พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลดหย่อนภาษีโรงเรือนกรณีติดตั้งเครื่องจักรในโรงงาน แม้ผู้ให้เช่าไม่ได้ประกอบกิจการเอง
ตามแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ประจำปี 2555 และปี 2556 มีการแสดงรายการทรัพย์สินที่มีเครื่องจักรอยู่ในแบบ ประกอบกับโจทก์ร้องขอให้พิจารณาใหม่ในประเด็นลดค่ารายปีตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 พร้อมแนบสัญญาเช่าที่ดินและอาคาร สัญญาซื้อขายเครื่องปรับอากาศ สัญญาซื้อขายอุปกรณ์ เครื่องปรับอากาศและติดตั้งอุปกรณ์ สัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบดับเพลิง ใบเสนอราคางานระบบไฟฟ้าและระบบเตือนภัย และงานติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงสูง โดยจำเลยที่ 2 ได้มีคำชี้ขาดในประเด็นการขอลดค่ารายปีแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามมาตรา 33 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
มาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อยฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น รวมทั้งส่วนควบดังกล่าวแล้วด้วย" บทบัญญัติของมาตรานี้มิได้กำหนดว่าต้องเป็นเจ้าของโรงเรือนประกอบกิจการอุตสาหกรรมเองจึงได้ลดค่ารายปีลง ดังนั้น กรณีโจทก์นำโรงเรือนให้บริษัท ฟ. เช่า ก็ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิไป
มาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อยฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น รวมทั้งส่วนควบดังกล่าวแล้วด้วย" บทบัญญัติของมาตรานี้มิได้กำหนดว่าต้องเป็นเจ้าของโรงเรือนประกอบกิจการอุตสาหกรรมเองจึงได้ลดค่ารายปีลง ดังนั้น กรณีโจทก์นำโรงเรือนให้บริษัท ฟ. เช่า ก็ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14978/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน กรณีเครื่องชั่งน้ำหนักเป็นส่วนควบหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 13 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อย ฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น รวมทั้งส่วนควบดังกล่าวแล้วด้วย" เครื่องชั่งน้ำหนักมีระบบคานชั่งติดตั้งอยู่ใต้พื้นดินด้านข้างของอาคารเครื่องชั่งทั้งสองด้าน โดยใต้คานชั่งน้ำหนักจะมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักซึ่งเป็นระบบกลไกเชื่อมโยงไปยังอาคารควบคุมเครื่องชั่ง เมื่อมีรถบรรทุกผ่านเครื่องชั่งคอมพิวเตอร์จะทำงานและส่งข้อมูลน้ำหนักรถและวัตถุที่บรรทุกไปยังอาคารควบคุมเครื่องชั่ง เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงเป็นเครื่องจักรกลไกที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารควบคุมเครื่องชั่ง แต่ถูกติดตั้งลงใต้พื้นดินด้านข้างอาคารดังกล่าว โดยมิได้ยึดติดอยู่กับตัวอาคาร เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงมิใช่ส่วนควบที่สำคัญที่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำ หรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งขึ้นในโรงเรือนตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475
สภาพของเครื่องชั่งน้ำหนักมีระบบคานชั่งติดตั้งอยู่ใต้พื้นและติดตรึงถาวรกับพื้นดิน มีแผ่นเหล็กขนาดใหญ่ปิดให้รถบรรทุกวิ่งขึ้นชั่งน้ำหนักจึงมีสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามมาตรา 6 (1) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีในทรัพย์สินรายการนี้ลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีจึงชอบแล้ว
สภาพของเครื่องชั่งน้ำหนักมีระบบคานชั่งติดตั้งอยู่ใต้พื้นและติดตรึงถาวรกับพื้นดิน มีแผ่นเหล็กขนาดใหญ่ปิดให้รถบรรทุกวิ่งขึ้นชั่งน้ำหนักจึงมีสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามมาตรา 6 (1) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีในทรัพย์สินรายการนี้ลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14977/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หม้อแปลงไฟฟ้าและเครื่องชั่งน้ำหนักถือเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษี
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 5 บัญญัตินิยามของคำว่า "โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ" ให้กินความถึงแพด้วยเท่านั้น มิได้กำหนดความหมายไว้โดยเฉพาะ หม้อแปลงไฟฟ้าพิพาทติดตั้งยึดติดอยู่บนคานปูนที่วางพาดระหว่างเสาไฟฟ้า เสาไฟฟ้าทั้งสองต้นหล่อด้วยปูนมีฐานติดตรึงถาวรอยู่กับพื้นดินจึงมีลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่ง แม้หม้อแปลงไฟฟ้าติดตั้งอยู่บนคานปูน ไม่ได้ยึดติดกับพื้นดิน และสามารถเคลื่อนย้ายออกไปจากเสาไฟฟ้าได้ แต่โดยสภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ซึ่งต้องใช้ประจำอยู่กับเสาไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ในการแปลงค่ากระแสไฟฟ้าจ่ายให้แก่โรงงาน ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ตามมาตรา 6 (1) การที่จำเลยกำหนดค่ารายปีในส่วนของหม้อแปลงไฟฟ้าโดยนำค่าเช่าที่โจทก์ได้รับมาเป็นเกณฑ์จึงเป็นไปตามมาตรา 8 วรรคสอง แล้ว
เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์เป็นระบบคานชั่งและระบบ LOAD CELL ติดตรึงถาวรลงใต้พื้นดิน มีโครงสร้างรองรับเป็นสิ่งปลูกสร้างโดยสภาพ จึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ตามมาตรา 6 (1) แต่เครื่องชั่งน้ำหนักเป็นเครื่องจักรกลไกที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก แต่ถูกติดตั้งลงใต้พื้นดินด้านข้างห้องเครื่องชั่ง และมิได้ยึดติดกับตัวห้องเครื่องชั่ง ดังนั้น จึงไม่เป็นส่วนควบที่สำคัญอันมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งในโรงเรือนตามมาตรา 13 คำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสาม จึงชอบแล้ว
เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์เป็นระบบคานชั่งและระบบ LOAD CELL ติดตรึงถาวรลงใต้พื้นดิน มีโครงสร้างรองรับเป็นสิ่งปลูกสร้างโดยสภาพ จึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ตามมาตรา 6 (1) แต่เครื่องชั่งน้ำหนักเป็นเครื่องจักรกลไกที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก แต่ถูกติดตั้งลงใต้พื้นดินด้านข้างห้องเครื่องชั่ง และมิได้ยึดติดกับตัวห้องเครื่องชั่ง ดังนั้น จึงไม่เป็นส่วนควบที่สำคัญอันมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งในโรงเรือนตามมาตรา 13 คำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสาม จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14977/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การประเมินภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าและเครื่องชั่งน้ำหนัก
มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 บัญญัติว่า "เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ท่านให้แบ่งทรัพย์สินออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ..." ซึ่งมาตรา 5 บัญญัตินิยามของคำว่า "โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ" ให้กินความถึงแพด้วยเท่านั้น มิได้กำหนดความหมายไว้โดยเฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ติดตั้งยึดติดอยู่บนคานปูนที่วางพาดระหว่างเสาไฟฟ้าแรงสูงสองต้น สูงจากพื้นประมาณ 8 เมตร เสาไฟฟ้าทั้งสองต้นหล่อด้วยปูนมีฐานติดตรึงถาวรอยู่กับพื้นดินซึ่งลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่ง แม้หม้อแปลงไฟฟ้าจะติดตั้งอยู่บนคานปูนมิได้ยึดติดกับพื้นดิน และสามารถเคลื่อนย้ายออกไปจากเสาไฟฟ้าได้ แต่โดยสภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ซึ่งต้องใช้เป็นประจำอยู่กับเสาไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ในการแปลงค่ากระแสไฟฟ้าจ่ายให้แก่โรงงานของโจทก์ ซึ่งในขณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษี ก็ประเมินค่ารายปีของหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งย่อมรวมถึงเสาไฟฟ้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันด้วย ทั้งโจทก์เองก็ได้ให้ผู้เช่าเช่าใช้ประโยชน์จากหม้อแปลงและอุปกรณ์ดังกล่าวในอุตสาหกรรมของผู้เช่าโดยโจทก์ได้รับค่าเช่าจากทรัพย์สินส่วนนี้ด้วย หม้อแปลงไฟฟ้าจึงเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งและยึดติดอยู่กับเสาไฟฟ้าซึ่งติดตรึงถาวรอยู่กับพื้นดินอันก่อให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ตามมาตรา 6 (1) หม้อแปลงไฟฟ้าจึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ที่พนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยกำหนดค่ารายปีในส่วนของหม้อแปลงไฟฟ้าโดยนำค่าเช่าที่โจทก์ได้รับมาเป็นเกณฑ์จึงเป็นไปตามมาตรา 8 วรรคสอง แล้ว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ตามมาตรา 13 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อย ฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น" ตามภาพถ่ายอาคารชั่งน้ำหนัก ประกอบกับแปลนแสดงอาคารพร้อมเครื่องจักร แสดงให้เห็นสภาพโครงสร้างของเครื่องชั่งน้ำหนักว่า มีเครื่องชั่งน้ำหนักระบบคานชั่ง และระบบ LOAD CELL ติดตั้งลงไปใต้พื้นดินด้านข้างของห้องเครื่องชั่งทั้งสองด้าน ใต้คานชั่งน้ำหนักจะมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักซึ่งเป็นเครื่องจักรกลและต่อเนื่องไปยังห้องเครื่องชั่ง ส่วนเครื่องจักรกลนั้นอยู่ใต้ดินและอยู่นอกอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก เมื่อมีรถบรรทุกผ่านเครื่องชั่งคอมพิวเตอร์จะทำงานและส่งข้อมูลน้ำหนักรถและวัตถุที่บรรทุกไปยังห้องเครื่องชั่งที่มีระบบบันทึกน้ำหนัก เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงเป็นเครื่องจักรกลไกที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก แต่ถูกติดตั้งลงใต้พื้นดินด้านข้างห้องเครื่องชั่ง และมิได้ยึดติดอยู่กับตัวห้องเครื่องชั่ง เครื่องชั่งน้ำหนักจึงไม่ใช่ส่วนควบของโรงเรือนที่เป็นห้องเครื่องชั่ง แต่สภาพของเครื่องชั่งน้ำหนักที่มีระบบคานชั่งและระบบ LOAD CELL ติดตั้งลงใต้พื้นดินและติดตรึงถาวรกับพื้นดินจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามมาตรา 6 (1) เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงไม่เป็นส่วนควบที่สำคัญที่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งขึ้นในโรงเรือนตามมาตรา 13 การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีในทรัพย์สินรายการนี้ลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีจึงชอบแล้ว และจำเลยไม่ต้องคืนเงินภาษีแก่โจทก์
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ตามมาตรา 13 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อย ฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น" ตามภาพถ่ายอาคารชั่งน้ำหนัก ประกอบกับแปลนแสดงอาคารพร้อมเครื่องจักร แสดงให้เห็นสภาพโครงสร้างของเครื่องชั่งน้ำหนักว่า มีเครื่องชั่งน้ำหนักระบบคานชั่ง และระบบ LOAD CELL ติดตั้งลงไปใต้พื้นดินด้านข้างของห้องเครื่องชั่งทั้งสองด้าน ใต้คานชั่งน้ำหนักจะมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักซึ่งเป็นเครื่องจักรกลและต่อเนื่องไปยังห้องเครื่องชั่ง ส่วนเครื่องจักรกลนั้นอยู่ใต้ดินและอยู่นอกอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก เมื่อมีรถบรรทุกผ่านเครื่องชั่งคอมพิวเตอร์จะทำงานและส่งข้อมูลน้ำหนักรถและวัตถุที่บรรทุกไปยังห้องเครื่องชั่งที่มีระบบบันทึกน้ำหนัก เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงเป็นเครื่องจักรกลไกที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก แต่ถูกติดตั้งลงใต้พื้นดินด้านข้างห้องเครื่องชั่ง และมิได้ยึดติดอยู่กับตัวห้องเครื่องชั่ง เครื่องชั่งน้ำหนักจึงไม่ใช่ส่วนควบของโรงเรือนที่เป็นห้องเครื่องชั่ง แต่สภาพของเครื่องชั่งน้ำหนักที่มีระบบคานชั่งและระบบ LOAD CELL ติดตั้งลงใต้พื้นดินและติดตรึงถาวรกับพื้นดินจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามมาตรา 6 (1) เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงไม่เป็นส่วนควบที่สำคัญที่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งขึ้นในโรงเรือนตามมาตรา 13 การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีในทรัพย์สินรายการนี้ลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีจึงชอบแล้ว และจำเลยไม่ต้องคืนเงินภาษีแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13255/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: เตาเผาไม่ใช่โรงเรือนที่ติดตั้งเครื่องจักรกลไกตามมาตรา 13
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 13 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อย ฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น รวมทั้งส่วนควบดังกล่าวแล้วด้วย" เมื่อเตาเผาทั้ง ๖ เตาพร้อมอุปกรณ์ของโจทก์มีลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่งที่มีฐานติดตรึงกับพื้นดิน และมีเครื่องจักรเป็นเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมติดตั้งอยู่ภายใน มิได้มีสภาพเป็นที่สำหรับเข้าอยู่อาศัยหรือเป็นที่ไว้สินค้าคล้ายกับโรงเรือนแต่อย่างใด ส่วนสิ่งปลูกสร้างด้านบนแม้จะมีลักษณะคล้ายโรงเรือนโดยด้านในมีเครนไฟฟ้าอยู่และใช้โครงสร้างของตัวเตาเผาต่อเติมขึ้นไป แต่ก็ไม่ได้มีลักษณะอย่างโรงเรือนทั่วไปที่ต้องมีโครงสร้างรองรับน้ำหนักสัมผัสพื้นดิน เตาเผาทั้ง ๖ เตา ของโจทก์ไม่อาจถือเป็นโรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบที่สำคัญอันมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินอุตสาหกรรม คงเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น และมาตรา 13 ใช้บัญญัติให้ลดค่ารายปีเฉพาะโรงเรือนที่ติดตั้งเครื่องจักรกลไกเท่านั้นมิได้หมายความรวมถึงสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นด้วย การที่จำเลยมีคำชี้ขาดไม่ลดค่ารายปีให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนที่มิชอบตามมูลค่าทรัพย์สินแทนหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย และการคืนเงินภาษีที่เรียกเก็บเกิน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังกล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(11)และคำว่าบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสำหรับการจะมีขึ้นได้ซึ่งนิติบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา65ให้มีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลส่วนอำเภอเมืองชลบุรีจำเลยที่1จึงเป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีมิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลโจทก์จึงไม่สามารถฟ้องจำเลยที่1ได้ ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ตัวแทนเชิดของนิติบุคคลเป็นนิติบุคคลตามนิติบุคคลตัวการไปด้วยดังนั้นแม้จำเลยที่1เป็นตัวแทนเชิดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ตามจำเลยที่1การหาใช่เป็นนิติบุคคลตามตัวการด้วยไม่ โจทก์บรรยายฟ้องไปตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดที่โจทก์ได้รับมายอดเงินภาษีโรงเรือนพิพาทที่โจทก์จะต้องชำระตามใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยที่2ก็ลดลงจากเดิม2,608,121บาทเหลือ1,593,190บาทส่วนค่ารายปีที่จำเลยที่2แจ้งมาจะมีจำนวน509,823,175บาทตามสำเนาใบแจ้งคำชี้ขาดเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1และการพิจารณาชี้ขาดของจำเลยที่2มิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา8วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475อีกทั้งไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่30มีนาคม2535ที่ว่ากรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์แต่ได้นำหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์ประเมินการกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1และคำชี้ขาดของจำเลยที่2จึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทกฎหมายดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชนในประเทศและมีหน่วยงานทางราชการหลายแห่งได้นำไปใช้ประมาณการในการจัดเก็บภาษีโดยนำไปประเมินรายได้ของรัฐบาลวิธีการหาข้อมูลเพื่อนำมาทำดัชนีราคาผู้บริโภคจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลมาคำนวณเพื่อทำดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นรายเดือนและรายปีและมีการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่คำนวณได้นั้นในปีปัจจุบันและปีที่แล้วมาโดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละด้วยดังนั้นการที่โจทก์นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ล่วงแล้วนั้นย่อมเป็นวิธีการที่ถือว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร จำเลยที่1เป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ศาลจึงไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยที่1คืนเงินภาษีโรงเรือนพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนั้นจำเลยที่2เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามกฎหมายไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2รับชำระภาษีไว้จำเลยที่2จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคืนภาษีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีรับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: นิติบุคคล-ส่วนราชการ, การประเมินค่ารายปีตามกฎหมาย, และความรับผิดของผู้เกี่ยวข้อง
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังกล่าวไว้ในป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลนั้นตาม ป.พ.พ.ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับการจะมีขึ้นได้ซึ่งนิติบุคคลนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 65 ให้มีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่ง ป.พ.พ.หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ส่วนอำเภอเมืองชลบุรีจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลโจทก์จึงไม่สามารถฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ตัวแทนเชิดของนิติบุคคลเป็นนิติบุคคลตามนิติบุคคลตัวการไปด้วย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ตาม จำเลยที่ 1 การหาใช่เป็นนิติบุคคลตามตัวการด้วยไม่
โจทก์บรรยายฟ้องไปตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดที่โจทก์ได้รับมา ยอดเงินภาษีโรงเรือนพิพาทที่โจทก์จะต้องชำระตามใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ก็ลดลงจากเดิม 2,608,121 บาท เหลือ 1,593,190 บาทส่วนค่ารายปีที่จำเลยที่ 2 แจ้งมาจะมีจำนวน 509,823,175 บาท ตามสำเนาใบแจ้งคำชี้ขาดเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่ เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และการพิจารณาชี้ขาดของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 อีกทั้งไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่ 30 มีนาคม 2535 ที่ว่า กรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ แต่ได้นำหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์ประเมิน การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทกฎหมายดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ
กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชนในประเทศและมีหน่วยงานทางราชการหลายแห่งได้นำไปใช้ประมาณการในการจัดเก็บภาษี โดยนำไปประเมินรายได้ของรัฐบาลวิธีการหาข้อมูลเพื่อนำมาทำดัชนีราคาผู้บริโภค จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลมาคำนวณเพื่อทำดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นรายเดือนและรายปี และมีการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่คำนวณได้นั้นในปีปัจจุบันและปีที่แล้วมา โดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละด้วย ดังนั้น การที่โจทก์นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ล่วงแล้วนั้นย่อมเป็นวิธีการที่ถือว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ศาลจึงไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีโรงเรือนพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนั้นจำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามกฎหมาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รับชำระภาษีไว้จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคืนภาษีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การ-บริหารส่วนจังหวัดชลบุรีรับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ตัวแทนเชิดของนิติบุคคลเป็นนิติบุคคลตามนิติบุคคลตัวการไปด้วย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ตาม จำเลยที่ 1 การหาใช่เป็นนิติบุคคลตามตัวการด้วยไม่
โจทก์บรรยายฟ้องไปตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดที่โจทก์ได้รับมา ยอดเงินภาษีโรงเรือนพิพาทที่โจทก์จะต้องชำระตามใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ก็ลดลงจากเดิม 2,608,121 บาท เหลือ 1,593,190 บาทส่วนค่ารายปีที่จำเลยที่ 2 แจ้งมาจะมีจำนวน 509,823,175 บาท ตามสำเนาใบแจ้งคำชี้ขาดเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่ เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และการพิจารณาชี้ขาดของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 อีกทั้งไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่ 30 มีนาคม 2535 ที่ว่า กรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ แต่ได้นำหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์ประเมิน การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทกฎหมายดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ
กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชนในประเทศและมีหน่วยงานทางราชการหลายแห่งได้นำไปใช้ประมาณการในการจัดเก็บภาษี โดยนำไปประเมินรายได้ของรัฐบาลวิธีการหาข้อมูลเพื่อนำมาทำดัชนีราคาผู้บริโภค จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลมาคำนวณเพื่อทำดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นรายเดือนและรายปี และมีการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่คำนวณได้นั้นในปีปัจจุบันและปีที่แล้วมา โดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละด้วย ดังนั้น การที่โจทก์นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ล่วงแล้วนั้นย่อมเป็นวิธีการที่ถือว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ศาลจึงไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีโรงเรือนพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนั้นจำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามกฎหมาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รับชำระภาษีไว้จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคืนภาษีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การ-บริหารส่วนจังหวัดชลบุรีรับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6337/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่ารายปีทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน การเทียบเคียงค่าเช่าและอัตราดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์และจำเลยว่าในเขตของหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีจำเลยที่1นั้นมีลักษณะของทรัพย์สินขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันกับทรัพย์สินของโจทก์มีการให้เช่ากันอันสามารถนำค่าเช่ามาเทียบเคียงในการประเมินค่ารายปีทรัพย์สินของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่30มีนาคม2535ได้พนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องประเมินค่ารายปีแห่งทรัพย์สินขึ้นเองให้เห็นได้ว่าเป็นจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา8วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475โดยหาฐานในการคำนวณจากมูลค่าของทรัพย์สินที่ให้เช่าด้วยเหตุผลที่ว่าการให้เช่าเป็นการหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังนั้นมูลค่าของทรัพย์สินที่ให้เช่าย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ให้เช่าต้องคำนึงถึงและนำมาใช้เป็นฐานของการคำนวณหาจำนวนเงินค่าเช่าได้กล่าวคือทรัพย์สินมีมูลค่าน้อยก็สมควรได้ค่าเช่าน้อยกว่าทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากและค่าเช่านั้นเกิดขึ้นตามระยะเวลาของการเช่าหรือระยะเวลาในการใช้ทรัพย์ที่เช่าใกล้เคียงกับประโยชน์ที่ผู้ฝากเงินได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารตามฐานของจำนวนเงินที่ฝากประกอบระยะเวลาที่ฝากดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจึงนำมาเทียบเคียงเพื่อใช้ในการคำนวณหาจำนวนค่าเช่าได้ด้วยโดยเหตุนี้การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีจำเลยที่2อาศัยมูลค่าทรัพย์สินคูณด้วยอัตราผลประโยชน์ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีที่เทียบเคียงมาจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารโดยที่ได้ลดมูลค่าของทรัพย์สินในส่วนที่เป็นเครื่องจักรลงให้ประมาณกึ่งหนึ่งและลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้นรวมทั้งส่วนควบดังกล่าวแล้วนั้นย่อมเป็นการประเมินค่ารายปีขึ้นโดยประมาณด้วยกฎเกณฑ์อันสมควรและมีเหตุผลโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าการชี้ขาดตามการประเมินดังกล่าวไม่ชอบหาได้นำสืบให้เห็นว่ามีกฎเกณฑ์ใดที่สมควรและมีเหตุผลสามารถนำมาเทียบเคียงในการคำนวณหาค่าเช่าอันสมควรสำหรับทรัพย์สินรายพิพาทของโจทก์ได้เหมาะสมไปกว่านี้ศาลจึงต้องฟังว่าค่ารายปีตามคำชี้ขาดของจำเลยที่2เป็นค่ารายปีที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4896/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนตามดัชนีราคาผู้บริโภค การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่และการพิจารณาหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม
โรงเรือนตามรายการที่ 9 มีเครื่องจักรเป็นเครื่องทดลองเครื่องซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องซ่อมเครื่องช่างไม้ และมีอุปกรณ์การซ่อมเครื่องไฟฟ้าตั้งอยู่ ดังนั้น โรงเรือนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นโรงเรือนธรรมดา แต่เป็นโรงเรือนที่ติดตั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้ในการทำหรือกำเนิดสินค้าถือได้ว่าเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ในการดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ มีสิทธิได้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตามความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 แล้ว บทบัญญัติดังกล่าวมิได้จำกัดไว้แต่เพียงว่าต้องเป็นเครื่องจักรที่ใช้กระทำหรือกำเนิดสินค้าเท่านั้นหากเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญเป็นเครื่องจักรหรือกลไก