คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 297 (8)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย: ลงโทษตามข้อเท็จจริง แม้ฟ้องขอโทษฐานร้ายแรงกว่า
ข้อเท็จจริงปรากฏในการพิจารณาว่า จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297(8) ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับฟ้องย่อมลงโทษจำเลยตาม มาตรา 295 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวและการประเมินอันตรายสาหัส: ศาลมีอำนาจกำหนดโทษและรอการลงโทษได้
วันเกิดเหตุผู้เสียหายไปที่บ้านจำเลยเพื่อปรับความเข้าใจกับจำเลยเรื่องที่ผู้เสียหายถูกหาว่าเป็นชู้กับภรรยาจำเลย ประมาณ10 นาทีก็กลับไป วันเดียวกันผู้เสียหายเมาสุรากลับมาที่บ้านจำเลยเคาะประตูเรียกภรรยาจำเลยอ้างว่าลืมหมูไว้ จำเลยเปิดประตูออกมาบอกว่าหมูไม่มีและไม่ยอมให้ผู้เสียหายเข้าไปในบ้านผู้เสียหายได้ชกเตะต่อยจำเลยแล้วเกิดต่อสู้กัน ผู้เสียหายใช้ขวดสุราตีและถีบจำเลยล้มลง จำเลยวิ่งเข้าไปเอามีดในครัวมาแทงผู้เสียหายเห็นได้ว่าขณะที่จำเลยใช้มีดแทง ผู้เสียหายมิได้ก่อภัยอันใดขึ้นที่จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันการที่จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายจึงไม่เป็นการป้องกันตัว โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้อง เท่ากับอุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษและคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้รอการลงโทษไปในตัว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษตามที่เห็นสมควรได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษให้จำเลยจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ประกอบด้วยมาตรา 215 กรณีจะเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)หรือไม่ต้องพิจารณาจากผลของการทำร้ายว่าเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันหรือไม่มิใช่ต้องพิจารณาเฉพาะจากบาดแผลที่ปรากฏให้เห็นชัด เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเจ็บที่ท้องจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ผู้เสียหายย่อมได้รับอันตรายสาหัสแล้ว คดีที่ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าตามพฤติการณ์มีเหตุสมควรรอการลงโทษ ศาลฎีกาก็พิพากษาให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวต้องสมเหตุสมผล ผู้ถูกทำร้ายมิได้ก่อภัย การใช้มีดแทงจึงไม่เป็นการป้องกันตนเอง
วันเกิดเหตุผู้เสียหายไปที่บ้านจำเลยเพื่อปรับความเข้าใจกับจำเลยเรื่องที่ผู้เสียหายถูกหาว่าเป็นชู้กับภรรยาจำเลย ประมาณ10 นาทีก็กลับไป วันเดียวกันผู้เสียหายเมาสุรากลับมาที่บ้านจำเลยเคาะประตูเรียกภรรยาจำเลยอ้างว่าลืมหมูไว้ จำเลยเปิดประตูออกมาบอกว่าหมูไม่มีและไม่ยอมให้ผู้เสียหายเข้าไปในบ้านผู้เสียหายได้ชกเตะต่อยจำเลยแล้วเกิดต่อสู้กัน ผู้เสียหายใช้ขวดสุราตีและถีบจำเลยล้มลง จำเลยวิ่งเข้าไปเอามีดในครัวมาแทงผู้เสียหายเห็นได้ว่าขณะที่จำเลยใช้มีดแทง ผู้เสียหายมิได้ก่อภัยอันใดขึ้นที่จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันการที่จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายจึงไม่เป็นการป้องกันตัว
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้อง เท่ากับอุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษและคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้รอการลงโทษไปในตัว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษตามที่เห็นสมควรได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษให้จำเลยจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ประกอบด้วยมาตรา 215
กรณีจะเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)หรือไม่ต้องพิจารณาจากผลของการทำร้ายว่าเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันหรือไม่มิใช่ต้องพิจารณาเฉพาะจากบาดแผลที่ปรากฏให้เห็นชัด เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเจ็บที่ท้องจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ผู้เสียหายย่อมได้รับอันตรายสาหัสแล้ว
คดีที่ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าตามพฤติการณ์มีเหตุสมควรรอการลงโทษ ศาลฎีกาก็พิพากษาให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกาย การป้องกันตัว การพิจารณาอันตรายสาหัส และการรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ปรับ 1,000 บาทโทษจำคุกรอไว้ 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำคุก1 ปี จำเลยฎีกาว่าคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหาย เป็นปัญหาข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้าม ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517 มาตรา 6 วันเกิดเหตุเวลา 11 นาฬิกา ผู้เสียหายไปที่บ้านจำเลยเพื่อ ปรับความเข้าใจกับจำเลยถึง เรื่องที่ผู้เสียหายถูก หาว่าเป็นชู้ กับภริยาจำเลยระหว่างที่จำเลยไปทำงานต่างประเทศประมาณ 10 นาที ก็กลับไป เวลา 15 นาฬิกา วันเดียวกันผู้เสียหายเมาสุรากลับมา ที่บ้านจำเลยเคาะประตูเรียกภรรยาจำเลยอ้างว่า ลืมหมูไว้ จำเลย เปิดประตูออกมาบอกว่าหมูไม่มีและไม่ยอมให้ผู้เสียหายเข้าไปในบ้าน ผู้เสียหายจึงได้ ชกเตะ ต่อย จำเลยแล้วเกิดการต่อสู้ กัน ผู้เสียหาย ใช้ ขวดสุราตี และถีบ จำเลยล้มลง จำเลยวิ่งเข้าไปเอามีดในครัว มาแทงผู้เสียหาย ดังนี้ ขณะที่จำเลยใช้ มีดแทงไม่ปรากฏว่าผู้เสียหาย ได้ ก่อภัยอันใด ขึ้นที่จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตัว การที่จำเลย ใช้มีดแทงผู้เสียหายจึงไม่เป็นการป้องกันโดย ชอบด้วย กฎหมาย การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลยฐาน ทำร้าย ร่างกายและรอการลงโทษไว้เป็นลงโทษจำเลย ฐาน พยายาม ฆ่า ผู้อื่นตาม ที่โจทก์ฟ้อง เท่ากับเป็นการอุทธรณ์ขอให้ เพิ่มโทษและคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้รอการลงโทษไปในตัว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะใช้ ดุลพินิจ กำหนดโทษตาม ที่เห็นสมควรได้การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษ จึงหาได้ ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ.มาตรา 192 ประกอบด้วย มาตรา 215 ไม่ การจะเป็นอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297(8) หรือไม่ต้อง พิจารณาจากผลของการทำร้ายว่าเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วย อาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตาม ปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันหรือไม่ มิใช่ต้อง พิจารณาเฉพาะ จากบาดแผลที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนภายนอก เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเจ็บที่ท้องจนประกอบกรณียกิจ ตาม ปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ย่อมถือ ว่าผู้เสียหายได้ รับอันตรายสาหัสแล้ว แม้เป็นคดีที่ฎีกาได้ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย แต่ ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ เหตุที่เกิดขึ้นเพราะผู้เสียหายเป็นฝ่ายรุกรานก้าวร้าวก่อเหตุขึ้นก่อนส่วนจำเลยซึ่ง ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนถูก ขังในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นถึง 1 เดือน เศษ เพียงพอที่จะทำให้รู้สึกตัวกลัวผิดแล้ว ทั้งผู้เสียหายก็ไม่ประสงค์จะเอาเรื่องกับจำเลย กรณีจึงสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บาดแผลจากการทำร้ายร่างกายไม่ถึงขั้นอันตรายสาหัส ศาลลดโทษจาก 297 เป็น 295
โจทก์ร่วมถูกชกบริเวณใบหน้าเป็นรอยฟกช้ำและดั้งจมูกหักแต่สามารถไปไหนมาไหน และไปทำงานได้ตามปกติ แม้แพทย์มีความเห็นว่าใช้เวลารักษาบาดแผลประมาณ 30 วัน ก็เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับการรักษาบาดแผลให้หายเป็นปกติเท่านั้นยังไม่ถึงขนาดเป็นอันตรายสาหัส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธมีดจนเป็นอันตรายสาหัส พิจารณาจากระยะเวลาเจ็บป่วยและความสามารถในการประกอบอาชีพ
ผู้เสียหายถูกแทงด้วยมีดปลายแหลมที่หน้าอกซ้าย หากปลายมีดเข้าไปถึงหัวใจหรือหลอดลมใหญ่และไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ก็อาจถึงแก่ความตายได้ผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 8 วัน แล้วกลับมารักษาตัวที่บ้านอีก 1 เดือนแผลภายนอกหาย แต่ภายในยังเจ็บและเสียวอยู่ ผู้เสียหายต้องเลิกอาชีพรับจ้างไปทำงานอย่างอื่น เพราะไม่สามารถทำงานหนักต่อไปได้ ดังนี้ ถือได้ว่าผู้เสียหายต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บาดแผลจากการถูกแทงไม่ถึงอันตรายสาหัส แม้ผู้เสียหายเป็นนักกีฬา
ผู้เสียหายถูกแทงด้วยมีดปลายแหลมที่ต้นแขนซ้ายเป็นบาดแผลขนาด 2.5 เซนติเมตรทะลุไปอีกด้านหนึ่ง หลังเกิดเหตุประมาณ 7วันผู้เสียหายไปหาแพทย์เพื่อตัดไหม แพทย์บอกว่าบาดแผลเป็นปกติ และผู้เสียหายก็ไปเรียนหนังสือกับทำกิจการงานต่าง ๆได้ แม้ปรากฏว่าผู้เสียหายเป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ต้องเรียนภาคปฏิบัติคือการเล่นกีฬาที่ต้องใช้แขนและหลังเกิดเหตุแล้ว 1 เดือน ผู้เสียหายไม่อาจเล่นกีฬาได้มากเท่าบุคคลปกติเพราะยังรู้สึกเสียวที่แขน ก็เป็นเพียงแต่ทำให้ผู้เสียหายขาดความสะดวกในการใช้แขนลดน้อยลงเท่านั้น หาทำให้ผู้เสียหายประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เสียเลยทีเดียวไม่จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3862/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บเพื่อกำหนดความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297
ผู้เสียหายถูกตีที่ชายโครงซ้ายเกิดเหตุแล้ว7-8วันก็ไปตามงาน ตามปกติภายหลังจากเกิดเหตุ17วันได้ไปหาแพทย์ เอกซเรย์แล้วพบว่า กระดูกซี่โครงซ้ายร้าว2ซี่แพทย์จ่ายยาให้ไปรับประทานที่บ้านมิได้รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลโดยแพทย์มีความเห็นว่าจะต้องรักษาเกินกว่า 21 วันจึงหายดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บ ด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า20 วันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติ ไม่ได้เกินกว่า20 วันตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8) จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 295 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3862/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บทางร่างกายเพื่อพิจารณาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297
ผู้เสียหายถูกตีที่ชายโครงซ้าย เกิดเหตุแล้ว 7 - 8 วันก็ไปตามงานตามปกติ ภายหลังจากเกิดเหตุ 17 วัน ได้ไปหาแพทย์ เอกซเรย์แล้วพบว่ากระดูกซี่โครงซ้ายร้าว 2 ซี่ แพทย์จ่ายยาให้ไปรับประทานที่บ้านมิได้รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยแพทย์มีความเห็นว่าจะต้องรักษาเกินกว่า 21 วันจึงหาย ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8) จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 295 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2849/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บาดแผลสาหัสและการลดโทษจากคำให้การชั้นสอบสวน ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์
แม้บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับปรากฏตามรายงานชันสูตรบาดแผลของแพทย์ว่ามีรอยฟกช้ำที่คอ ที่หลัง และที่สะเอว มีโลหิตคั่งภายในช่องท้อง ลำไส้ส่วนนอกฉีกขาด แพทย์ต้องผ่าตัดช่องท้อง จะรักษาแผลหายเกินยี่สิบเอ็ดวันก็ตามแต่เมื่อต่อมาราว 7 วัน ผู้เสียหายได้ผูกคอตายไปเสียก่อน และได้ความตามคำแพทย์ผู้ชันสูตรบาดแผลและเป็นผู้รักษาผู้เสียหายว่าเมื่อผู้เสียหายผูกคอตาย แผลจวนจะหายแล้ว สามารถเดินไปมาได้บ้างหลังจากผ่าตัดแล้วเพียง3 วัน อาจจะทำงานจักสานได้หลังผ่าตัด 10 วันเช่นนี้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ถึงแก่ความตายเพราะเหตุอื่นไปก่อนครบ 20 วันหลังจากถูกทำร้าย ก็ยังไม่รับฟังไม่ถนัดว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บถึงทุพพลภาพด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน จึงไม่ใช่อันตรายสาหัส
เมื่อศาลเชื่อข้อเท็จจริงเป็นดังคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยซึ่งแตกต่างกับคำให้การชั้นศาล แม้คำให้การชั้นสอบสวนนั้นโจทก์เป็นฝ่ายส่งอ้างเพื่อหักล้างคำเบิกความของจำเลยในชั้นศาล ก็นับได้ว่าคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยมีประโยชน์แก่การพิจารณา เป็นเหตุปรานีลดโทษให้จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ได้
of 8