พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางาน แม้มีการเรียกเงินจากผู้หางาน ศาลยกฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางาน
การจะเป็นผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหารงานก่อน จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาไม่เคยได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศและไม่ได้จดทะเบียนเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนจัดหางานของบริษัทจัดหางานแต่อย่างใด ดังนั้น การกระทำของจำเลยนอกจากจะไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" แล้ว ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอย่างจริงจัง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ฟ้องข้อ 1 ข. กล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 เวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกันและฟ้องข้อ 1 ค. หาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามโจทก์ฟ้อง การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. จึงมีวันกระทำความผิดต่างกันอย่างน้อย 1 วัน และความผิดดังกล่าวนี้มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ฟ้องข้อ 1 ข. กล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 เวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกันและฟ้องข้อ 1 ค. หาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามโจทก์ฟ้อง การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. จึงมีวันกระทำความผิดต่างกันอย่างน้อย 1 วัน และความผิดดังกล่าวนี้มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานสำคัญกว่าฐานความผิด การถอนฟ้องฉ้อโกงกระทบสิทธิบังคับคดีแพ่ง
การจะเป็นผู้กระทำความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาจัดหางานตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง แม้คำฟ้องของโจทก์ตอนแรกบรรยายว่าจำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานไปทำงานรับจ้างทำถนนที่ไต้หวันโดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาต แต่คำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่าจำเลยกับพวกสามารถหางานรับจ้างทำถนนในใต้หวัน และสามารถจัดให้ผู้เสียหายทำงานรับจ้างทำถนนในไต้หวันได้โดยถูกต้องตามกฎหมายและจะได้รับค่าจ้างอันเป็นความเท็จทั้งสิ้น เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ ถือได้ว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์โดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อสวนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) สำหรับคำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยใช้เงินแก่ผู้เสียหายนั้น เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงระงับไปแล้ว ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ดังกล่าวตกไปด้วย ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ อีกทั้ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด จึงยกคำขอในส่วนคดีแพ่งของโจทก์ด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเช่นเดียวกัน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ ถือได้ว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์โดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อสวนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) สำหรับคำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยใช้เงินแก่ผู้เสียหายนั้น เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงระงับไปแล้ว ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ดังกล่าวตกไปด้วย ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ อีกทั้ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด จึงยกคำขอในส่วนคดีแพ่งของโจทก์ด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเช่นเดียวกัน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานสำคัญกว่า หากไม่มี ถือเป็นการหลอกลวง ไม่ใช่ความผิดฐานจัดหางาน
การจะเป็นผู้กระทำความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาจัดหางานตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ การที่คำฟ้องของโจทก์กล่าวว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสองด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยบอกกล่าวและให้ถ้อยคำรับรองแก่ผู้เสียหายทั้งสองว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งคนหางานจะต้องเสียค่าบริการให้แก่จำเลยกับพวกอันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่เคยได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางให้ดำเนินการดังกล่าวได้ อีกทั้งไม่สามารถส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศตามที่กล่าวอ้างได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งสอง คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานผิดกฎหมาย: จำเลยไม่ได้ประกอบธุรกิจจัดหางานจริง แม้ชักชวนไปทำงานต่างประเทศ
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อ ไปทำงานในต่างประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน จัดหางานกลาง และมาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า จัดหางาน หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหา ลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทน หรือไม่ก็ตาม ฉะนั้นการจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวได้ผู้นั้นต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานเสียก่อน นอกจากไม่ปรากฏว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คน หางาน หรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างแล้วจำเลยก็ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหา ลูกจ้างอย่างจริงจัง แต่จำเลยกับพวกอ้างการจัดหางานเพื่อ เป็นเหตุหลอกลวง จ. ให้ไปรับจ้างขายบริการทางเพศโดยหวังจะได้ประโยชน์ตามสัญญากู้เงิน ดังนั้น เมื่อ พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ที่ใช้อยู่ในขณะ ที่จำเลยกระทำการดังกล่าวข้างต้นมิได้บัญญัติไว้ว่าเรื่องนี้เป็นความผิด และกรณีแตกต่างจากพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 มาตรา 34ที่ให้เพิ่มมาตรา 91 ตรี ซึ่งบัญญัติเอาผิดแก่ผู้ที่หลอกลวง ผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากผู้ถูกหลอกลวงต้องระวางโทษ แต่พระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30 มิถุนายน 2537) ด้วยเหตุนี้การกระทำของจำเลยแม้จะได้พูดจาชักชวน ส.หรือ จ.ให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น หรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานผิดกฎหมาย: จำเลยไม่ได้ประกอบธุรกิจจัดหางานจริง และการกระทำไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานในขณะนั้น
พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง และมาตรา 4 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า จัดหางาน หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ฉะนั้นการจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ผู้นั้นต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานเสียก่อน
นอกจากไม่ปรากฏว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน หรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างแล้ว จำเลยก็ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอย่างจริงจัง แต่จำเลยกับพวกอ้างการจัดหางานเพื่อเป็นเหตุหลอกลวง จ.ให้ไปรับจ้างขายบริการทางเพศโดยหวังจะได้ประโยชน์ตามสัญญากู้เงิน ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าวข้างต้นมิได้บัญญัติไว้ว่าเรื่องนี้เป็นความผิด และกรณีแตกต่างจาก พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 มาตรา 34 ที่ให้เพิ่มมาตรา 91 ตรี ซึ่งบัญญัติเอาผิดแก่ผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษ แต่ พ.ร.บ.(ฉบับที่ 2) ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 มิถุนายน2537) ด้วยเหตุนี้การกระทำของจำเลยแม้จะได้พูดจาชักชวน ส.หรือ จ.ให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงย่อมไม่เป็นความผิด
นอกจากไม่ปรากฏว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน หรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างแล้ว จำเลยก็ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอย่างจริงจัง แต่จำเลยกับพวกอ้างการจัดหางานเพื่อเป็นเหตุหลอกลวง จ.ให้ไปรับจ้างขายบริการทางเพศโดยหวังจะได้ประโยชน์ตามสัญญากู้เงิน ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าวข้างต้นมิได้บัญญัติไว้ว่าเรื่องนี้เป็นความผิด และกรณีแตกต่างจาก พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 มาตรา 34 ที่ให้เพิ่มมาตรา 91 ตรี ซึ่งบัญญัติเอาผิดแก่ผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษ แต่ พ.ร.บ.(ฉบับที่ 2) ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 มิถุนายน2537) ด้วยเหตุนี้การกระทำของจำเลยแม้จะได้พูดจาชักชวน ส.หรือ จ.ให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงย่อมไม่เป็นความผิด