พบผลลัพธ์ทั้งหมด 219 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10389/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังพ้นกำหนด – เหตุอันสมควร – ความสงบเรียบร้อย – ป.วิ.พ. มาตรา 195
ป.วิ.พ. มาตรา 195 บัญญัติให้นำบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับกับคดีมโนสาเร่เช่นคดีนี้ด้วย กล่าวคือ กรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฯลฯ เมื่อคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยยื่นภายหลังล่วงพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงต้องพิจารณาว่าเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นที่จะสามารถยื่นได้หรือไม่ ปรากฏข้อความที่จำเลยขอแก้ไขจากคำให้การเดิมว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจ ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ เป็นลายมือชื่อปลอม การมอบอำนาจจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอมและดวงตราที่ประทับก็ไม่ใช่ดวงตราประทับที่จดทะเบียนไว้ จึงเป็นการมอบอำนาจโดยมิชอบนั้น ล้วนเป็นเรื่องที่จำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์ ซึ่งจำเลยอาจยื่นคำให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวได้ตั้งแต่ยื่นคำให้การครั้งแรก หรือมิฉะนั้นนับแต่วันยื่นคำให้การไปจนถึงวันสืบพยานโจทก์นัดแรกก็ยังมีระยะเวลานานเพียงพอที่จำเลยจะสามารถขอแก้ไขคำให้การได้ทัน จึงไม่ใช่เหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น อีกทั้งการขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวนั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่ใช่การขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังจากสืบพยานโจทก์แล้วเช่นนี้ จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9919/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ขาดอายุความ: สิทธิเจ้าหนี้จำนองยังคงมีอยู่ตามกฎหมาย แม้หนี้ประธานขาดอายุความแล้ว
คดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้วนั้น โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตายให้รับผิดในฐานะ ส. เป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้เงินและจำนองที่ดินพิพาทในคดีนี้ไว้เป็นประกัน และคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิบังคับทรัพย์สินที่จำนองได้หรือไม่ เพราะแม้มูลหนี้ตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม แล้วก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่กรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกิน 5 ปีขึ้นไปไม่ได้ และตามมาตรา 745 ก็บัญญัติไว้ว่า ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปีไม่ได้ อันเป็นประเด็นที่ยังไม่ได้มีการวินิจฉัย เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. เพื่อชำระหนี้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้ กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9785/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการขายทอดตลาด vs. สิ่งปลูกสร้างเดิม เจ้าของที่ดินมีสิทธิรื้อถอนได้
จำเลยปลูกสร้างบ้านลงบนที่ดินพิพาทและบนที่ดินของจำเลยอีกแปลงที่อยู่ติดต่อกันโดยจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลงจำเลยจึงมีสิทธิปลูกสร้างได้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งมิใช่การปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 เมื่อต่อมาที่ดินพิพาทถูกบังคับคดีนำออกขายทอดตลาด โจทก์ผู้ซื้อที่ดินได้จากการขายทอดตลาดจึงเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต ส่วนบ้านและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนที่ดินพิพาทจะมีหรือไม่ หรือโจทก์จะรู้หรือไม่ว่ามีบ้านและสิ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินพิพาทก็ไม่ทำให้โจทก์มิใช่ผู้ซื้อโดยสุจริต สิทธิของโจทก์ที่ได้ที่ดินจากการขายทอดตลาดย่อมไม่เสียไปตามมาตรา 1330 โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยปลูกบ้านและสิ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินอีกต่อไป แต่จำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิของบังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9785/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการขายทอดตลาด และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ
บ้านเลขที่ 6/1 ตั้งอยู่บนที่ดินซึ่งเป็นของเจ้าของคนเดียวกันคือจำเลยต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกขายที่ดินเฉพาะโฉนดเลขที่ 13742 จึงมีโรงเรือนบางส่วนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ผู้ซื้อ การที่จำเลยปลูกสร้างบ้านลงบนที่ดินพิพาทและบนที่ดินของจำเลยอีกแปลงที่อยู่ติดต่อกันโดยจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลงจำเลยมีสิทธิปลูกสร้างได้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งมิใช่การปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 เมื่อต่อมาที่ดินพิพาทถูกบังคับนำออกขายทอดตลาด กรณีย่อมต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1330 โจทก์ ผู้ซื้อที่ดินได้จากการขายทอดตลาด อันเป็นที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต ส่วนบ้านและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนที่ดินพิพาทจะมีหรือไม่ หรือโจทก์จะรู้หรือไม่ว่ามีบ้านและสิ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินพิพาทก็ไม่ทำให้โจทก์มิใช่ผู้ซื้อโดยสุจริต กรณีหาจำต้องให้ผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดต้องตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทที่ถูกนำออกขายทอดตลาดมีสภาพหรือภาระอย่างไร เมื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์ที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต สิทธิของโจทก์ที่ได้ที่ดินจากการขายทอดตลาดย่อมไม่เสียไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และเมื่อโจทก์ไม่แสดงให้ปรากฏว่าได้ก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นที่ดินเป็นคุณแก่จำเลย โดยยอมให้จำเลยเป็นเจ้าของบ้านบนที่ดินของโจทก์ต่อไป โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ผู้ไม่ประสงค์จะให้จำเลยปลูกบ้านและสิ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินโจทก์อีกต่อไป แต่จำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงมีสิทธิขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9421/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำพิพากษาซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วน ศาลล่างมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดเพื่อให้การบังคับคดีถูกต้อง
