คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 143

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานให้เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ต้องพิสูจน์ว่าเจ้าพนักงานมีหน้าที่ตรวจสอบโดยตรง
จำเลยเรียกร้องเงินจาก ต. ช. และ จ. โดยอ้างว่าบัญชีของบุคคลดังกล่าวผิดและใบเสร็จรับเงินไม่ลงชื่อผู้รับเงิน จำเลยจะเอาเงินไปให้ ป. ซึ่งเป็นผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดไม่ให้ไปตรวจสอบ ต. จึงมอบเงิน 2,000 บาท ให้จำเลยไป ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ป. ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบแต่ทำหน้าที่ธุรการ ดังนั้นหน้าที่ตรวจสอบบัญชีจึงหาใช่หน้าที่โดยตรงอันสืบเนื่องมาจากการเป็นผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดของ ป. ซึ่งทำหน้าที่ธุรการไม่ ป.จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานที่จำเลยจะพึงให้กระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่ คือตรวจสอบบัญชีอันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด อันเป็นองค์ประกอบแห่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 ได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงาน: ผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีโดยตรง
จำเลยเรียกร้องเงินจาก ต.ซ. และ จ. โดยอ้างว่าบัญชีของบุคคลดังกล่าวผิดและใบเสร็จรับเงินไม่ลงชื่อผู้รับเงิน จำเลยจะเอาเงินไปให้ ป. ซึ่งเป็นผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดไม่ให้ไปตรวจสอบ ต. จึงมอบเงิน2,000 บาทให้จำเลยไปดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าป. ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบแต่ทำหน้าที่ธุรการ ดังนั้นหน้าที่ตรวจสอบบัญชีจึงหาใช่หน้าที่โดยตรงอันสืบเนื่องมาจากการเป็นผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดของ ป. ซึ่งทำหน้าที่ธุรการไม่ ป. จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานที่จำเลยจะพึงให้กระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่ คือตรวจสอบบัญชีอันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใดอันเป็นองค์ประกอบแห่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 ได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตหน้าที่เจ้าพนักงาน: การเบิกความต่อศาลไม่ใช่หน้าที่โดยตรงจากการจับกุมผู้ต้องหา
การปฏิบัติการของเจ้าพนักงานคนหนึ่งคนใดจะเป็นการกระทำในหน้าที่หรือไม่ ย่อมเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดอำนาจและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตามระเบียบหรือคำสั่งของทางราชการ
เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดส่วนการฟ้องร้องผู้กระทำความผิดหรือไม่ย่อมอยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจะต้องไปเบิกความเป็นพยานหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของพนักงานอัยการและศาล มิใช่ว่าเมื่อตำรวจคนใดได้จับผู้กระทำความผิดแล้วจะต้องไปเบิกความเป็นพยานต่อศาลเสมอไปจนถือว่าเป็นหน้าที่
การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมผู้กระทำความผิดมีหน้าที่ต้องเบิกความต่อศาลตามความสัจจริงในฐานะเป็นพยานในคดีที่ผู้กระทำความผิดถูกฟ้องนั้น เป็นหน้าที่อย่างเดียวกับประชาชนทั่วๆ ไป หาใช่เป็นหน้าที่โดยตรงอันสืบเนื่องมาจากการที่เป็นเจ้าพนักงานผู้จับกุมผู้กระทำความผิดไม่ หน้าที่ที่ต้องเบิกความตามความสัจจริง จึงไม่เป็นการกระทำการในหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะ แม้จำเลยจะเรียกและรับเงินจากผู้อื่นเพื่อจูงใจเจ้าพนักงานดังกล่าวให้เบิกความผิดไปจากความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบิกความในฐานะพยานไม่ใช่หน้าที่โดยตรงตามกฎหมาย การรับสินบนเพื่อเบิกความเท็จจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143
การปฏิบัติการของเจ้าพนักงานคนหนึ่งคนใดจะเป็นการกระทำในหน้าที่หรือไม่ ย่อมเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดอำนาจและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตามระเบียบหรือคำสั่งของทางราชการ
เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดส่วนการฟ้องร้องผู้กระทำความผิดหรือไม่ย่อมอยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจะต้องไปเบิกความเป็นพยานหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของพนักงานอัยการและศาล มิใช่ว่าเมื่อตำรวจคนใดได้จับผู้กระทำความผิดแล้วจะต้องไปเบิกความเป็นพยานต่อศาลเสมอไปจนถือว่าเป็นหน้าที่
การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมผู้กระทำความผิดมีหน้าที่ต้องเบิกความต่อศาลตามความสัจจริงในฐานะเป็นพยานในคดีที่ผู้กระทำความผิดถูกฟ้องนั้น เป็นหน้าที่อย่างเดียวกับประชาชนทั่วๆ ไป หาใช่เป็นหน้าที่โดยตรงอันสืบเนื่องมาจากการที่เป็นเจ้าพนักงานผู้จับกุมผู้กระทำความผิดไม่ หน้าที่ที่ต้องเบิกความตามความสัจจริง จึงไม่เป็นการกระทำการในหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะแม้จำเลยจะเรียกและรับเงินจากผู้อื่นเพื่อจูงใจเจ้าพนักงานดังกล่าวให้เบิกความผิดไปจากความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้ตัดสินว่าการข่มขู่เรียกเงินหลังรับเงินไปแล้ว และการขู่ว่าจะทำให้ถูกจำคุก ถือเป็นความผิดฐานกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337
ศาลเชื่อว่า จำเลยได้ถูกบันทึกเสียงไว้ถึง 6 ครั้ง ยากที่จะมีใครมาเลียนเสียงที่จำเลยพูดได้เป็นชั่วโมงๆ ไม่ใช่ว่าศาลชั้นต้นจะรับฟังลำพังแต่เทปอัดเสียงของจำเลยมาลงโทษจำเลยก็หาไม่ ศาลเชื่อว่าโจทก์ร่วมได้อัดเสียงจำเลยไว้จริง จึงไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
โจทก์ไม่ทราบว่ามีเอกสาร ล.1 ที่จำเลยอ้าง เมื่อจำเลยนำมาแสดงชั้นพิจารณา โจทก์เห็นว่าน่าจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ย่อมมีสิทธิขออนุญาตศาลส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ได้ตามมาตรา 125 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยมาตรา 15 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยอ้างสำนวนความของศาลจังหวัดปัตตานีเพื่อแสดงว่าจำเลยมีฐานที่อยู่เพราะจำเลยปฏิบัติงานอยู่ ดังนั้น การที่ศาลจับพิรุธที่ปรากฏได้ในบางสำนวนแล้วไม่เชื่อว่าเป็นความจริงว่าจำเลยได้อยู่ปฏิบัติงานในวันนั้นๆ ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะชั่งน้ำหนักคำพยาน หาใช่ทำการพิสูจน์โต้แย้งแทนโจทก์ไม่
จำเลยนำเอกสารมาซักค้านพยานโจทก์ก่อนเวลาที่จำเลยอ้างและนำสืบเพื่อสะดวกแก่การจด ศาลให้จำเลยส่งเอกสารนั้นทั้งหมดโดยศาลจดรายงานไม่ให้โจทก์คัดจนกว่าจำเลยจะอ้าง ก็เห็นได้ชัดว่าไม่เสียความยุติธรรมแต่อย่างใด
การที่โจทก์ร่วมจ่ายเงินให้จำเลยรับไปแล้วห้าแสนบาท จำเลยตั้งข้อเรียกร้องเอาเงินค่าวิ่งเต้นให้โจทก์ร่วมจ่ายเพิ่มอีก โดยพูดขู่ด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษรว่าถ้าไม่ตกลงจ่ายเงินตามที่จำเลยเรียกร้อง ก็ให้เตรียมตัวเข้าคุก ดังนี้ เป็นการข่มขืนใจให้โจทก์ร่วมยอมจะจ่ายเงินเพิ่มให้อีก จนโจทก์ร่วมผู้ถูกข่มขืนใจยอมจะให้เพิ่มขึ้นตามคำขู่ของจำเลย เพราะเกรงว่าถ้าไม่ยอมทำตามจะต้องได้รับโทษจำคุก ซึ่งเป็นอันตรายต่อเสรีภาพชื่อเสียง ของโจทก์ร่วม เป็นความผิดตามมาตรา 337 (ปัญหาสุดท้ายพิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจเรียกทรัพย์ - การกระทำเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 337 ประมวลกฎหมายอาญา
ศาลเชื่อว่า จำเลยได้ถูกบันทึกเสียงไว้ถึง 6 ครั้ง ยากที่จะมีใครมาเลียนเสียงที่จำเลยพูดได้เป็นชั่วโมง ๆ ไม่ใช่ว่าศาลชั้นต้นจะรับฟังลำพังแต่เทปอัดเสียงของจำเลยมาลงโทษจำเลยก็หาไม่ ศาลเชื่อว่าโจทก์ร่วมได้อัดเสียงจำเลยไว้จริง จึงไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
โจทก์ไม่ทราบว่ามีเอกสาร ล.1ที่จำเลยอ้างเมื่อจำเลยนำมาแสดงชั้นพิจารณา โจทก์เห็นว่าน่าจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ย่อมมีสิทธิขออนุญาตศาลส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ได้ตามมาตรา 125 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยมาตรา 15 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยอ้างสำนวนความของศาลจังหวัดปัตตานีเพื่อแสดงว่าจำเลยมีฐานที่อยู่ เพราะจำเลยปฏิบัติงานอยู่ ดังนั้น การที่ศาลจับพิรุธที่ปรากฏได้ในบางสำนวนแล้วไม่เชื่อว่าเป็นความจริงว่าจำเลยได้อยู่ปฏิบัติงานในวันนั้น ๆ ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะชั่งน้ำหนักคำพยาน หาใช่ทำการพิสูจน์โต้แย้งแทนโจทก์ไม่
จำเลยนำเอกสารมาซักค้านพยานโจทก์ก่อนเวลาที่จำเลยอ้างและนำสืบ เพื่อสะดวกแก่การจด ศาลให้จำเลยส่งเอกสารนั้นทั้งหมดโดยศาลจดรายงานไม่ให้โจทก์คัดจนกว่าจำเลยจะอ้าง ก็เห็นได้ชัดว่าไม่เสียความยุติธรรมแต่อย่างใด
การที่โจทก์ร่วมจ่ายเงินให้จำเลยรับไปแล้วห้าแสนบาท จำเลยตั้งข้อเรียกร้องเอาเงินค่าวิ่งเต้นให้โจทก์ร่วมจ่ายเพิ่มอีก โดยพูดขู่ด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษรว่า ถ้าไม่ตกลงจ่ายเงินตามที่จำเลยเรียกร้อง ก็ให้เตรียมตัวเข้าคุก ดังนี้ เป็นการข่มขืนใจให้โจทก์ร่วมยอมจะจ่ายเงินเพิ่มให้อีกจนโจทก์ร่วมผู้ถูกข่มขืนใจยอมจะให้เพิ่มขึ้นตามคำขู่ของจำเลยเพราะเกรงว่าถ้าไม่ยอมทำตามจะต้องได้รับโทษจำคุก ซึ่งเป็นอันตรายต่อเสรีภาพ ชื่อเสียง ของโจทก์ร่วม เป็นความผิดตามมาตรา 337.
