คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ม. 58

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเภท 'ยาเสพติด' ที่ใช้บังคับตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ต้องมีประกาศอธิบดีกรมตำรวจชัดเจน
ในขณะเกิดเหตุ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ตามบทบัญญัติดังกล่าว ผู้ที่กระทำความผิดข้อหานี้ได้นั้น นอกจากต้องเป็นผู้ขับขี่ที่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษแล้ว ยาเสพติดให้โทษที่ผู้ขับขี่เสพนั้นต้องเป็นไปตามที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา อันเป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบแห่งความผิดดังกล่าวด้วย เมื่ออธิบดีกรมตำรวจออกข้อกฎกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่องกำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและประเภทของรถที่ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจสอบผู้ขับขี่ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 เท่านั้น โดยขณะกระทำผิด อธิบดีกรมตำรวจไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพมอร์ฟีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8862/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 43 ทวิ: การเสพยาเสพติดให้โทษและความครอบคลุมของข้อกำหนดอธิบดี
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุบัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ คำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงครอบคลุมถึงเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย มิใช่ครอบคลุมเฉพาะกรณีวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทดังที่โจทก์ฎีกาเท่านั้น เมื่ออธิบดีกรมตำรวจออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน ตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและประเภทของรถที่ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจสอบผู้ขับขี่ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 โดยยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพโคเคอีนและมอร์ฟีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15049/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีอธิบดียังมิได้กำหนดประเภทยาเสพติด
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ คำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาจึงครอบคลุมถึงเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่าตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย เมื่ออธิบดีกรมตำรวจยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6965/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเสพยาเสพติดหลายชนิด แม้เสพในวันเดียวกัน หากมีเจตนาแยกต่างหาก ถือเป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องแยกความผิดฐานเสพฝิ่นและฐานเสพเมทแอมเฟตามีนไว้ต่างหากจากกัน ฟ้องโจทก์จึงประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาในแต่ละข้อ และความผิดดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายคนละมาตรา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องย่อมหมายความว่า จำเลยรับว่าได้กระทำความผิดฐานเสพฝิ่นและฐานเสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง แม้ความผิดดังกล่าวจะมีบทลงโทษในมาตราเดียวกันและจำเลยเสพฝิ่นและเสพเมทแอมเฟตามีนในวันเวลาเดียวกัน ก็ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อคดีเก่า: การยกเลิก พ.ร.บ.ฝิ่น และการนับโทษที่ล่าช้า
ขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น พระราชบัญญัติฝิ่นยังใช้บังคับอยู่ แต่ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติฝิ่น เสียทั้งหมด แล้วกำหนดให้ฝิ่นและมูลฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 และการมีฝิ่นไว้ในความครอบครองกับการเสพฝิ่นยังเป็นความผิดอยู่ แต่ไม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดจึงต้องใช้พระราชบัญญัติฝิ่นที่ใช้ในขณะ กระทำความผิดบังคับแก่คดี สำหรับการมีกล้องสูบฝิ่นไม่ปรากฏว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่2)พ.ศ. 2528 บัญญัติว่า เป็นความผิดการกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิด จึงไม่เป็นความผิด อีกต่อไป จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
คำขอให้นับโทษจำเลยต่อจากอีกคดีหนึ่งนั้น โจทก์ต้องขอมาในฟ้อง หรือขอก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา163 การที่โจทก์ เพิ่งมายื่นคำร้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นเมื่อศาลชั้นต้น พิพากษาคดีแล้ว และโจทก์อุทธรณ์คดีอยู่ระหว่างศาลชั้นต้นจะส่ง สำนวนไปศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงขอไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อคดีเก่า: การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากฝิ่นเป็นยาเสพติด และข้อจำกัดในการขอให้นับโทษ
ขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น พระราชบัญญัติฝิ่นยังใช้บังคับอยู่แต่ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติฝิ่น เสียทั้งหมด แล้วกำหนดให้ฝิ่นและมูลฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 และการมีฝิ่นไว้ในความครอบครองกับการเสพฝิ่นยังเป็นความผิดอยู่ แต่ไม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จึงต้องใช้พระราชบัญญัติฝิ่นที่ใช้ในขณะ กระทำความผิดบังคับแก่คดี สำหรับการมีกล้องสูบฝิ่นไม่ปรากฏว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2528 บัญญัติว่า เป็นความผิดการกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิด จึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
คำขอให้นับโทษจำเลยต่อจากอีกคดีหนึ่งนั้น โจทก์ต้องขอมาในฟ้อง หรือขอก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา63 การที่โจทก์ เพิ่งมายื่นคำร้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นเมื่อศาลชั้นต้น พิพากษาคดีแล้ว และโจทก์อุทธรณ์คดีอยู่ระหว่างศาลชั้นต้นจะส่ง สำนวนไปศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงขอไม่ได้