ที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยมีเนื้อที่ทั้งแปลง 25 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วน เนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา และจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่เท่าใด เป็นเหตุให้เกิดปัญหาแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด การที่ศาลล่างทั้งสองแปลตีความคำพิพากษาว่าให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา นั้นถูกต้องตรงตามสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนและเป็นการซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนทั้งการแปลหรือตีความคำพิพากษาดังกล่าวมุ่งหมายเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้โดยถูกต้องและเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีผลเป็นการแก้เนื้อหาคำวินิจฉัยเดิมของศาลชั้นต้น และไม่ใช่เป็นกรณีที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลล่างทั้งสองก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดและผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง จึงไม่ใช่เป็นการแปลคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และเป็นการแก้ไขมาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9421/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลความคำพิพากษาให้สอดคล้องกับสัญญาซื้อขายเฉพาะส่วนและการบังคับคดี
แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่เท่าใด และการแปลหรือตีความคำพิพากษาของศาลที่มีใจความว่า ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ให้โจทก์จำเลยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและให้โจทก์ชำระราคาที่ดินแก่จำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษานั้น ถูกต้องตรงตามสาระสำคัญของสัญญาอันเป็นการซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนไม่ใช่เป็นการซื้อขายที่ดินทั้งแปลงการแปลหรือตีความคำพิพากษาดังกล่าวมุ่งหมายเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้ถูกต้องโดยไม่มีผลเป็นการแก้เนื้อหาคำวินิจฉัยเดิมของศาลชั้นต้นและไม่ใช่เป็นกรณีที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป แม้คำพิพากษาดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่การแปลคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และเป็นการแก้ไขมาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9421/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วน: การตีความคำพิพากษาให้สอดคล้องกับสัญญาซื้อขายและแก้ไขข้อผิดพลาดในการจดทะเบียน
ที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยมีเนื้อที่ทั้งแปลง 25 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วน เนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา ในราคา 5,093,600 บาท และจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว เมื่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่เท่าใด เป็นเหตุให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี ว่าจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด ซึ่งการแปลและตีความคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่มีใจความว่าให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ให้โจทก์จำเลยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและให้โจทก์ชำระราคาที่ดินแก่จำเลยภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษานั้นถูกต้องตรงตามสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนและเป็นการซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนทั้งการแปลหรือตีความคำพิพากษาดังกล่าวมุ่งหมายเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้โดยถูกต้องและเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีผลเป็นการแก้เนื้อหาคำวินิจฉัยเดิมของศาลชั้นต้น และไม่ใช่เป็นกรณีที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลล่างทั้งสองก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดและผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง จึงไม่ใช่เป็นการแปลคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และเป็นการแก้ไขมาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำว่า 'ค่าอากร' ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ไม่รวมภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีมหาดไทย
คำว่า "ค่าอากร" ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หาหมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยด้วยไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองนำค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยสำหรับรถยนต์ของกลางมารวมเป็นค่าอากรอีกจำนวนหนึ่งนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า "อากร" ใน พ.ร.บ.ศุลกากร และการปรับปรุงฐานภาษีเพื่อลงโทษปรับที่ถูกต้อง
คำว่า "อากร" ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หาหมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยด้วยไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองนำค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยสำหรับรถยนต์ของกลางมารวมเป็นค่าอากรอีกจำนวนหนึ่งนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7608/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส สิทธิของคู่สมรสที่ไม่รู้เห็นยินยอม
ทางนำสืบของผู้ร้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้รู้ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องไม่รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องและจำเลยไปจำนองไว้กับโจทก์แต่อย่างใด เมื่อที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวต้องถือว่าโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริต การจำนองจึงสมบูรณ์มีผลผูกพันทรัพย์จำนองทั้งหมดทุกส่วน เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับจำนองและศาลพิพากษาให้บังคับตามสัญญาจำนองแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ ส่วนการที่จำเลยนำทรัพย์ส่วนของผู้ร้องเข้าร่วมจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ร้องนั้น หากเป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไร ผู้ร้องก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จะมาร้องขอกันส่วนให้การบังคับคดีมีผลผิดไปจากคำพิพากษาหาได้ไม่