คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 65

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณกำไรสุทธิและค่าใช้จ่ายในการต่อเรือตามประมวลรัษฎากร การหักค่าใช้จ่ายต้องเป็นของรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ บัญญัติว่า "การคำนวณกำไรสุทธิฯลฯ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. รายการที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย ฯลฯ" ดังนั้น รายจ่ายอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ตรีย่อมถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ แต่รายจ่ายนั้น ๆ จะต้องเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่คำนวณกำไรสุทธินั่นเองเมื่อปรากฎว่าต้นทุนการต่อเรือ 4,632,314.33 บาท เท่านั้นที่เป็นรายจ่ายของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2520ส่วนค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการต่อเรือสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2520 จึงนำค่าใช้จ่ายอื่นดังกล่าวนั้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: ส่วนลดประกันภัยต่อเป็นรายได้, เงินสำรองเบี้ยประกันภัยเป็นรายได้ในปีถัดไป, รายได้จากการค้าเป็นรายรับ
เมื่อได้รับเบี้ยประกันจากผู้เอาประกันภัยแล้ว โจทก์นำเบี้ยประกันภัยไปจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันภัยต่อกับบริษัทประกันภัยอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบรรเทาความเสียหายในกรณีที่ต้องชำระเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยโจทก์ได้รับส่วนลดหรือค่านายหน้าจากบริษัทที่รับประกันภัยต่อ และได้นำส่วนลดดังกล่าวมาบันทึกเป็นรายได้ในกิจการของโจทก์เงินส่วนลดในการประกันภัยต่อที่โจทก์ได้รับจึงเป็นเงินได้หรือรายรับที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วยแม้เงินจำนวนดังกล่าวผู้รับประกันภัยต่อจะนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน เพราะเป็นคนละนิติบุคคล
ความหมายของคำว่า "รายรับ" ตามมาตรา 79 เป็นเรื่องของภาษีการค้าไม่อาจนำมาใช้ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำดอกเบี้ยและเงินปันผลรับ รายได้ค่าเช่าและกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน รวมทั้งรายได้เบ็ดเตล็ดมารวมเป็นรายรับเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ ไม่ได้กล่าวถึงค่าสินไหมรับคืนอัคคีภัย ค่าสินไหมรับคืนรถยนต์กับค่าสำรวจรายงานอัคคีภัยที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินนำรายรับทั้งสามรายการดังกล่าวมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการไม่ชอบนั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง
เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยที่โจทก์กันไว้ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ข) นั้นจะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า: การคำนวณรายได้จากธุรกิจทำไม้ และอายุความทางภาษี
โจทก์เป็นผู้ทำไม้ตามที่ได้รับสัมปทานเอง ลูกช่วงของโจทก์คือผู้รับจ้างตัดฟันไม้จากโจทก์ การทำป่าไม้สัมปทานคือกิจการของโจทก์ตรงตามวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์ การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงต้องคำนวณจากรายได้ในการขายไม้ทั้งหมดซึ่งรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่ด้วย จะคิดจากรายได้ของโจทก์ที่หักเงินส่วนที่จ่ายให้ลูกช่วงแล้ว โดยอ้างว่าเงินเหล่านั้นเป็นค่าใช้จ่ายของลูกช่วง และโจทก์คงได้รายได้เฉพาะค่าใบอนุญาตทำไม้ตามสัมปทานเท่านั้นไม่ได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) และ (8) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่เกี่ยวกับเงินได้ของนิติบุคคลซึ่งต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่มีอำนาจให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เพราะจำเลยเปลี่ยนรายได้ของโจทก์และประเมินใหม่แล้วจะเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ความข้อนี้ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อายุความตามคำฟ้องโจทก์แตกต่างกับอายุความตามที่โจทก์อุทธรณ์ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีของบริษัทผู้ประกอบการป่าไม้ และข้อจำกัดในการอุทธรณ์
โจทก์เป็นผู้ทำไม้ตาม ที่ได้รับสัมปทานเอง ลูกช่วงของโจทก์คือผู้รับจ้างตัด ฟันไม้จากโจทก์ การทำป่าไม้สัมปทานคือกิจการของโจทก์ตรง ตาม วัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์ การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงต้อง คำนวณจากรายได้ในการขายไม้ทั้งหมดซึ่งรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่ด้วย จะคิดจากรายได้ของโจทก์ที่หักเงินส่วนที่จ่ายให้ลูกช่วงแล้วโดย อ้างว่าเงินเหล่านั้นเป็นค่าใช้จ่ายของลูกช่วง และโจทก์คงได้ รายได้เฉพาะ ค่าใบอนุญาตทำไม้ตาม สัมปทานเท่านั้นไม่ได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) และ (8) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่เกี่ยวกับเงินได้ของนิติบุคคลซึ่ง ต้องเป็นไปตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่มีอำนาจให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เพราะจำเลยเปลี่ยนรายได้ของโจทก์และประเมินใหม่แล้วจะเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้ แต่ โจทก์มิได้อุทธรณ์ความข้อนี้ไว้ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อายุความตาม คำฟ้องโจทก์แตกต่าง กับอายุความตาม ที่โจทก์อุทธรณ์ปัญหาตาม อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนเชิดในการอุทธรณ์ภาษี และการคำนวณรายได้ตามเกณฑ์เงินสด
ห้างโจทก์เดิมมี อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาห้างโจทก์เปลี่ยนหุ้นส่วนผู้จัดการเป็น น. แต่การดำเนินงานแทนห้างโจทก์อ. ยังเป็นผู้ดำเนินการแทนเมื่อห้างโจทก์อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และได้ลงชื่ออ.เป็นผู้อุทธรณ์เช่นนี้ถือได้ว่าห้างโจทก์เชิดอ.เป็นตัวแทนของห้างโจทก์โดยปริยาย และการเป็นตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821,797 ไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 798 การตั้งตัวแทนในกรณีเช่นนี้จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้ประมวลรัษฎากรจะได้กำหนดให้การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดซึ่งได้กำหนดให้ทำเป็นหนังสือก็ตาม กรณีของโจทก์เป็นกรณีที่เกิดขึ้นก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในปี พ.ศ. 2527 ประมวลรัษฎากร มาตรา 65ในขณะพิพาทกำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิและเงินได้พึงประเมินนั้น มาตรา 39 ให้หมายถึง เงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้อง เช่นนี้ ไม่ว่าห้างโจทก์จะใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิหรือไม่ก็ตาม การคำนวณรายได้ของห้างโจทก์ต้องใช้เกณฑ์เงินสด มิใช่ใช้เกณฑ์สิทธิดังที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ในปี พ.ศ. 2527ฉะนั้นการถือเอาค่าเช่าที่ห้างโจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณรายได้ให้โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจถัวเฉลี่ยกำไรได้
แม้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องจัดเก็บจากกำไรสุทธิที่คำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและต้องเป็นรายได้ที่นิติบุคคลนั้นได้รับจริง ๆก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่ากำไรของนิติบุคคลนั้นมีหลายจำนวนแตกต่างกันเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจถัวเฉลี่ยกำไรที่โจทก์ได้รับ นำมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิได้ โจทก์มีกำไรจากการขายเบียร์และโซดาลังละ 3 บาทขึ้นไปถึง10 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่โจทก์มีกำไรลังละ 3 บาท ซึ่งเป็นกำไรต่ำสุดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรที่หลากหลาย: ศาลฎีกาอนุญาตให้ใช้การถัวเฉลี่ยกำไรได้
แม้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องจัดเก็บจากกำไรสุทธิที่คำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำรอบระยะเวลาบัญชี และต้องเป็นรายได้ที่นิติบุคคลนั้นได้รับจริงๆ ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่ากำไรของนิติบุคคลนั้นมีหลายจำนวนแตกต่างกัน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจถัวเฉลี่ยกำไรที่โจทก์ได้รับ นำมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิได้.
โจทก์มีกำไรจากการขายเบียร์และโซดาลังละ 3 บาทขึ้นไปถึง10 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่โจทก์มีกำไรลังละ 3 บาท ซึ่งเป็นกำไรต่ำสุดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ภาษี: เหตุผลใหม่ในชั้นศาล, อายุความ, รอบระยะเวลาบัญชี
ประมวลรัษฎากรมาตรา 30 (2) มิได้บัญญัติไว้ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์จึงอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยยกขึ้นอุทธรณ์ไว้ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีใจความสำคัญว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโจทก์โดยมิชอบและขอให้ยกเลิกการประเมินดังกล่าว การที่โจทก์กล่าวอ้างในชั้นศาลถึงการส่งหมายเรียกและการกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถูกต้องนั้น ก็เป็นเหตุผลที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าการประเมินภาษีดังกล่าวไม่ชอบนั่นเอง จึงเป็นการกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว
ที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการเสียภาษีอากรมาไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 นั้น ใช้เฉพาะกรณีที่มีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ แต่กรณีที่ไม่ยื่นรายการตามมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาบังคับ ดังนี้ แม้หมายเรียกจะออกมาเกิน 5 ปี และระบุทั้งมาตรา19 และ 23 มาด้วยก็หาทำให้การประเมินขาดอายุความไม่
รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนโจทก์เริ่มตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคมถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่อาจตรวจสอบในเรื่องรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์จากแบบที่โจทก์ยื่นเพื่อเสียภาษีในปีก่อน ๆ ได้ และเจ้าพนักงานประเมินย่อมเข้าใจว่ารอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์เป็นไปตามปกติคือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมและสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ทั้งการประเมินดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการคำนวณภาษีซ้ำซ้อนกันหรือต้องทำให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นแต่ประการใด การประเมินภาษีอากรจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรโดยอาศัยข้อมูลจากกรมศุลกากรและพิจารณาตามรอบระยะเวลาบัญชีปกติ ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้เสียภาษีไม่นำหลักฐานมาแสดง
ประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) มิได้บัญญัติไว้ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์จึงอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยยกขึ้นอุทธรณ์ไว้ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีใจความสำคัญว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโจทก์โดยมิชอบและขอให้ยกเลิกการประเมินดังกล่าว การที่โจทก์กล่าวอ้างในชั้นศาลถึงการส่งหมายเรียกและการกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถูกต้องนั้นก็เป็นเหตุผลที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าการประเมินภาษีดังกล่าวไม่ชอบนั่นเอง จึงเป็นการกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว ที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการเสียภาษีอากรมาไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 นั้น ใช้เฉพาะกรณีที่มีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์แต่กรณีที่ไม่ยื่นรายการตามมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาบังคับ ดังนี้แม้หมายเรียกจะออกมาเกิน 5 ปี และระบุทั้งมาตรา 19 และ 23 มาด้วยก็หาทำให้การประเมินขาดอายุความไม่ รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนโจทก์เริ่มตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่อาจตรวจสอบในเรื่องรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์จากแบบที่โจทก์ยื่นเพื่อเสียภาษีในปีก่อน ๆ ได้ และเจ้าพนักงานประเมินย่อมเข้าใจว่ารอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์เป็นไปตามปกติคือเริ่มตั้งแต่วันที่1 มกราคมและสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ทั้งการประเมินดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการคำนวณภาษีซ้ำซ้อนกันหรือต้องทำให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นแต่ประการใด การประเมินภาษีอากรจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ภาษี: เหตุผลที่ยกขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลไม่จำกัดตามที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ และอำนาจการประเมินภาษีเมื่อไม่ยื่นรายการ
ประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) มิได้บัญญัติไว้ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์จึงอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยยกขึ้นอุทธรณ์ไว้ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีใจความสำคัญว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโจทก์โดยมิชอบและขอให้ยกเลิกการประเมินดังกล่าว การที่โจทก์กล่าวอ้างในชั้นศาลถึงการส่งหมายเรียกและการกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถูกต้องนั้น ก็เป็นเหตุผลที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าการประเมินภาษีดังกล่าวไม่ชอบนั่นเอง จึงเป็นการกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว
ที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการเสียภาษีอากรมาไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 นั้น ใช้เฉพาะกรณีที่มีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ แต่กรณีที่ไม่ยื่นรายการตามมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาบังคับ ดังนี้ แม้หมายเรียกจะออกมาเกิน 5 ปี และระบุทั้งมาตรา19 และ 23 มาด้วยก็หาทำให้การประเมินขาดอายุความไม่
รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนโจทก์เริ่มตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคมถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่อาจตรวจสอบในเรื่องรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์จากแบบที่โจทก์ยื่นเพื่อเสียภาษีในปีก่อน ๆ ได้ และเจ้าพนักงานประเมินย่อมเข้าใจว่ารอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์เป็นไปตามปกติคือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมและสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ทั้งการประเมินดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการคำนวณภาษีซ้ำซ้อนกันหรือต้องทำให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นแต่ประการใด การประเมินภาษีอากรจึงชอบแล้ว
of 14