(ปัญหาสุดท้ายพิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของผู้เสียหายที่ร่วมมือให้จำเลยติดสินบนเจ้าพนักงานเพื่อช่วยเหลือบุตร ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องร้อง
บุตรผู้เสียหายต้องหาว่าลักทรัพย์บุคคลอื่น จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านรับจะช่วยเหลือให้หลุดพ้นแต่ต้องให้เงินแก่จำเลยเพื่อเอาไปให้พนักงานสอบสวน ผู้เสียหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลย โดยประสงค์ที่จะให้บุตรของตนไม่ต้องรับโทษนั้น เข้าลักษณะเป็นการที่ผู้เสียหายใช้ให้จำเลยไปกระทำผิด จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวได้
แต่พนักงานอัยการย่อมมีสิทธิดำเนินคดีขอให้ลงโทษจำเลยฐานเรียกเอาเงินเพื่อจะเอาไปจูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของจำเลย เพื่อไม่ให้กระทำการอันเป็นโทษแก่บุตรผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143 อันเป็นความผิดต่ออาญาแผ่นดินได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของผู้เสียหาย และสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแผ่นดินต่อจำเลย
บุตรผู้เสียหายต้องหาว่าลักทรัพย์บุคคลอื่น จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านรับจะช่วยเหลือให้หลุดพ้นแต่ต้องให้เงินแก่จำเลยเพื่อเอาไปให้พนักงานสอบสวน ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลย โดยประสงค์ที่จะให้บุตรของตนไม่ต้องรับโทษนั้น เข้าลักษณะเป็นการที่ผู้เสียหายใช้ให้จำเลยไปกระทำผิด จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ ให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวได้
แต่พนักงานอัยการย่อมมีสิทธิดำเนินคดีขอให้ลงโทษจำเลยฐานเรียกเอาเงินเพื่อจะเอาไปจูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของจำเลยเพื่อไม่ให้กระทำการอันเป็นโทษแก่บุตรผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 อันเป็นความผิดต่ออาญาแผ่นดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกรับเงินเพื่อล้มคดีฆ่าคนตาย แม้ไม่มีผู้สั่งการโดยตรง ก็ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143
จำเลยอ้างต่อนาย พ.ว่า นายร้อยตำรวจผู้เป็นพนักงานสอบสวนใช้ให้ไปเรียกเงินจากนาย ป.เพื่อล้มคดีโดยพนักงานสอบสวนผู้นั้นจะปล่อยญาติของนาย ป. กับพวกซึ่งต้องหาคดีฐานฆ่าคนตาย ต่อมานาย ป. ได้นำเงินมามอบให้จำเลยและจำเลยยังได้กล่าวยืนยันต่อนาย ป.ว่า พนักงานสอบสวนต้องการเงินเพื่อจะได้ปล่อยญาติของนาย ป.กับพวก ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจะมีผู้ใดใช้ให้จำเลยไปเรียกเงินหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เรียกรับเงินเพื่อล้มคดีฆ่าคนตาย การกระทำครบองค์ความผิดแม้ไม่มีผู้สั่งการ
จำเลยอ้างต่อนาย พ. ว่า นายร้อยตำรวจผู้เป็นพนักงานสอบสวนใช้ให้ไปเรียกเงินจากนาย ป. เพื่อล้มคดีโดยพนักงานสอบสวนผู้นั้นจะปล่อยญาติของนาย ป. กับพวกซึ่งต้องหาคดีฐานฆ่าคนตาย ต่อมานาย ป. ได้นำเงินมามอบให้จำเลยและจำเลยยังได้กล่าวยืนยันต่อนาย ป. ว่าพนักงานสอบสวนต้องการเงินเพื่อจะได้ปล่อยญาติของนาย ป.กับพวก ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีผู้ใดใช้ให้จำเลยไปเรียกเงินหรือไม่
of 5