คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 65

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล: การตีราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นถือเป็นกำไรที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิต โจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วย ถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้ การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3)
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและการรวมเป็นกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิตโจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วยถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(3) หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ทวิ(3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิ ของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ใน งบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นและการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทประกันภัยลงทุนในหุ้น
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิต โจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วย ถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3)
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายจ่ายที่ต้องห้ามทางภาษี กรณีพนักงานทำงานให้หลายบริษัท และการเฉลี่ยรายจ่ายระหว่างบริษัท
เมื่อปรากฏว่าพนักงานที่ได้รับเงินเดือนของโจทก์ไม่ได้ทำงานให้บริษัทโจทก์แต่เพียงแห่งเดียว แต่ยังได้ทำงานให้บริษัทอื่นด้วยโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าเป็นสัดส่วนมากน้อยเท่าใด รายจ่ายของโจทก์ที่เป็นเงินเดือน โบนัส และค่าตอบแทนอื่น ๆ ของพนักงานของโจทก์จึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามบางส่วนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี ส่วนรายจ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าวิทยุ โทรพิมพ์และค่าธรรมเนียมการใช้วิทยุโทรพิมพ์ของโจทก์นั้น เมื่อไม่ได้เป็นรายจ่ายเฉพาะการใช้ในกิจการของโจทก์ หากแต่เป็นรายจ่ายที่รวมอยู่กับการใช้ในกิจการของบริษัทอื่นด้วยโดยไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าเป็นส่วนสัดมากน้อยเท่าใด รายจ่ายของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามบางส่วนตามมาตรา 65 ตรี เช่นกัน
โจทก์ประกอบกิจการตัวแทนนายหน้าเป็นส่วนใหญ่ มิได้ลงทุนด้วยเงิน รายได้เบื้องต้นของโจทก์ก็คือรายรับที่ได้จากค่านายหน้า ส่วนบริษัท ม. ประกอบกิจการซื้อขายสิ่งทอภายในประเทศ มีการลงทุนด้วยเงินในการซื้อสินค้าและเมื่อขายสินค้าได้เงินเป็นรายรับมา ในกรณีมีกำไรรายรับย่อมหมายถึงต้นทุนบวกด้วยกำไรขั้นต้น และถือได้ว่ากำไรขั้นต้นนั้นคือรายได้เบื้องต้นจากการประกอบกิจการของบริษัท การคิดเฉลี่ยรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัทดังกล่าวจะต้องคิดจากฐานที่เหมือนกันหรือพอเปรียบเทียบกันได้ ดังนั้นการเฉลี่ยแบ่งรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัทที่ถูกต้องและเป็นธรรม ทางฝ่ายบริษัท ม. จะต้องคิดมาจากรายได้เบื้องต้นดังกล่าวเป็นฐานในการคำนวณ การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณหารายจ่ายเฉลี่ยโดยนำเอายอดรายรับซึ่งรวมต้นทุนของสินค้าเข้าไว้ด้วยมาเป็นฐานในการคำนวณ ทำให้ส่วนเฉลี่ยรายจ่ายของโจทก์มีเป็นจำนวน้อยและเป็นเหตุให้รายจ่ายที่ต้องห้ามของโจทก์มีเป็นจำนวนมากนับว่าไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินปรับปรุงรายจ่ายที่ต้องห้ามของโจทก์นั้น จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยรายจ่ายที่ต้องห้ามทางภาษี กรณีรายได้รวมของสองบริษัท และฐานคำนวณที่ถูกต้อง
เมื่อปรากฏว่าพนักงานที่ได้รับเงินเดือนของโจทก์ไม่ได้ทำงานให้บริษัทโจทก์แต่เพียงแห่งเดียว แต่ยังได้ทำงานให้บริษัทอื่นด้วยโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าเป็นสัดส่วนมากน้อยเท่าใด รายจ่ายของโจทก์ที่เป็นเงินเดือน โบนัส และค่าตอบแทนอื่น ๆ ของพนักงาน ของโจทก์จึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามบางส่วนตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี ส่วนรายจ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าวิทยุ โทรพิมพ์ และค่าธรรมเนียมการใช้วิทยุโทรพิมพ์ของโจทก์นั้น เมื่อไม่ได้เป็นรายจ่ายเฉพาะการใช้ในกิจการของโจทก์ หากแต่เป็นรายจ่ายที่รวมอยู่กับการใช้ ในกิจการของบริษัทอื่นด้วยโดยไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าเป็นส่วนสัด มากน้อยเท่าใด รายจ่ายของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นรายจ่ายที่ ต้องห้ามบางส่วนตามมาตรา 65 ตรี เช่นกัน โจทก์ประกอบกิจการตัวแทนนายหน้าเป็นส่วนใหญ่ มิได้ลงทุนด้วยเงิน รายได้เบื้องต้นของโจทก์ก็คือรายรับที่ได้จากค่านายหน้าส่วนบริษัท ม. ประกอบกิจการซื้อขายสิ่งทอภายในประเทศ มีการลงทุนด้วยเงินในการซื้อสินค้าและเมื่อขายสินค้าได้เงินเป็น รายรับมา ในกรณีมีกำไรรายรับย่อมหมายถึงต้นทุนบวกด้วยกำไรขั้นต้นและถือได้ว่ากำไรขั้นต้นนั้นคือรายได้เบื้องต้นจากการประกอบกิจการของบริษัท การคิดเฉลี่ยรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัทดังกล่าวจะต้อง คิดจากฐานที่เหมือนกันหรือพอเปรียบเทียบกันได้ ดังนั้นการเฉลี่ยแบ่งรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัท ที่ถูกต้องและเป็นธรรมทางฝ่ายบริษัทม. จะต้องคิดจากรายได้เบื้องต้นดังกล่าวเป็นฐานในการคำนวณการที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณหารายจ่ายเฉลี่ยโดยนำเอายอดรายรับ ซึ่งรวมต้นทุนของสินค้าเข้าไว้ด้วยมาเป็นฐานในการคำนวณทำให้ ส่วนเฉลี่ยรายจ่ายของโจทก์มีเป็นจำนวนน้อยและเป็นเหตุให้รายจ่าย ที่ต้องห้ามของโจทก์มีเป็นจำนวนมากนับว่าไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินปรับปรุงรายจ่ายที่ต้องห้ามของโจทก์นั้น จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การบัญชีจากสิทธิเป็นเงินสดสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุมิได้บัญญัติว่าการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์สิทธิ์หรือเกณฑ์เงินสด แต่เป็นที่เห็นได้ว่า คำว่า'กิจการที่กระทำ' ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่ง ประมวลรัษฎากรนั้น ย่อมหมายความถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นมาเป็นเงินได้แล้ว กล่าวคือ ต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นในภายหน้า การคำนวณกำไรสุทธิโดยใช้เกณฑ์เงินสดจึงชอบที่จะทำได้
ตามหลักการบัญชีไม่มีข้อห้ามว่า เมื่อใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งแล้วจะเปลี่ยนไปใช้อีกเกณฑ์หนึ่งไม่ได้ การที่โจทก์เปลี่ยนจากเกณฑ์สิทธิมาใช้เกณฑ์เงินสดสำหรับเบี้ยประกันชีวิตตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2520 เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน จึงชอบที่จะทำได้ และถือได้ว่าวิธีการทำบัญชีของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปีหลัง ๆ เป็นการยึดถือหลักความสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นไปตามหลักการบัญชีที่ถูกต้องเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนำเบี้ยประกันชีวิตที่ยังไม่ได้รับมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณกำไรสุทธิภาษีเงินได้นิติบุคคล: สิทธิในการเลือกใช้เกณฑ์สิทธิ์หรือเงินสด แม้จะยังไม่ได้รับเงิน
การคำนวณกำไรสุทธิในการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ. 2519 ถึงปี พ.ศ. 2521 ต้องเป็นไปตามมาตรา 65 แห่ง ป.รัษฎากรในขณะพิพาท ซึ่งบัญญัติว่า "เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี ฯลฯ" กิจการในที่นี้จึงหมายถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินมาเป็นเงินได้แล้ว ฉะนั้นการที่โจทก์มีสิทธิเพียงแต่จะได้รับดอกเบี้ย แต่ยังไม่ได้รับมาจริงจึงยังไม่ใช่รายรับอันจะนำมาคำนวณเป็นกำไรสุทธิ แม้โจทก์จะปฏิบัติทางบัญชีโดยลงบัญชีรายรับค่าดอกเบี้ยค้างรับในระบบเกณฑ์สิทธิ์ตลอดมาก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะไม่นำดอกเบี้ยที่ยังไม่ได้รับจริงมาคำนวณเป็นกำไรสุทธิได้ เพราะกฎหมายในเรื่องนี้ขณะพิพาทไม่ได้บัญญัติทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ในเรื่องภาษีการค้าตามมาตรา 79 จัตวา และเมื่อโจทก์มีสิทธิจะใช้เกณฑ์สิทธิ์หรือเกณฑ์เงินสดได้อยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องหนี้สูญ และความจำเป็นในการบัญญัติมาตรา 65 ทวิ (9).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีภาษี: การฟ้องซ้ำเรื่องเดิม แม้คำสั่งต่างกัน ถือฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
เงินภาษีและเงินเพิ่มที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยไว้ในอุทธรณ์ฉบับแรก แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้มีคำสั่งแจ้งการประเมินเพิ่มเติมอีก ก็หาใช่เป็นผลจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่างหาก แต่เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่มีคำสั่งไปตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฉบับแรกนั้นเอง เมื่อโจทก์ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับแรกในคดีก่อนและคดีอยู่ระหว่างพิจารณา การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับหลังซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน แม้คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะเป็นคนละคำสั่ง ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: เกณฑ์เงินสด vs. เกณฑ์สิทธิ และการประเมินรายได้จากการขายที่ดิน
ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ (พ.ศ.2518-2519) มิได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่ารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นจะจัดทำกันโดยใช้ระบบเกณฑ์สิทธิหรือเกณฑ์เงินสด จึงต้องนำมาตรา 39 ว่าด้วยข้อความทั่วไปของภาษีเงินได้มาใช้บังคับ ซึ่งเห็นได้ว่าเงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นจะเป็นเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ดีต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในภายหน้า ฉะนั้นการที่โจทก์จัดทำบัญชีค่าเช่าเป็นรายได้โดยใช้ระบบเกณฑ์เงินสดคือนำค่าเช่าที่ได้รับมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณกำไรสุทธิจึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: เกณฑ์เงินสด vs. เกณฑ์สิทธิ การประเมินรายได้จากค่าเช่าและทรัพย์สิน
ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ (พ.ศ.2518-2519) มิได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่ารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นจะจัดทำกันโดยใช้ระบบเกณฑ์สิทธิหรือเกณฑ์เงินสด จึงต้องนำมาตรา 39 ว่าด้วยข้อความทั่วไปของภาษีเงินได้มาใช้บังคับ ซึ่งเห็นได้ว่าเงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นจะเป็นเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ดีต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในภายหน้า ฉะนั้นการที่โจทก์จัดทำบัญชีค่าเช่าเป็นรายได้โดยใช้ระบบเกณฑ์เงินสดคือนำค่าเช่าที่ได้รับมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณกำไรสุทธิจึงเป็นการชอบแล้ว.
of 14