คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 57 ตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะส่งผลต่อหน้าที่เสียภาษีเงินได้ของคู่สมรส
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์กับ จ. เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1495 เนื่องจาก จ. มีคู่สมรสอยู่แล้วในขณะที่สมรสกับโจทก์ จึงมีผลเท่ากับโจทก์กับ จ. มิได้เป็นสามีภริยากันมาแต่แรก ไม่อาจถือเอาเงินได้ที่ จ. ได้รับมาเป็นเงินได้ของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี โจทก์ไม่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีสำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9759/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมกรณีคู่สมรสแยกยื่นภาษี เงินได้ภริยาไม่รวมกับสามี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี หลักในการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยานั้น ถ้าสามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมา กฎหมายถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีโดยสามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นดังบัญญัติไว้ในมาตรา 57 เบญจ
แม้โจทก์จะเคยเสียภาษีในฐานะคนโสดแต่ภายหลังมีภริยาและต้องเสียภาษีในฐานะมีคู่สมรสมิใช่ในฐานะคนโสดอีกต่อไป ทั้งภริยาโจทก์มีเงินได้ซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) ได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากโจทก์ จึงไม่ถือว่าเงินได้ของภริยาโจทก์นั้นเป็นเงินได้ของโจทก์ด้วยตามมาตรา 57 เบญจ โจทก์และภริยาจึงต่างฝ่ายต่างมีสิทธิหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1) (ซ) กึ่งหนึ่งตามบัญญัติของมาตรา 57 เบญจ (6) ส่วนจำนวนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1) (ซ) นั้น ป.รัษฎากรให้หักค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท แต่วิธีการหักต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 57 เบญจ (6) ซึ่งให้สิทธิภริยาหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1) (ซ) กึ่งหนึ่ง ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2539 ภริยาโจทก์เป็นผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และได้แยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษี ภริยาโจทก์มิได้หักลดหย่อนส่วนนี้ไว้ ทำให้ต้องเสียภาษีเกินไป ก็มีสิทธิขอคืนได้และกรมสรรพากรก็มีหน้าที่ต้องคืนให้ โจทก์จึงมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เพียง 5,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6652/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีสามีไม่มีเงินได้ และบทบัญญัติมาตรา 57 ตรี
ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี วรรคแรก เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่สามีและภริยาต่างมีเงินได้โดยให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แต่หากภริยาเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมิน ส่วนสามีไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ก็ไม่อยู่ในบังคับให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีที่สามีจะต้องรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีตามมาตรา 57 ตรี วรรคแรก แต่อย่างใด เมื่อสามีของโจทก์ไม่มีเงินได้พึงประเมินและไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีประกอบกับไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา 57 ตรี มาใช้บังคับได้ กรณีจึงต้องเป็นไปตาม ป.รัษฎากร มาตรา 56 วรรคแรก ที่กำหนดให้บุคคลทุกคนมีหน้าที่ในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับเกิน 60,000 บาท ในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินประมาณ 4 ล้านบาทเศษ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นรายการและชำระภาษี เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกยื่นภาษีของคู่สมรส: เงินได้บางส่วนต้องรวมคำนวณภาษีกับคู่สมรส
โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีสามารถแยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้แต่เฉพาะในส่วนของเงินได้ตามมาตรา 40 (1) เท่านั้น ส่วนเงินได้ของโจทก์ตามมาตรา 40 (4) (ก) นั้น ถือเป็นเงินได้ของสามีโจทก์ และสามีโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แม้โจทก์จะแยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษี การแยกยื่นของโจทก์ต้องไม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลง ดังนั้น โจทก์ต้องนำเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4) (ก) ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้กับเงินได้ของสามีโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดทางภาษีของภริยาเมื่อแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและมีรายได้ตามมาตรา 40(1) เท่านั้น
ประมวลรัษฎากรมาตรา57ตรีวรรคแรกใช้บังคับเฉพาะจนกรณีที่สามีและภริยาต่างมีเงินได้ซึ่งกฎหมายให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีโดยให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเท่านั้นฉะนั้นหากภริยาไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วหรือมีเฉพาะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(1)เพียงอย่างเดียวซึ่งภริยาได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีโดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามีตามมาตรา57ตรีแล้วก็มิใช่กรณีการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาที่กฎหมายบังคับให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีซึ่งสามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีและถ้าภาษีค้างชำระและภริยาได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า7วันแล้วภริยาต้องร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นตามมาตรา57ตรีวรรคแรกเมื่อจำเลยซึ่งเป็นภริยาไม่มีเงินได้ถึงประเมินประเภทอื่นนอกจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(1)และจำเลยได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา57เบญจแล้วจึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา57ตรีมาใช้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่สามีค้างชำระได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดทางภาษีของภริยาที่มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) และแยกยื่นภาษีแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี วรรคแรก ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ซึ่งกฎหมายให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี โดยให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเท่านั้น หากภริยาไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วหรือมีเฉพาะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) เพียงอย่างเดียวซึ่งภริยาได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีโดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามีตามมาตรา 57 ตรี ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 57 เบญจ แล้ว ก็มิใช่กรณีการเรียกเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาที่กฎหมายบังคับให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี ซึ่งสามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี และถ้าภาษีค้างชำระและภริยาได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันแล้วภริยาต้องร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นตามมาตรา 57 ตรี วรรคแรกแต่อย่างใด
เมื่อจำเลยไม่มีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นนอกจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และจำเลยก็ได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา 57 ตรีมาใช้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่สามีค้างชำระได้
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ อันมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนผู้ซึ่งเป็นฝ่ายจะต้องเสียเพิ่มขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภริยาไม่ต้องรับผิดร่วมในภาษีค้างชำระของสามี หากไม่มีเงินได้อื่นนอกเหนือจากมาตรา 40(1) และยื่นภาษีแยกต่างหาก
ประมวลรัษฎากรเป็น กฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชนจึงต้อง ตีความโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนผู้ซึ่งเป็นฝ่ายจะต้องเสียเพิ่มขึ้นโดยมาตรา57ตรีวรรคแรกใช้บังคับเฉพาะกรณีที่สามีและภริยาต่างมีเงินได้ซึ่งกฎหมายให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีโดยให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลย มีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นนอกจากตามมาตรา40(1)และก็ได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา57เบญจแล้วจึงไม่อาจนำมาตรา57ตรีมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์การประเมินภาษี: ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน จึงจะฟ้องต่อศาลได้
เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มโดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี การที่โจทก์ขอให้แยกยอดเงินได้ของภริยาออกคำนวณภาษีเป็นคนละส่วนกับเงินได้ส่วนของโจทก์ เท่ากับโจทก์โต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินว่า โจทก์ไม่ควรต้องรับผิดเสียภาษีสำหรับเงินได้ส่วนของภริยา โจทก์ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลได้
การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งการพิจารณาของเจ้าพนักงานประเมินตามคำร้องของโจทก์ที่ขอให้แก้ไขการประเมินโดยขอให้แยกยอดเงินได้ของสามีและภริยานั้น ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อภรรยาแยกยื่นรายการ: เจ้าพนักงานมีอำนาจแบ่งภาษีและให้ทั้งสองฝ่ายร่วมรับผิดชอบ
ภรรยาโจทก์แยกยื่นแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ต่างหากจากโจทก์ เมื่อรายการที่ภรรยาโจทก์ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ การออกหมายเรียกมาไต่สวนตามนัยมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานย่อมออกหมายเรียกไปยังภรรยาโจทก์ผู้ยื่นรายการมาทำการไต่สวน ไม่ใช่โจทก์ แต่เมื่อไต่สวนทราบจำนวนเงินภาษีอันถูกต้องแล้ว เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแบ่งภาษีดังกล่าวออกตามส่วนของเงินได้พึงประเมินที่โจทก์และภรรยาโจทก์แต่ละฝ่ายได้รับ โดยแจ้งให้โจทก์และภรรยาโจทก์เสียเป็นคนละส่วนได้แต่ถ้าภาษีส่วนของฝ่ายใดค้างชำระ อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระดังกล่าว ทั้งนี้ตามมาตรา 57 ตรี วรรคสาม ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานไต่สวนภรรยาโจทก์แล้ว ปรากฏว่าภรรยาโจทก์มีภาระต้องรับผิดชำระเงินภาษีเพิ่มเติมซึ่งโจทก์ต้องร่วมรับผิดด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้ให้โจทก์ชำระโดยมิได้หมายเรียกโจทก์มาไต่สวน ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะมิใช่การตรวจสอบภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีร่วมภรรยา-สามี: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแจ้งภาษีสามีได้ แม้ไม่ได้ไต่สวนโดยตรง หากภรรยาแยกยื่นรายการ
ภรรยาโจทก์แยกยื่นแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ต่างหากจากโจทก์เมื่อรายการที่ภรรยาโจทก์ยื่นไม่ถูกต้อง ตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ การออกหมายเรียกมาไต่สวนตามนัยมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานย่อมออกหมายเรียกไปยังภรรยาโจทก์ผู้ยื่นรายการมาทำการไต่สวน ไม่ใช่โจทก์ แต่เมื่อไต่สวนทราบจำนวนเงินภาษี อันถูกต้องแล้ว เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแบ่งภาษีดังกล่าวออกตามส่วนของเงินได้พึงประเมินที่โจทก์และภรรยาโจทก์แต่ละฝ่ายได้รับ โดยแจ้งให้โจทก์และภรรยาโจทก์เสียเป็นคนละส่วนได้ แต่ถ้าภาษีส่วนของฝ่ายใดค้างชำระ อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระดังกล่าว ทั้งนี้ตามมาตรา 57 ตรี วรรคสาม ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานไต่สวนภรรยาโจทก์แล้วปรากฏว่าภรรยาโจทก์มีภาระต้องรับผิดชำระเงินภาษีเพิ่มเติมซึ่งโจทก์ต้องร่วมรับผิดด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้ให้โจทก์ชำระโดยมิได้หมายเรียกโจทก์มาไต่สวน ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะมิใช่การตรวจสอบภาษี
of 2