พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความร้องทุกข์คดีฉ้อโกง - การให้เงินเพื่อประกันตัว/ค่าทนาย vs. สินบนเจ้าพนักงาน
จำเลยพูดขอเงินจากโจทก์ร่วมจำนวน 600,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประกันตัวบุตรของโจทก์ร่วมและจำเลยจะหาทนายความให้โจทก์ร่วมต่อรองจำนวนเงินลงเหลือ 400,000 บาท จำเลยตกลง ข้อเท็จจริงดังกล่าวฟังได้เพียงว่าโจทก์ร่วมให้เงินจำเลยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของจำเลยในการที่จะหาทนายความให้บุตรของโจทก์ร่วม และเป็นค่าใช้จ่ายในการขอปล่อยชั่วคราวบุตรของโจทก์ร่วมเท่านั้น ยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าโจทก์ร่วมให้เงินจำเลยนำเงินไปให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมกับจำเลยจะนำสินบนไปให้เจ้าพนักงานอันเป็นการใช้ให้จำเลยกระทำผิด โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย ความผิดอันยอมความกันได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจูงใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แม้ผลสำเร็จยังไม่เกิด ก็ถือเป็นความผิดได้
การที่จำเลยเรียกและรับเงินไปจาก ฉ.เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาโดยวิธีอันทุจริตให้กระทำการในหน้าที่พิพากษาคดีอันเป็นคุณแก่ ฉ.ให้ฉ.ชนะคดีในชั้นศาลฎีกานั้นครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้ว จำเลยจะได้ไปจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ฉ.หรือไม่ หาใช่องค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143 ไม่ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาไปก่อนที่จำเลยจะได้เรียกและรับเงินจากฉ.จำเลยย่อมไม่สามารถจะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ ฉ.ได้ทันก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบความผิดไปแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเรียกรับเงินเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน แม้ผลสำเร็จไม่เกิดขึ้น ก็ยังถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143
การที่จำเลยที่ 1 เรียกและรับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ไปจากผู้เสียหายเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาโดยวิธีอันทุจริต ให้กระทำการในหน้าที่โดยพิพากษาคดีให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายให้ผู้เสียหายชนะคดีในชั้นศาลฎีกานั้นครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้ว จำเลยที่ 1 จะได้ไปจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายหรือไม่ หาใช่องค์ประกอบของความผิดไม่ ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้เรียกและรับเงินจากผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถจะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายได้ทันก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเรียกรับเงินเพื่อช่วยเหลือในการสอบเข้าโรงเรียนพลตำรวจ โดยมีเจตนาให้เจ้าพนักงานใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
การที่จำเลยเรียกรับเอาเงินจาก ม. และ น. สองครั้งเพื่อช่วยเหลือให้ ส.และพ. บุตรของบุคคลทั้งสองสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนโรงเรียนพลตำรวจได้ โดยจำเลยจะนำเงินไปเป็นค่าตอบแทนเจ้าพนักงานและแพทย์ผู้มีหน้าที่ในการสอบคัดเลือกและตรวจรับบุคคลเข้าเป็นนักเรียนพลตำรวจดังกล่าว เป็นการกระทำครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้วที่จำเลยไม่ได้เป็นกรรมการสอบคัดเลือก ไม่ได้แจ้ง ม. และ น.ว่าจะช่วยเหลือบุตรของบุคคลทั้งสองให้เข้าเป็นนักเรียนพลตำรวจด้วยวิธีใด และไม่ได้แจ้งแก่บุคคลทั้งสองว่าเจ้าพนักงานที่จำเลยจะไปจูงใจเป็นใคร ระดับใด หาใช่สาระสำคัญที่จะทำให้การกระทำของจำเลยกลายเป็นไม่ครบองค์ประกอบความผิดไม่ เมื่อจำเลยรับเงินดังกล่าวไว้รวมสองครั้ง ต่างวาระกันจึงเป็นการกระทำความผิดสองกรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเรียกเงินเพื่อวิ่งเต้นเจ้าพนักงาน ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แม้จะยังไม่ได้มีการวิ่งเต้นจริง
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยเรียกเงินจากผู้เสียหายเพื่อตอบแทนการที่จำเลยจะจูงใจพนักงานสอบสวนให้ไม่ดำเนินคดีแก่ ณ. และปล่อยตัว ณ. ให้หลุดพ้นจากคดีข้อหาลักทรัพย์ เป็นการบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบแห่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้วส่วนการที่จำเลยจะได้ไปติดต่อหรือจูงใจเจ้าพนักงานหรือไม่ มิใช่องค์ประกอบแห่งความผิดอันต้องบรรยายในฟ้อง และการที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายโดยอ้างว่ารู้จักกับพนักงานสอบสวนสามารถวิ่งเต้นให้ ณ. หลุดพ้นจากคดีอาญา ก็เป็นการกล่าวถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยว่าได้เอาความเท็จมากล่าวเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้จ่ายเงินเท่านั้น จะถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานเรียกรับเงินเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน ไม่จำเป็นต้องระบุการติดต่อจูงใจจริง
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยเรียกเงินจากผู้เสียหายเพื่อตอบแทนการที่จำเลยจะจูงใจพนักงานสอบสวนให้ไม่ดำเนินคดีกับ ณ.และปล่อยตัว ณ. หลุดพ้นจากข้อหาลักทรัพย์ เป็นการบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบแห่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว ส่วนการที่จำเลยจะได้ไปติดต่อหรือจูงใจเจ้าพนักงานหรือไม่ หาใช่องค์ประกอบแห่งความผิดอันจะต้องบรรยายมาในฟ้องด้วยไม่และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายโดยอ้างว่ารู้จักกับพนักงานสอบสวนสามารถวิ่งเต้นให้ ณ. หลุดพ้นจากคดีอาญา เป็นเพียงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยว่าได้เอาความเท็จมากล่าวเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้จ่ายเงินเท่านั้น จะถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดตามป.อ. มาตรา 143 หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเรียกเงินเพื่อวิ่งเต้นเจ้าพนักงาน ถือเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แม้จะยังไม่ได้กระทำการวิ่งเต้นจริง
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยเรียกเงินจากผู้เสียหายเพื่อตอบแทนการที่จำเลยจะจูงใจพนักงานสอบสวนให้ไม่ดำเนินคดีกับ ณ และปล่อยตัว ณ หลุดพ้นจากข้อหาลักทรัพย์ เป็นการบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบแห่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้วส่วนการที่จำเลยจะได้ไปติดต่อหรือจูงใจเจ้าพนักงานหรือไม่ หาใช่องค์ประกอบแห่งความผิดอันต้องบรรยายมาในฟ้องด้วยไม่ และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายโดยอ้างว่ารู้จักกับพนักงานสอบสวนสามารถวิ่งเต้นให้ ณ หลุดพ้นจากคดีอาญา เป็นเพียงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยว่าได้เอาความเท็จมา กล่าว เพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้จ่ายเงินเท่านั้น จะถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5174/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจูงใจเจ้าพนักงานที่ไม่ใช่ผู้พิพากษาในศาลอุทธรณ์ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143
จ.สามีล.ที่จำเลยที่ 2 พาน.ไปติดต่อเพื่อจะขอให้ช่วยวิ่งเต้นให้ น.ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ จ.จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานที่ ล.หรือจำเลยคนหนึ่งคนใดจะพึงจูงใจให้กระทำการ หรือไม่กระทำการในหน้าที่โดยพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใดอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งฟ้องคดีฆาตกรรมโดยเจ้าพนักงาน: การกล่าวอ้างปฏิบัติราชการตามหน้าที่ต้องทำตั้งแต่ชั้นสอบสวน
การที่จะกล่าวอ้างว่าตนเป็นเจ้าพนักงานฆ่าผู้ตายเพราะเหตุจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือผู้ตายตายอยู่ในระหว่างการควบคุมของตน ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 วรรคสามนั้นต้องได้กล่าวอ้างขึ้นในชั้นที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดเพื่อพนักงานสอบสวนจะได้เสนอสำนวนการสอบสวนความเห็นต่อพนักงานอัยการตามมาตรา 142 หรือต่ออธิบดีกรมอัยการ หรือผู้รักษาการแทนตามมาตรา 143 วรรคสามได้ถูกต้องเมื่อมิได้มีการกล่าวอ้างเช่นว่านั้น ในชั้นที่ถูกกล่าวหาแล้วการที่พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเช่นคดีอาญาธรรมดารวมทั้งการที่พนักงานอัยการออกคำสั่งฟ้อง จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งฟ้องคดีฆ่าโดยเจ้าพนักงานตามหน้าที่: การกล่าวอ้างต้องเกิดขึ้นในชั้นสอบสวน
การที่จะกล่าวอ้างว่าตนเป็นเจ้าพนักงานฆ่าผู้ตายเพราะเหตุจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือผู้ตายตายอยู่ในระหว่างการควบคุมของตน ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 วรรคสามนั้นต้องได้กล่าวอ้างขึ้นในชั้นที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดเพื่อพนักงานสอบสวนจะได้เสนอสำนวนการสอบสวนความเห็นต่อพนักงานอัยการตามมาตรา 142 หรือต่ออธิบดีกรมอัยการ หรือผู้รักษาการแทนตามมาตรา 143 วรรคสามได้ถูกต้องเมื่อมิได้มีการกล่าวอ้างเช่นว่านั้น ในชั้นที่ถูกกล่าวหาแล้วการที่พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเช่นคดีอาญาธรรมดารวมทั้งการที่พนักงานอัยการออกคำสั่งฟ้อง จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว