คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ.2482 ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความเสียหายรังนกอีแอ่นและการมีไว้ในครอบครองถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน, การริบของกลางกรณีผู้กระทำผิดเสียชีวิต
การกระทำผิดฐานกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่นต้องมีเจตนาในการกระทำต่อรังนกอีแอ่นในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รังนกที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ส่วนการมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นนั้น เป็นการกระทำที่ต้องอาศัยเจตนาในการยึดถือเพื่อตนซึ่งรังนกอีแอ่น จึงมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ ถึงแม้บทลงโทษในความผิดดังกล่าวอยู่ในมาตราเดียวกัน ก็เป็นเพียงการบัญญัติลักษณะของการกระทำผิดต่าง ๆ มากำหนดโทษไว้ในที่แห่งเดียวเพราะมีอัตราโทษเท่ากันเท่านั้น กฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำผิดในแต่ละกรณีเป็นรายกระทงไป แม้จำเลยกระทำผิดทั้งสองฐานในคราวเดียวกันและต่อเนื่องกัน ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
อาวุธปืนออโตเมติกขนาด9มม. จำนวน 1 กระบอก ซองบรรจุกระสุน 1 อัน กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 2 นัด ซองพก 1 ซองและปลอกกระสุนปืนขนาด 9 มม. 1 ปลอก ของกลาง ที่ ย. ใช้ยิงต่อสู้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นของ ย. แต่ ย. ถูกยิงตายสิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ย. ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(1) และโทษย่อมระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 38 จึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำลายรังนกอีแอ่นและการมีไว้ในครอบครองโดยมิชอบเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การริบของกลางกรณีผู้กระทำผิดถึงแก่ความตาย
ที่เกิดเหตุเป็นเกาะมีถ้ำที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นเขตห้ามตาม พ.ร.ฎ. กำหนดเกาะที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ตามธรรมชาติเป็นเขตห้าม พ.ศ. 2485 บริษัทรังนกแหลมทอง (สยาม) จำกัด ผู้เสียหายเป็นผู้ได้รับสัมปทานเก็บรังนกอีแอ่นบนเกาะดังกล่าว ตาม พ.ร.บ. อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในขณะเกิดเหตุนั้น มาตรา 5 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใด ๆ อันสามารถอาจเป็นอันตรายแก่นกอีแอ่นหรืออาจเป็นเหตุให้นกอีแอ่นละที่อาศัยไปจากเกาะที่ทำรังอยู่ตามธรรมชาติหรือกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่น บรรดาที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะ มาตรา 7 บัญญัติว่า ผู้ใดจะเก็บรังนกอีแอ่นบรรดาที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะ ต้องได้รับอนุญาตและเสียเงินอากรตามวิธีการซึ่งจะได้กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา 9 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นอันตนรู้ว่าได้มาโดยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.นี้ จึงเห็นได้ว่าการกระทำผิดฐานกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่นต้องมีเจตนาในการกระทำต่อรังนกอีแอ่นในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รังนกที่มีอยู่ตามธรรมชาติเป็นกรณีที่อาศัยเจตนาอย่างหนึ่ง ส่วนการมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นนั้น เป็นการกระทำที่ต้องอาศัยเจตนาในการยึดถือเพื่อตนซึ่งรังนกอีแอ่น การกระทำผิด ทั้งสองฐานดังกล่าวอยู่ในมาตราเดียวกันก็เป็นเพียงการบัญญัติลักษณะของการกระทำผิดต่าง ๆ มากำหนดโทษไว้ในที่แห่งเดียวเพราะมีอัตราโทษเท่ากันเท่านั้น แม้จำเลยกระทำผิดทั้งสองฐานในคราวเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำผิดของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
อาวุธปืนออโตเมติก ขนาด 9 มม. ซึ่งเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จำนวน 1 กระบอก ซองบรรจุกระสุน 1 อัน กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 2 นัด ซองพก 1 ซอง และปลอกกระสุนปืนขนาด 9 มม. 1 ปลอก ของกลางที่ ย. ใช้ยิงต่อสู้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นของ ย. แต่ ย. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงตายในที่เกิดเหตุ สิทธินำคดีอาญา มาฟ้อง ย. ย่อมระงับไป ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) และโทษย่อมระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 38 ศาลจึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเก็บรังนกอีแอ่นและการครอบครองรังนกที่ได้มาจากการกระทำผิด ถือเป็นคนละกรรม
พระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2482 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุมาตรา 5,7 และ 9 ห้ามกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่นห้ามเก็บรังนกอีแอ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายและห้ามมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นที่ได้มาโดยฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าว จำเลยเก็บรังนกอีแอ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมีความผิดฐานเก็บรังนกอีแอ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเป็นความผิดสำเร็จทันที ที่จำเลยเข้าเก็บรังนกอีแอ่น และเป็นการกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่นไปพร้อมกันด้วย จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90ส่วนที่จำเลยครอบครองรังนกอีแอ่นที่ได้มาจากการกระทำผิดต่อมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังและแยกเป็นคนละส่วนจากการกระทำผิดครั้งแรกได้ จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหากจากการกระทำผิดข้างต้นจึงเป็นการกระทำผิดต่างกรรมกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเก็บรังนกอีแอ่นและครอบครองรังนกที่ได้จากการกระทำผิด: กรรมเดียวผิดหลายบท vs. หลายกรรมต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขึ้นไปบนเกาะสัมปทานรังนกอีแอ่นของผู้อื่น แล้วใช้ไม้และเหล็กแทงรังนกอีแอ่นซึ่งติดอยู่กับผนังถ้ำให้หลุดออก และลักเอาไป หลังจากนั้นจำเลยได้ครอบครองรังนกอีแอ่นที่ร่วมกันลักไป ซึ่งตามพ.ร.บ. อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ.2482 ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุมาตรา 5, 7 และ 9 ห้ามกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่น ห้ามเก็บรังนกอีแอ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และห้ามมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นที่ได้มาโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดฐานเก็บรังนกอีแอ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายซึ่งเป็นความผิดสำเร็จทันทีที่จำเลยเข้าเก็บรังนกอีแอ่น และการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รังนกอีแอ่นที่มีอยู่ตามธรรมชาติตามที่กฎหมายห้ามไว้ไปพร้อมกันด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ.มาตรา 90 ส่วนที่จำเลยครอบครองรังนกอีแอ่นที่ได้มาจากการกระทำความผิดต่อมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังและแยกเป็นคนละส่วนจากการกระทำผิดครั้งแรกได้ จึงถือได้ว่า จำเลยกระทำผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหากจากการกระทำความผิดข้างต้น จึงเป็นความผิดต่างกรรมกันตาม ป.อ.มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเก็บรังนกอีแอ่นและทำลายรัง โดยใช้กฎหมายฉบับใหม่ที่บัญญัติโทษหนักกว่า
รังนกอีแอ่น ในถ้ำเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของ แต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยเข้ายึดถือเอา การที่บริษัทผู้เสียหายได้รับอนุญาตให้เก็บรังนกอีแอ่น อันเป็นการผูกขาดจากรัฐบาล ผู้เสียหายมีสิทธิเพียงว่าถ้าประสงค์จะเก็บรังนกอีแอ่น ในถ้ำที่ผูกขาดย่อมมีสิทธิที่จะเข้าเก็บเอาได้ไม่ถูกหวงห้ามเสมือนบุคคลผู้ไม่ได้รับอนุญาต แต่จะมีกรรมสิทธิ์ได้ในรังนกอีแอ่น ยังจะต้องมีการเข้ายึดเอาอีกชั้นหนึ่งก่อนเมื่อผู้เสียหายยังมิได้เข้าถือเอารังนกอีแอ่น ตามมาตรา 1318แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้เสียหายจึงมิได้ เป็นเจ้าของในรังนกรายพิพาทการเก็บรังนกอีแอ่น ดังกล่าว ของจำเลยทั้งสามกับพวกจึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ ของผู้เสียหาย ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยทั้งสามกับพวกเป็นความผิดฐานเข้าหรือขึ้นไปบนเกาะที่นกอีแอ่นทำรัง อยู่ ตามธรรมชาติแต่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้มีพระราชบัญญัติ อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2540 ยกเลิกพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น ฉบับเดิมทั้งหมด โดยไม่มีบทบัญญัติใดระบุการเข้าหรือขึ้นไปบนเกาะที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ ตามธรรมชาติ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้รับอนุญาตเก็บรังนกอีแอ่นหรืออาศัยอำนาจผู้ได้รับอนุญาตหรือเจ้าหน้าที่ของ รัฐบาลตามมาตรา 6 พระราชบัญญัติ ฉบับเดิมและไม่มีบทกำหนดโทษเช่นพระราชบัญญัติฉบับเดิม ถือได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดจำเลยทั้งสามจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง