คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ม. 12

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหน่วยงานรัฐเรียกค่าสินไหมจากเจ้าหน้าที่ละเมิด และการกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องบังคับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฐานกระทำละเมิด โดยโจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออ้างว่าจำเลยมีหน้าที่จัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ในการดำเนินคดี รวบรวมพยานหลักฐาน เร่งรัด ติดตามเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และมีหน้าที่ประสานกับพนักงานอัยการในการส่งเอกสารเพิ่มเติมแล้วนำพยานที่เกี่ยวข้องไปสอบข้อเท็จจริงและรับรองเอกสาร จำเลยกลับปล่อยปละละเลยโดยไม่รับดำเนินการจัดหา เร่งรัด และติดตามเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ส่งไปให้พนักงานรับการดำเนินคดีแก่ผู้รับประเมิน จนเป็นเหตุให้คดีขาดอายุความทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวพอแปลได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแล้ว
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิหน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ จึงมิใช่บทบังคับโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องละเมิดของเจ้าหน้าที่ & ความรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน: ศาลฎีกาวินิจฉัยอำนาจฟ้องมี & กำหนดชดใช้ตามคณะกรรมการ
เทศบาลโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเลินเล่อ โดยจำเลยเป็นนิติกร 4 ย่อมรู้ดีว่าถ้ามิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นอันขาดอายุความ เมื่อจำเลยมีหน้าที่จัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ และประสานกับพนักงานอัยการในการส่งเอกสารเพิ่มเติมแล้วนำพยานที่เกี่ยวข้องไปสอบข้อเท็จจริงและรับรองเอกสาร จำเลยกลับปล่อยปละละเลยโดยไม่รีบดำเนินการจัดหา เร่งรัด และติดตามเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ไปส่งให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแก่ผู้รับประเมินซึ่งค้างชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี รวมค่าภาษีและเงินเพิ่มเป็นเงิน 429,000 บาท จนเป็นเหตุให้คดีขาดอายุความ ตามพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวพอแปลความได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ไปด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแล้ว ทั้ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เป็นเพียงบทบัญญัติให้สิทธิหน่วยงานของรัฐเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ มิใช่บทบังคับโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้องจำเลย ดังนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหน่วยงานของรัฐเรียกค่าสินไหมจากเจ้าหน้าที่ละเมิด และการกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องบังคับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฐานกระทำละเมิด โดยโจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ อ้างว่าจำเลยมีหน้าที่จัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ในการดำเนินคดี รวบรวมพยานหลักฐานเร่งรัด ติดตามเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานต่างๆ และมีหน้าที่ประสานกับพนักงานอัยการในการส่งเอกสารเพิ่มเติมแล้วนำพยานที่เกี่ยวข้องไปสอบข้อเท็จจริงและรับรองเอกสาร จำเลยกลับปล่อยปละละเลยโดยไม่รับดำเนินการจัดหา เร่งรัดและติดตามเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ส่งไปให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแก่ผู้ประเมิน จนเป็นเหตุให้คดีขาดอายุความทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวพอแปลได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแล้ว
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิหน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ จึงมิใช่บทบังคับโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้าง, การประมาท, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากความเสียหายที่ลูกจ้างกระทำ
โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การขับรถยนต์ ของโจทก์เป็นการขับรถโดยประมาทนั้น โจทก์เห็นว่ายังไม่ เข้าองค์ประกอบของหลักกฎหมายที่ถือเป็นความผิดฐานกระทำ โดยประมาท คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์ทราบว่าเสียงที่โจทก์ได้ยินเป็นเสียงดังมาจากเครื่องยนต์การที่เครื่องยนต์มีเสียงดังผิดปกติในระหว่างที่โจทก์ทำหน้าที่ พนักงานขับรถ แต่โจทก์มิได้หยุดรถเพื่อตรวจดู กลับขับรถต่อไป จนเป็นเหตุให้เครื่องยนต์ดับและได้รับความเสียหายมากเช่นนี้ ถือว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์เข้าใจว่าเสียงดังนั้นเป็นเสียงของตู้คอนเทนเนอร์ มิใช่เสียงที่ดังมาจากเครื่องยนต์ และอุทธรณ์ต่อไปว่า คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของจำเลยมิได้โดยสารไปกับรถด้วย จึงมิอาจวินิจฉัยว่าเสียงที่ว่าโจทก์ได้ยินดังกล่าวเป็นเสียงดัง มาจากเครื่องยนต์ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟัง พยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายที่ว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ค่าเสียหายที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็น ลูกจ้างชำระแก่จำเลยภายในระยะที่กำหนดเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์ ไม่ชำระหนี้แก่จำเลยภายในเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์ผิดนัด จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ในระหว่างเวลาผิดนัดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 แม้หนี้ที่เกิดขึ้นของโจทก์ในคดีนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแต่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 12 ได้บัญญัติในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 8 หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 โดยให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวในเวลาที่กำหนด และมาตรา 13 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8และมาตรา 10 สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึงรายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบและพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วยเท่านั้น พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวหาได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ ดังนั้น จึงนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเรื่องหนี้มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์นี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยจากหนี้ค่าเสียหาย
โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การขับรถยนต์ของโจทก์เป็นการขับรถโดยประมาทนั้น โจทก์เห็นว่ายังไม่เข้าองค์ประกอบของหลักกฎหมายที่ถือเป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาท คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์ทราบว่าเสียงที่โจทก์ได้ยินเป็นเสียงดังมาจากเครื่องยนต์ การที่เครื่องยนต์มีเสียงดังผิดปกติในระหว่างที่โจทก์ทำหน้าที่พนักงานขับรถ แต่โจทก์มิได้หยุดรถเพื่อตรวจดู กลับขับรถต่อไปจนเป็นเหตุให้เครื่องยนต์ดับและได้รับความเสียหายมากเช่นนี้ ถือว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์เข้าใจว่าเสียงดังนั้นเป็นเสียงของตู้คอนเทนเนอร์ มิใช่เสียงที่ดังมาจากเครื่องยนต์ และอุทธรณ์ต่อไปว่า คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของจำเลยมิได้โดยสารไปกับรถด้วย จึงมิอาจวินิจฉัยว่าเสียงที่ว่าโจทก์ได้ยินดังกล่าวเป็นเสียงดังมาจากเครื่องยนต์ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายที่ว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ค่าเสียหายที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างชำระแก่จำเลยภายในระยะที่กำหนดเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้แก่จำเลยภายในเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์ผิดนัด จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในระหว่างเวลาผิดนัดได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
แม้หนี้ที่เกิดขึ้นของโจทก์ในคดีนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 12 ได้บัญญัติในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 8หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 โดยให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวในเวลาที่กำหนด และมาตรา 13 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8 และมาตรา 10 สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึงรายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบ และพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วยเท่านั้น พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวหาได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ ดังนั้น จึงนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยเรื่องหนี้มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์นี้ได้