มาควบคุมการขนถ่ายสินค้าจากไซโล ลงเรือโจทก์จ่ายไปเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ แต่มิได้ระบุว่าจ่ายให้แก่ผู้ใด จึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การจำหน่ายหนี้สูญ, การรับรู้รายได้, ค่าใช้จ่ายที่ไม่สมควร, และการพิสูจน์หลักฐานการจ่ายเงิน
โจทก์ตีราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีโดยวิธีตัดราคาลงตามกฎเกณฑ์ของโจทก์ แต่สินค้าประเภท ชนิดคุณภาพและสภาพเดียวกันกับของโจทก์มิได้มีการซื้อขายกันในท้องตลาดตามราคาที่โจทก์ได้ตีไว้ หรือโจทก์ได้ขายสินค้าในวันตีราคาหรือหลังวันดังกล่าวไปตามราคาที่โจทก์ได้ตีไว้ ราคาสินค้าคงเหลือที่โจทก์ได้ตีไว้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นราคาตลาด การที่โจทก์นำราคาดังกล่าวซึ่งต่ำกว่าราคาทุนมาเป็นราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีจึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(6)เป็นเหตุให้การคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์แต่ละรอบระยะเวลาบัญชีคลาดเคลื่อนไป การที่เจ้าพนักงานประเมินปรับปรุงกำไรสุทธิและภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ใหม่ โดยคำนวณราคาสินค้าคงเหลือของโจทก์ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามราคาทุนจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์อ้างว่าโจทก์จ่ายค่านายหน้าตามเอกสารที่มีลายมือชื่อและที่อยู่ของนายหน้า แต่เมื่อเจ้าพนักงานประเมินไม่เชื่อถือเอกสารดังกล่าว ไม่ยอมให้โจทก์ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และต่อศาล แต่โจทก์มิได้นำนายหน้ามาให้การหรือเบิกความ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จ่ายเงินด้วยเช็คระบุชื่อผู้รับเพื่อให้เป็นหลักฐานว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่นายหน้าไปจริง ส่วนใหญ่ก็เป็นรายการขายสินค้าให้แก่ทางราชการซึ่งปกติไม่จำเป็นต้องมีค่านายหน้า ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่านายหน้าให้แก่ผู้รับตามเอกสารที่โจทก์อ้างจึงเป็นกรณีที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี(18) โจทก์จึงนำรายจ่ายดังกล่าวมาคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ใบเสร็จรับเงินค่าซื้อสินค้าที่ไม่ได้ระบุทะเบียนการค้าและสถานการค้าของผู้รับเงินไว้ และเลขบ้านที่ปรากฏในใบเสร็จรับเงินก็ไม่มีอยู่จริงบ้าง เป็นเลขบ้านในสลัมซึ่งมิได้ประกอบการค้าบ้างเป็นเลขบ้านที่บุคคลในบ้านมีชื่อไม่ตรงกับผู้รับเงินและประกอบการค้าต่างชนิดกับสินค้าตามใบเสร็จรับเงินบ้าง ทั้งโจทก์มิได้นำผู้ขายมายืนยันว่าได้ขายสินค้าและรับเงินจากโจทก์ตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์อ้าง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จ่ายเงินด้วยเช็คระบุชื่อผู้ขายทั้ง ๆ ที่สินค้าบางรายการมีราคาถึง 100,000 บาท พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่น่าเชื่อถือ ไม่พอที่จะฟังว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้รับตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์อ้าง ถือได้ว่ารายจ่ายค่าซื้อสินค้าดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ กรรมการบริษัทโจทก์ใช้ดุลพินิจในการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้หลังจากที่ให้พนักงานฝ่ายขายติดตามหาลูกหนี้และทวงถามหลายครั้ง และในรายที่จำนวนหนี้สูงก็ให้ทนายความมีหนังสือทวงถาม แต่ไม่ได้รับชำระ ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จึงเป็นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้โดยชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) ที่ใช้บังคับอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาท หาจำต้องฟ้องร้องบังคับจนถึงที่สุดก่อน เพราะกฎหมายบัญญัติให้ปฏิบัติการโดยสมควรเท่านั้น ดอกเบี้ยเงินกองทุนในส่วนที่เกิดจากเงินที่พนักงานโจทก์แต่ละคนจ่ายสะสมเข้ากองทุน ไม่ถือเป็นเงินได้ของโจทก์ที่จะต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเงินสะสมดังกล่าวฝากธนาคารในชื่อของพนักงานเป็นรายบุคคล มีกรรมการผู้จัดการสมุห์บัญชีและผู้จัดการงานบุคคลของโจทก์เป็นผู้ควบคุมในการถอนเงิน โจทก์หาได้ครอบครองตัวเงินไว้เองหรือมีสิทธิได้รับเงินไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่ต่างประเทศ: หักลดหย่อนภาษีได้เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการในไทยโดยตรง
รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
รายจ่ายอันเป็นเงินเดือน เบี้ยเลี้ยงพนักงานโจทก์สำนักงานใหญ่ค่าใช้จ่ายของสำนักงานใหญ่ ค่าเครื่องเขียน แบบพิมพ์ ค่าตอบแทนกรรมการและผู้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ฮ่องกง เป็นรายจ่ายที่โจทก์ใช้จ่ายเพื่อประโยชน์แก่สาขาต่าง ๆ ทั่วโลก โจทก์คิดเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวให้สาขาต่าง ๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยอาศัยการคำนวณเฉลี่ยรายจ่ายของสาขาทั่วโลกตามรายได้ของแต่ละสาขา รวมทั้งสาขาในประเทศไทยด้วย จึงไม่ใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ เพียงแต่อาจจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หรือแยกให้เห็นว่า รายจ่ายส่วนใดบ้างที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ โจทก์จะเหมาเป็นราย-จ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยทั้งหมดและนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ถ้าผู้เสียภาษีหลีก-เลี่ยงหรือเสียไม่ถูกต้อง เมื่อทำการประเมินผู้เสียภาษีต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 22 เมื่อประเมินแล้วไม่เสียภายในกำหนดก็ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20ตามมาตรา 27 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายสำนักงานใหญ่ธนาคารพาณิชย์ที่เฉลี่ยมายังสาขาในประเทศไทย ไม่อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ
รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ รายจ่ายอันเป็นเงินเดือน เบี้ยเลี้ยงพนักงานโจทก์สำนักงานใหญ่ค่าใช้จ่ายของสำนักงานใหญ่ ค่าเครื่องเขียน แบบพิมพ์ ค่าตอบแทนกรรมการและผู้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ฮ่องกง เป็นรายจ่ายที่โจทก์ใช้จ่ายเพื่อประโยชน์แก่สาขาต่าง ๆทั่วโลก โจทก์คิดเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวให้สาขาต่าง ๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยอาศัยการคำนวณเฉลี่ยรายจ่ายของสาขาทั่วโลกตามรายได้ของแต่ละสาขา รวมทั้งสาขาในประเทศไทยด้วย จึงไม่ใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ เพียงแต่อาจจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หรือแยกให้เห็นว่า รายจ่ายส่วนใดบ้างที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ โจทก์จะเหมาเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยทั้งหมดและนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ถ้าผู้เสียภาษีหลีกเลี่ยงหรือเสียไม่ถูกต้อง เมื่อทำการประเมินผู้เสียภาษีต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 22 เมื่อประเมินแล้วไม่เสียภายในกำหนดก็ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5948/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการขายลดเช็คถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แม้ไม่มีการลงบัญชีซื้อขาย
เช็คที่โจทก์นำไปขายลดแก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆมีอยู่ 3 ประเภท คือ เช็คของลูกค้า เช็คของโจทก์เอง และเช็คที่ไม่ปรากฏที่มา สำหรับเช็คของลูกค้า เป็นเช็คที่ได้มาจากการประกอบกิจการของโจทก์ โดยโจทก์ได้รับชำระหนี้มาเป็นเช็คที่ยังไม่ถึงกำหนดจึงนำไปขายลด จำนวนเงินที่ได้จากการขายลดเช็คประเภทนี้ต้องถือว่าเป็นรายรับจากการประกอบกิจการของโจทก์ ส่วนเช็คของโจทก์เองที่นำไปขายลดนั้น ต่อมาโจทก์ต้องนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้น การที่โจทก์จะมีเงินไปเข้าบัญชีโจทก์ก็จะต้องมีเงินได้จากรายรับเนื่องจากการประกอบกิจการเช่นกันสำหรับเช็คที่ไม่ปรากฏที่มานั้น โจทก์อ้างว่าเป็นเช็คของหุ้นส่วนที่โจทก์ยืมมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ในปีที่โจทก์นำเช็คที่ยืนมาไปขายลดนั้น โจทก์ยังเป็นหนี้หุ้นส่วนที่โจทก์ยืมเช็คมา ย่อมแสดงว่าถ้ามีการยืมเช็คของหุ้นส่วนมาขายลดจริง ก็ต้องมีการชำระหนี้ตามเช็คที่ยืมมานั้นหมดแล้ว และโจทก์ต้องมีรายรับจากการประกอบกิจการอย่างน้อยตามจำนวนเงินในเช็คที่ยืมมาขายลด โจทก์จึงจะสามารถชำระหนี้เงินตามเช็คที่ยืมมาได้หมดสิ้น จึงถือได้ว่าเงินตามเช็คที่โจทก์ยืมมาขายลดนี้ เป็นรายรับจากการประกอบกิจการของโจทก์เช่นเดียวกัน ดังนั้น เงินตามเช็คทั้ง 3 ประเภทที่โจทก์นำไปขายลดแก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ จึงเป็นรายรับจากกิจการของโจทก์ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่ขายลด โจทก์ก็ย่อมมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิที่คิดจากยอดรายรับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4227/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การพิสูจน์แหล่งที่มาของเงินได้และการลดหย่อนเงินเพิ่ม
บริษัท ส. จำกัด ส่งสัตว์น้ำแช่แข็งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศในนามโจทก์ แต่ตามใบกำกับสินค้ามีชื่อโจทก์เป็นผู้ส่งออก ส่วนค่าอากรขาออกและค่าระวาง บริษัท ส. จำกัด เป็นผู้ชำระทั้งหมด การรับชำระค่าสินค้าที่ส่งออกมีการนำเข้าบัญชีของบริษัท ส. จำกัด จำนวน 15,326,349.84 บาท จำนวนเงินที่ระบุในบัญชีตรงกับใบกำกับสินค้า แม้หลักฐานการส่งออกจะระบุชื่อโจทก์แต่บริษัท ส. จำกัด เป็นผู้รับเงินค่าสินค้า เงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่เงินได้ของโจทก์อันจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลยอ้างว่าโจทก์มีเงินได้ 15,531,440.86 บาท มียอดสูงกว่าที่โจทก์พิสูจน์ได้ว่าเป็นของบริษัท ส. จำกัด จำนวน 205,091.02บาท ซึ่งจำนวนนี้โจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามิใช่เป็นเงินได้ของโจทก์ จึงต้องถือเป็นเงินได้ของโจทก์ ส่วนเงินได้จากค่าน้ำแข็งจำนวน 649,362 บาท โจทก์ได้สำแดงเป็นรายได้ของโจทก์ไว้เอง ดังนี้ จำเลยนำเงินได้ของโจทก์ทั้งสองจำนวนมาคำนวณภาษีจึงชอบแล้ว การที่โจทก์ลงบัญชีเงินได้ขาดไป อันเป็นการเลี่ยงภาษีอากรบางส่วน จึงไม่มีเหตุที่จะลดหรืองดเงินเพิ่มให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ค่าใช้จ่ายทางภาษี: ใบเสร็จที่พิสูจน์ผู้รับไม่ได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายที่หักลดหย่อนได้
โจทก์มีใบเสร็จรับเงินซึ่งเขียนด้วยลายมือบุคคลคนเดียวกันรวม 43 ฉบับมาแสดงอ้างว่าซื้อสินค้าจากร้าน ช.และร้านท.แต่โจทก์ไม่อาจหาผู้รับเงินได้ทั้งสองรายอ้างว่าร้านค้าทั้งสองรายเลิกกิจการไปแล้ว และไม่อาจตามหาเจ้าของร้านมาแสดงตัวได้ดังนี้ โจทก์น่าจะนำสืบพยานหลักฐานอื่นประกอบให้น่าเชื่อว่าโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้าไปจากร้านค้าทั้งสองจริง และได้ชำระเงินไปจริงด้วยวิธีการใด แต่โจทก์หาได้นำสืบอย่างหนึ่งอย่างใดไม่จึงไม่น่าเชื่อว่าจะมีการจ่ายเงินค่าสินค้าไปจริง ตามพฤติการณ์ถือได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18) คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับยืนตามความเห็นของเจ้าพนักงานประเมิน เมื่อได้ทำคำวินิจฉัยเป็นหนังสือและส่งไปยังโจทก์ผู้อุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 34 จึงชอบแล้ว เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 34 ไม่ได้บัญญัติให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องให้เหตุผลในคำวินิจฉัยแจ้งไปยังผู้อุทธรณ์ด้วยแต่อย่างใด รายจ่ายใดที่โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งไว้ในชั้นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินในรายการเกี่ยวกับรายจ่ายเหล่านั้นแล้ว โจทก์จะยกมากล่าวอ้างในชั้นศาลว่าการประเมินรายการนั้นไม่ถูกต้องหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: การปรับปรุงกำไรสุทธิ, การหักค่าสูญเสียน้ำหนักสินค้า, และการพิจารณาคำพิพากษาศาลในคดีก่อนหน้า
ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ทวิ(2) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้หักได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาดังนั้น ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2518 จึงต้องคิดหักตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2509 อันเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว แต่รายการหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์นั้น โจทก์หาได้ใช้หลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไม่ แต่โจทก์คิดหักตามวิธีการทางบัญชีของโจทก์ซึ่งเป็นการคิดหักโดยไม่มีหลักเกณฑ์ เป็นเหตุให้เมื่อรวมทุกรายการแล้วมีค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินมากกว่าการคิดตามหลักเกณฑ์ในพระราชกฤษฎีกา ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินที่โจทก์คิดหักเกินไปเช่นนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2509 มาตรา 5 ยอมให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามวิธีการทางบัญชีซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้อยู่ก็ต่อเมื่อการหักตามวิธีการทางบัญชีที่ใช้อยู่นั้น หักต่ำกว่าอัตราตามพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่คิดหักตามวิธีการทางบัญชีของโจทก์เกินกว่าการคิดหักตามหลักเกณฑ์ในพระราชกฤษฎีกา ก็จะต้องคิดหักตามพระราชกฤษฎีกาจะคิดหักตามวิธีการทางบัญชีของโจทก์ไม่ได้ โจทก์เป็นนิติบุคคล กฎหมายกำหนดให้ทำบัญชีและเก็บรักษาเอกสารต่าง ๆ ที่ลงบัญชีไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ แต่โจทก์ใช้จ่ายเงินไปโดยไม่มีหลักฐานประกอบหรืออ้างอิง ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งโจทก์ผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ตรี (18) การคิดคำนวณการสูญเสียน้ำหนักมันสำปะหลังก่อนนำมาผลิตจนถึงขั้นผลิตเป็นมันอัดเม็ดแล้วส่งถึงมือผู้ซื้อในต่างประเทศจะมีการสูญเสียน้ำหนักไปตามธรรมชาติ เช่น สภาวะอากาศขณะทำการผลิตและขนส่ง ระยะเวลาการเก็บรักษาก่อนผลิตหรือหลังผลิตตลอดจนฝุ่นและมันอัดเม็ดที่ปลิวฟุ้งหรือตกหล่นในทะเลระหว่างการขนส่งด้วยจึงไม่อาจกำหนดกฎเกณฑ์ความสูญเสียของน้ำหนักให้แน่นอนหรือตายตัวได้ จะต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป คดีนี้จำเลยยอมให้โจทก์หักความสูญเสียของน้ำหนักตั้งแต่ก่อนผลิตจนถึงขั้นผลิตเป็นมันอัดเม็ดแล้ว แต่ไม่ยอมหักความสูญเสียของน้ำหนักมันอัดเม็ดระหว่างการขนส่งจากประเทศไทยไปจนถึงมือผู้ซื้อในต่างประเทศซึ่งเป็นความสูญเสียของน้ำหนักมันอัดเม็ดตามธรรมดาและโดยธรรมชาติย่อมจะเกิดขึ้นให้แก่โจทก์ด้วยนั้น ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 39ประกอบด้วยมาตรา 65 เพราะโจทก์มิได้รับเงินจากผู้ซื้อตามน้ำหนักของมันอัดเม็ดที่สูญเสียไปดังกล่าว แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลใช้ดุลพินิจงดหรือลดเงินเพิ่มด้วยก็ตาม แต่ประเด็นข้อนี้ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถานโจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าโจทก์สละประเด็นดังกล่าวแล้วฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงมิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีก่อนเป็นคดีระหว่างโจทก์และจำเลยในคดีนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2515 ถึง 2516โจทก์ไม่มีกำไรสุทธิอันจะต้องเสียภาษีเงินได้ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงเกี่ยวกับคดีนี้และย่อมมีผลผูกพันจำเลยด้วย ดังนั้น การที่จำเลยคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2518 โดยตั้งฐานคำนวณว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2515 และ 2516 โจทก์มีกำไรสุทธิอันจะต้องเสียภาษีเงินได้ จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์และจำเลยต่างฎีกา โดยโจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย เป็นจำนวนเงิน1,296,949.36 บาท โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาในจำนวนทุนทรัพย์โจทก์ฎีกา มิใช่ต้องถือทุนทรัพย์ตามที่จำเลยฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตรากำไรมาตรฐานและการประเมินสินค้าชำรุด เสื่อมสภาพ การยินยอมของโจทก์มีผลผูกพัน
โจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศในนามของโจทก์ ผู้ขายส่งสินค้ามาให้ในนามของโจทก์ การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เปิดในนามของโจทก์ มิได้ระบุว่ากระทำในนามของบริษัท ท. ทั้งการยื่นใบขนสินค้าต่อกรมศุลกากรก็กระทำในนามของโจทก์ เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ธนาคารตามเลตเตอร์ออฟเครดิตลงบัญชีว่าบริษัทท. เป็นลูกหนี้และเมื่อบริษัท ท. จ่ายเงินให้โจทก์ ก็บันทึกลดยอดหนี้ดังกล่าวลงพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศในนามของโจทก์เอง แล้วโอนขายสินค้าดังกล่าวให้กับบริษัท ท. หาใช่เป็นการสั่งซื้อสินค้าแทนบริษัท ท. ไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จากอัตรากำไรมาตรฐานของสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรจึงเป็นการชอบเพราะโจทก์ไม่ยอมรับว่ามีการโอนหรือขายให้บริษัท ท.หรือมีการขายสินค้าชนิดเดียวกันให้แก่บุคคลอื่น จึงไม่อาจนำมาเปรียบเทียบเพื่อคิดคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ โจทก์มอบอำนาจให้ จ. เพื่อให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานประเมินเมื่อ จ. ให้การยอมรับผิดและยอมรับว่า เมื่อบริษัทโจทก์ตรวจนับสินค้าคงเหลือไม่ตรงกับบัญชี บริษัทโจทก์ได้ปรับปรุงรายการเหล่านั้นเป็นสินค้าชำรุด และเสื่อมราคาและลงบัญชีซื้อเป็นต้นทุนขายไว้แล้วทั้งสิ้น แต่ยังมิได้ลงบัญชีขาย การที่เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าซึ่งโจทก์ไม่ได้ลงบัญชีขายไว้เป็นยอดขายโดยใช้ราคาเฉลี่ยหรือราคาปกติของการขายสินค้าของโจทก์แต่ละประเภทสินค้าในปีนั้น ๆ เป็นเกณฑ์คำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จึงชอบ โจทก์ฎีกาคัดค้านว่า จำเลยประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระโดยมิชอบแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยประเมินไม่ชอบอย่างไรทั้งโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีการค้าต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงแต่ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้.
of 14