พบผลลัพธ์ทั้งหมด 219 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมและใช้เอกสารปลอม กรณีจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสาร แต่ไม่ได้ยื่นเอกสารปลอมต่อธนาคาร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยใช้รายงานประเมินราคาที่จำเลยปลอมขึ้นยื่นต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร ก. แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยนำรายงานประเมินราคาปลอมไปใช้อ้างแสดงต่อ ธ. โดยจำเลยไม่ได้นำไปใช้ยื่นแสดงต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร ก. ตามที่โจทก์ฟ้องแต่อย่างใด จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา และอำนาจศาลสูงในการวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่ง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 กำหนดให้ผู้เสียหายเพียงยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้โดยไม่จำต้องฟ้องร้องทางแพ่งเป็นคดีใหม่กันอีก แต่คำร้องดังกล่าวคงมีประเด็นเฉพาะการกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทน ส่วนข้อหาต้องอาศัยตามคำฟ้องพนักงานอัยการ อีกทั้งผู้เสียหายไม่ได้ร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ดังนั้น เมื่อพนักงานอัยการโจทก์อุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาคดีส่วนอาญาของศาลล่าง และศาลสูงวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดอาญา ศาลสูงก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งไปได้ ในทำนองเดียวกับมาตรา 43 โดยไม่จำต้องให้ผู้เสียหายอุทธรณ์หรือฎีกา เนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการโต้แย้งคำสั่งรับอุทธรณ์: จำเลยต้องใช้สิทธิผ่านคำแก้อุทธรณ์ ไม่ใช่คำร้องต่อศาลชั้นต้น
ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง ได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับเพื่อส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ หากเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้มีคำสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อรวมสำนวนส่งขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง ก็ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้อุทธรณ์ที่จะคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นโดยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อันเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงหน้าที่ของศาลชั้นต้นและสิทธิของผู้อุทธรณ์ไว้เป็นการเฉพาะ
เมื่อศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมีคำสั่งรับอุทธรณ์อันมีผลเท่ากับได้วินิจฉัยแล้วว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งต้องดำเนินการขั้นตอนต่อไปจนกว่าคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 หากจำเลยเห็นว่าอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดก็มีสิทธิที่จะทำคำแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยไปเสียทีเดียวว่าเป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้หรือไม่ การที่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์จึงเป็นการใช้สิทธินอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดและไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.
เมื่อศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมีคำสั่งรับอุทธรณ์อันมีผลเท่ากับได้วินิจฉัยแล้วว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งต้องดำเนินการขั้นตอนต่อไปจนกว่าคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 หากจำเลยเห็นว่าอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดก็มีสิทธิที่จะทำคำแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยไปเสียทีเดียวว่าเป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้หรือไม่ การที่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์จึงเป็นการใช้สิทธินอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดและไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมยอมดำเนินคดีอาญาโดยไม่สุจริต ไม่ระงับสิทธิฟ้องของโจทก์
การสมยอมกันดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อให้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้อง ไม่มีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้รับประเมินต้องยื่นคำขอยกเว้นตามกฎหมายก่อน หากไม่ทำ ไม่มีสิทธิฟ้องขอคืนภาษีย้อนหลัง
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบเนื่องจากโรงเรือนที่โจทก์ต้องเสียภาษีมีตามจำนวนที่แจ้งไว้ในปีภาษี 2545 และปีภาษี 2546 เท่านั้น ส่วนโรงเรือนอื่นในพื้นที่ของโจทก์ไม่ได้ใช้งานและไม่ได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าและประกอบการอุตสาหกรรม จึงเป็นการฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยอ้างว่าโรงเรือนอื่นของโจทก์นอกจากที่แจ้งไว้ในปีภาษี 2545 และปีภาษี 2546 ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (5) ซึ่งเป็นบทบัญญัติในภาค 1 ของ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 อันเป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้รับประเมินที่จะต้องจัดทำคำขอยกเว้นภาษียื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้สอบสวนให้แน่นอนก่อนว่าทรัพย์สินที่พิพาทควรได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีคำสั่งยกคำขอยกเว้นภาษี โจทก์ก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 2 พิจารณาชี้ขาดและฟ้องคดีต่อศาลตามลำดับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 34 ประกอบมาตรา 25 และมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อให้พิจารณายกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนพิพาท และการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ในคดีนี้ก็เป็นการโต้แย้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มิใช่การยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 2 พิจารณาคำชี้ขาดของพนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 34 ประกอบมาตรา 25 และมาตรา 26 ที่สืบเนื่องมาจากการขอยกเว้นค่าภาษีตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อโต้แย้งว่าโรงเรือนที่พิพาทได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินในปีภาษีพิพาทได้อีกตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 33 และมาตรา 34 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 246 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษยาเสพติดและการริบของกลาง ศาลฎีกาตัดสินให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง จำคุก 2 ปี และปรับ 200,000 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ให้ลงโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง จำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แก้เฉพาะวรรคในมาตรา 66 และแก้โทษด้วยนั้น โดยความผิดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองของพระราชบัญญัติดังกล่าวมีอัตราโทษขั้นต่ำและขั้นสูงต่างกันมาก ซึ่งความผิดตามวรรคหนึ่งนั้น มีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำสี่ปี ขั้นสูงสิบห้าปี หรือปรับขั้นต่ำแปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท แต่วรรคสองมีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำสี่ปี ขั้นสูงจำคุกตลอดชีวิต และปรับขั้นต่ำสี่แสนบาท ขั้นสูงห้าล้านบาท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แก้วรรคและแก้โทษในกรณีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 นั้น เป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมีจำนวน 50 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1.10 กรัม จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง
โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวมาใช้ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนกับสายลับ โดยติดต่อนัดหมายเวลาและสถานที่ในการส่งมอบเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 จึงให้ริบ
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมีจำนวน 50 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1.10 กรัม จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง
โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวมาใช้ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนกับสายลับ โดยติดต่อนัดหมายเวลาและสถานที่ในการส่งมอบเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 จึงให้ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดร่วมกันในสัญญาจ้างว่าความของผู้เยาว์ โดยผู้แทนโดยชอบธรรม
แม้หนังสือสัญญาว่าจ้างระบุชื่อผู้ว่าจ้างคือ จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว แต่ในหนังสือสัญญาดังกล่าวข้อ 1 มีข้อตกลงระบุให้โจทก์ว่าความในคดีดังกล่าวที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 1 อีกทั้งใบแต่งทนายความก็ระบุว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้แทนโดยชอบธรรมแต่งตั้งโจทก์เป็นทนายความในคดีดังกล่าว นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นตัวความในคดีดังกล่าว การจ้างโจทก์ว่าความจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อย่างแท้จริง ข้อเท็จจริงย่อมฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาจ้างว่าความแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมและเจตนาสุจริต
คำให้การจำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่า ที่ดินพิพาทจะเป็นสินสมรสหรือไม่ ไม่ทราบและไม่รับรอง เป็นคำให้การที่ไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบในเรื่องนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องชัดเจนว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การจึงไม่อาจนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 แต่จำเลยที่ 1 เบิกความเป็นพยานโจทก์ได้
ตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง การจัดการสินสมรสที่ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสตามมาตรา 1476 คู่สมรสอีกฝ่ายจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมได้ เว้นแต่ในขณะทำนิติกรรมบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำว่า โดยสุจริต หมายความว่า บุคคลภายนอกได้กระทำนิติกรรมกับคู่สมรสฝ่ายหนึ่งโดยมิได้ล่วงรู้ว่าเป็นการทำนิติกรรมผูกพันสินสมรสที่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมซื้อที่ดินโดยรู้แล้วว่าเป็นสินสมรสและโจทก์มิได้ยินยอมให้ทำนิติกรรม จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทโดยมิได้สนใจไปดูที่ดินพิพาทและจ่ายเงินให้จำเลยที่ 2 ให้ไปไถ่ถอนที่ดินด้วยเงินจำนวนมากโดยมิได้มีหลักประกันใดว่าจะมีการดำเนินการตามข้อตกลง และชำระราคาที่ดินที่เหลือโดยไม่ปรากฏหลักฐาน ทำให้ไม่น่าเชื่อว่าการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นไปโดยสุจริต
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การจึงไม่อาจนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 แต่จำเลยที่ 1 เบิกความเป็นพยานโจทก์ได้
ตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง การจัดการสินสมรสที่ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสตามมาตรา 1476 คู่สมรสอีกฝ่ายจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมได้ เว้นแต่ในขณะทำนิติกรรมบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำว่า โดยสุจริต หมายความว่า บุคคลภายนอกได้กระทำนิติกรรมกับคู่สมรสฝ่ายหนึ่งโดยมิได้ล่วงรู้ว่าเป็นการทำนิติกรรมผูกพันสินสมรสที่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมซื้อที่ดินโดยรู้แล้วว่าเป็นสินสมรสและโจทก์มิได้ยินยอมให้ทำนิติกรรม จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทโดยมิได้สนใจไปดูที่ดินพิพาทและจ่ายเงินให้จำเลยที่ 2 ให้ไปไถ่ถอนที่ดินด้วยเงินจำนวนมากโดยมิได้มีหลักประกันใดว่าจะมีการดำเนินการตามข้อตกลง และชำระราคาที่ดินที่เหลือโดยไม่ปรากฏหลักฐาน ทำให้ไม่น่าเชื่อว่าการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นไปโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21413/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับชำระหนี้ทายาทของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองก่อนถึงกำหนดชำระหนี้หลัก
โจทก์กับบริษัท ด. ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดย ด. ผูกพันยอมรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันและตามสัญญาจำนองที่มีอยู่เดิม ต่อมา ด. ถึงแก่ความตาย ไม่ปรากฏว่าบริษัท ด. ตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จึงยังไม่มีสิทธิเรียกให้กองมรดกของ ด. และจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมของ ด. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและผู้จำนองประกันหนี้ของบริษัทดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 กรณียังไม่ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ในการฟ้องบังคับให้กองมรดกของ ด. รวมทั้งจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ด. ให้รับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19217/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิ ช.ค.บ. ผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญหลายประเภท ต้องรวมรายได้ทั้งหมดพิจารณา หากเกิน 5,100 บาท ไม่มีสิทธิได้รับ
พ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 มาตรา 4 นว, 4 ทศ มีเจตนารมณ์กำหนดให้ความช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญต่ำกว่าเดือนละ 5,100 บาท เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นสามารถดำรงชีพอยู่ได้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป กรณีผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญเกินกว่า 5,100 บาท หรือได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญหลายประเภทซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเกินกว่า 5,100 บาท เห็นได้ว่ามีรายได้ต่อเดือนสูงพอสมควรเพียงพอต่อการดำรงชีพแล้ว จึงไม่มีสาเหตุที่จะต้องได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) ช่วยเหลืออีก การพิจารณาเพื่อกำหนด ช.ค.บ. สำหรับผู้มีสิทธิได้รับบำนาญหลายประเภทจึงต้องรวมบำนาญหลายประเภทนั้นเข้าด้วยกัน จำเลยเป็นข้าราชการบำนาญได้รับบำนาญปกติและ ช.ค.บ. รวมกันเกิน 5,100 บาทอยู่แล้ว เมื่อรวมกับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดของผู้ตายก็ยิ่งเกิน 5,100 บาท มากขึ้นไปอีก จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มตามบทบัญญัติดังกล่าวอีก