เพื่อใช้ในการดำเนินการอุตสาหกรรมแม้จะไม่ใช่เป็นเครื่องกระทำหรือกำเนิดสินค้าก็อยู่ในความหมายของบทบัญญัติดังกล่าว ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งกองระดับราคากรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้จัดทำขึ้นแบ่งออกเป็น 7 หมวด คือ หมวดอาหาร หมวดเครื่องนุ่งห่มหมวดเคหสถาน หมวดการตรวจรักษา หมวดยานพาหนะ หมวดการบันเทิง การอ่าน-และการศึกษา และหมวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในเรื่องการตรวจสอบระดับราคาผู้บริโภคตามหมวดต่าง ๆ ดังกล่าว รวมทั้งค่าเช่าเคหสถาน และได้บันทึกข้อมูลไว้เป็น หลักฐานเพื่อใช้อ้างอิง การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่า และ ค่ารายปีที่ปรากฏในดัชนีราคาผู้บริโภค หมวดเคหสถานจึงเป็น อัตราที่มีเหตุผล และที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 บัญญัติว่า "ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว นั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสีย ในปีต่อมา" นั้น มีความหมายเพียงว่า ให้นำค่ารายปีที่ ล่วงมาแล้วมาเป็นหลักหรือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีในปีต่อมา เท่านั้น มิใช่เป็นการบังคับให้ต้องนำมาเป็นหลักเสมอไป ในคดีนี้สำหรับโรงเรือนตามรายการในตารางที่ 2 และที่ 3 การประเมินค่ารายปีในปี 2529 โจทก์ยอมรับและไม่ได้โต้แย้ง นั้น โจทก์ได้นำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีของปี 2530 แล้ว ส่วนโรงเรือนอื่นนอกจากนี้การประเมินค่ารายปีในปี 2529 โจทก์จำเลยยังโต้แย้งอยู่ไม่ยุติ จึงไม่อาจที่จะนำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักการในการคำนวณภาษีของปี 2530 ได้ ดังนั้น การที่โจทก์นำค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์ในปี 2522 และในปี 2527 สำหรับโรงเรือนที่เหลือซึ่งโจทก์จำเลยไม่ได้โต้แย้งและยุติแล้วตามลำดับมาเป็นหลักในการคำนวณตามดัชนีราคาผู้บริโภคดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 18 ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นหลักเกณฑ์ที่จำเลยที่ 1 นำมาคำนวณค่ารายปียังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังได้ว่าเป็นการเหมาะสมถูกต้องและเมื่อไม่มีหลักเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมพอจะใช้เป็นหลักในการคำนวณได้ การที่โจทก์นำดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณในคดีนี้ ย่อมเป็นวิธีที่ถือได้ว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร การกำหนดค่ารายปีและการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ประจำปี 2530ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4896/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่ารายปีภาษีโรงเรือนสำหรับโรงเรือนติดตั้งเครื่องจักร และการใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคคำนวณค่ารายปี
โรงเรือนตามรายการที่ 9 มีเครื่องจักรเป็นเครื่องทดลองเครื่องซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องซ่อมเครื่องช่างไม้ และมีอุปกรณ์การซ่อมเครื่องไฟฟ้าตั้งอยู่ ดังนั้น โรงเรือนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นโรงเรือนธรรมดา แต่เป็นโรงเรือนที่ติดตั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้ในการทำหรือกำเนิดสินค้า ถือได้ว่าเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ในการดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ มีสิทธิได้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตามความในมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แล้ว บทบัญญัติดังกล่าวมิได้จำกัดไว้แต่เพียงว่าต้องเป็นเครื่องจักรที่ใช้กระทำหรือกำเนิดสินค้าเท่านั้น หากเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญเป็นเครื่องจักรหรือกลไก เพื่อใช้ในการดำเนินการอุตสาหกรรมแม้จะไม่ใช่เป็นเครื่องกระทำหรือกำเนิดสินค้าก็อยู่ในความหมายของบทบัญญัติดังกล่าว
ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งกองระดับราคา กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้จัดทำขึ้นแบ่งออกเป็น 7 หมวด คือ หมวดอาหาร หมวดเครื่องนุ่งห่ม หมวดเคหสถาน หมวดการตรวจรักษา หมวดยานพาหนะ หมวดการบันเทิง-การอ่าน-และการศึกษา และหมวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในเรื่องการตรวจสอบระดับราคาผู้บริโภคตามหมวดต่าง ๆ ดังกล่าว รวมทั้งค่าเช่าเคหสถาน และได้บันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้อ้างอิง การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่า และค่ารายปีที่ปรากฎในดัชนีราคาผู้บริโภค หมวดเคหสถานจึงเป็นอัตราที่มีเหตุผล และที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 บัญญัติว่า "ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา" นั้น มีความหมายเพียงว่า ให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นหลักหรือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีในปีต่อมาเท่านั้น มิใช่เป็นการบังคับให้ต้องนำมาเป็นหลักเสมอไป ในคดีนี้สำหรับโรงเรือนตามรายการในตารางที่ 2 และที่ 3 การประเมินค่ารายปีในปี 2529โจทก์ยอมรับและไม่ได้โต้แย้งนั้น โจทก์ได้นำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีของปี 2530 แล้ว ส่วนโรงเรือนอื่นนอกจากนี้ การประเมินค่ารายปีในปี 2529 โจทก์จำเลยยังโต้แย้งกันอยู่ไม่ยุติ จึงไม่อาจที่จะนำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักในการคำนวณภาษีของปี 2530 ได้ ดังนั้น การที่โจทก์นำค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์ในปี 2522 และในปี 2527 สำหรับโรงเรือนที่เหลือซึ่งโจทก์จำเลยไม่ได้โต้แย้งและยุติแล้วตามลำดับมาเป็นหลักในการคำนวณตามดัชนีราคาผู้บริโภคดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 18 ดังกล่าวข้างต้นดังนั้นหลักเกณฑ์ที่จำเลยที่ 1 นำมาคำนวณค่ารายปียังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังได้ว่าเป็นการเหมาะสมถูกต้อง และเมื่อไม่มีหลักเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมพอจะใช้เป็นหลักในการคำนวณได้ การที่โจทก์นำดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณในคดีนี้ ย่อมเป็นวิธีที่ถือได้ว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร การกำหนดค่ารายปีและการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ประจำปี 2530 ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ
ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งกองระดับราคา กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้จัดทำขึ้นแบ่งออกเป็น 7 หมวด คือ หมวดอาหาร หมวดเครื่องนุ่งห่ม หมวดเคหสถาน หมวดการตรวจรักษา หมวดยานพาหนะ หมวดการบันเทิง-การอ่าน-และการศึกษา และหมวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในเรื่องการตรวจสอบระดับราคาผู้บริโภคตามหมวดต่าง ๆ ดังกล่าว รวมทั้งค่าเช่าเคหสถาน และได้บันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้อ้างอิง การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่า และค่ารายปีที่ปรากฎในดัชนีราคาผู้บริโภค หมวดเคหสถานจึงเป็นอัตราที่มีเหตุผล และที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 บัญญัติว่า "ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา" นั้น มีความหมายเพียงว่า ให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นหลักหรือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีในปีต่อมาเท่านั้น มิใช่เป็นการบังคับให้ต้องนำมาเป็นหลักเสมอไป ในคดีนี้สำหรับโรงเรือนตามรายการในตารางที่ 2 และที่ 3 การประเมินค่ารายปีในปี 2529โจทก์ยอมรับและไม่ได้โต้แย้งนั้น โจทก์ได้นำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีของปี 2530 แล้ว ส่วนโรงเรือนอื่นนอกจากนี้ การประเมินค่ารายปีในปี 2529 โจทก์จำเลยยังโต้แย้งกันอยู่ไม่ยุติ จึงไม่อาจที่จะนำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักในการคำนวณภาษีของปี 2530 ได้ ดังนั้น การที่โจทก์นำค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์ในปี 2522 และในปี 2527 สำหรับโรงเรือนที่เหลือซึ่งโจทก์จำเลยไม่ได้โต้แย้งและยุติแล้วตามลำดับมาเป็นหลักในการคำนวณตามดัชนีราคาผู้บริโภคดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 18 ดังกล่าวข้างต้นดังนั้นหลักเกณฑ์ที่จำเลยที่ 1 นำมาคำนวณค่ารายปียังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังได้ว่าเป็นการเหมาะสมถูกต้อง และเมื่อไม่มีหลักเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมพอจะใช้เป็นหลักในการคำนวณได้ การที่โจทก์นำดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณในคดีนี้ ย่อมเป็นวิธีที่ถือได้ว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร การกำหนดค่ารายปีและการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ประจำปี 2530 ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