คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 297 (8)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2849/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บาดแผลสาหัสและการลดโทษจากคำให้การชั้นสอบสวนที่ไม่เป็นผลต่อการวินิจฉัยความผิด
แม้บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับปรากฏตามรายงานชันสูตรบาดแผลของแพทย์ว่ามีรอยฟกช้ำที่คอ ที่หลัง และที่สะเอว มีโลหิตคั่งภายในช่องท้อง ลำไส้ส่วนนอกฉีกขาด แพทย์ต้องผ่าตัดช่องท้องจะรักษาแผลหายเกินยี่สิบเอ็ดวันก็ตามแต่เมื่อต่อมาราว 7 วันผู้เสียหายได้ผูกคอตายไปเสียก่อน และได้ความตามคำแพทย์ผู้ชันสูตรบาดแผลและเป็นผู้รักษาผู้เสียหายว่าเมื่อผู้เสียหายผูกคอตาย แผลจวนจะหายแล้ว สามารถเดินไปมาได้บ้างหลังจากผ่าตัดแล้วเพียง 3 วัน อาจจะทำงานจักสานได้หลังผ่าตัด10 วันเช่นนี้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ถึงแก่ความตายเพราะเหตุอื่นไปก่อนครบ 20 วันหลังจากถูกทำร้าย ก็ยังไม่รับฟังไม่ถนัดว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บถึงทุพพลภาพด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน จึงไม่ใช่อันตรายสาหัส
เมื่อศาลเชื่อข้อเท็จจริงเป็นดังคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยซึ่งแตกต่างกับคำให้การชั้นศาล แม้คำให้การชั้นสอบสวนนั้นโจทก์เป็นฝ่ายส่งอ้างเพื่อหักล้างคำเบิกความของจำเลยในชั้นศาลก็นับได้ว่าคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยมีประโยชน์แก่การพิจารณาเป็นเหตุปรานีลดโทษให้จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อันตรายสาหัสจากการทำร้ายร่างกาย: เกณฑ์การพิจารณาอาการบาดเจ็บเกิน 20 วัน
ถูกตีด้วยไม้ระแนง กระโหลกศีรษะร้าว ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 1 ปีครึ่ง กระดูกจึงจะเชื่อมติดกันได้และแข็งแรงพอ จะมีอาการปวดศีรษะในระยะ 1 เดือนแรก ไม่สามารถนั่งขายของได้ตามปกติ ดังนี้ ถือได้ว่าต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อันตรายสาหัสจากการทำร้ายร่างกาย: การประเมินอาการบาดเจ็บและระยะเวลาพักฟื้น
ถูกตีด้วยไม้ระแนง กระโหลกศีรษะร้าว ต้องใช้เวลารักษาประมาณ1 ปีครึ่งกระดูกจึงจะเชื่อมติดกันได้และแข็งแรงพอ จะมีอาการปวดศีรษะในระยะ 1 เดือนแรก ไม่สามารถนั่งขายของได้ตามปกติ ดังนี้ ถือได้ว่าต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความร้ายแรงของบาดเจ็บและการประกอบกรณียกิจปกติเกิน 20 วัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)
ผู้เสียหายมีอาชีพพิมพ์ดีด เพียงการที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายได้รับอันตรายถึงบาดเจ็บเป็นเหตุให้ความสามารถในการพิมพ์หย่อนลงกล่าวคือพิมพ์ได้ช้ากว่าอัตราที่พิมพ์ได้ตามปกติก่อนถูกทำร้ายเกินกว่า 20 วันดังนี้ ไม่เรียกว่าเป็นการประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20วันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บและการประกอบกรณียกิจปกติเกิน 20 วันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(8)
ผู้เสียหายมีอาชีพพิมพ์ดีด. เพียงการที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายได้รับอันตรายถึงบาดเจ็บเป็นเหตุให้ความสามารถในการพิมพ์หย่อนลง. กล่าวคือพิมพ์ได้ช้ากว่าอัตราที่พิมพ์ได้ตามปกติก่อนถูกทำร้ายเกินกว่า 20 วัน. ดังนี้ ไม่เรียกว่าเป็นการประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20วันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(8).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความรุนแรงของบาดเจ็บและการประกอบกรณียกิจปกติเกิน 20 วัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)
ผู้เสียหายมีอาชีพพิมพ์ดีด เพียงการที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายได้รับอันตรายถึงบาดเจ็บเป็นเหตุให้ความสามารถในการพิมพ์หย่อนลง กล่าวคือพิมพ์ได้ช้ากว่าอัตราที่พิมพ์ได้ตามปกติก่อนถูกทำร้ายเกินกว่า 20 วัน ดังนี้ ไม่เรียกว่าเป็นการประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20วันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายด้วยมีดเล็ก ผลกระทบต่อการพิจารณาเจตนาฆ่าและการลงโทษ
มีดที่จำเลยใช้แทงผู้เสียหาย ยาวทั้งตัวและด้ามประมาณคืบเศษ แผลที่แทงลึก 8 เซนติเมตร เป็นมีดเล็กไม่ร้ายแรง จำเลยเมาสุรามากจึงแทงไป 1 ที แม้ถูกที่หน้าอกก็หาได้เกิดอันตรายร้ายแรงไม่ ฟังไม่ถนัดว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธมีด ศาลพิจารณาจากขนาดอาวุธ ความรุนแรงของบาดแผล และสภาพจิตของผู้กระทำ
มีดที่จำเลยใช้แทงผู้เสียหาย ยาวทั้งตัวและด้ามประมาณคืบเศษ แผลที่แทงลึก 8 เซนติเมตร เป็นมีดเล็กไม่ร้ายแรง จำเลยเมาสุรามากจึงแทงไป 1 ทีแม้ถูกที่หน้าอกก็หาได้เกิดอันตรายร้ายแรงไม่ ฟังไม่ถนัดว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความร้ายแรงของการบาดเจ็บเพื่อกำหนดความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
ผู้บาดเจ็บถูกฟันศีรษะ 1 ทีและถูกแทงหลัง 1 ที ต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล 15 วัน แพทย์ก็ให้กลับและให้ไปโรงพยาบาลทุก 3 วัน เพราะประสาทยังไม่ปกติ ไปโรงพยาบาลอีก 3 ครั้ง แล้วขอยามารักษาที่บ้าน เพราะต้องเดินทางไกลสะเทือนสมอง เพียงเท่านี้ไม่ปรากฎอาการใดที่จะถือเป็นทุกขเวทนา เกินกว่า 20 วัน ถือว่ายังไม่เป็นอันตรายสาหัส
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทุกคนฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 3 จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าบาดเจ็บนั้นไม่ถึงสาหัสจึงเป็นผิดเพียงตาม มาตรา 340 วรรค 2 ซึ่งมีโทษเบากว่า แม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกา ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลตลอดถึงจำเลยอื่นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความสาหัสของบาดแผลเพื่อกำหนดโทษฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
ผู้บาดเจ็บถูกฟันศีรษะ 1 ที และถูกแทงหลัง 1 ที ต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล 15 วัน แพทย์ก็ให้กลับและให้ไปโรงพยาบาลทุก 3 วันเพราะประสาทยังไม่ปกติไปโรงพยาบาลอีก 3 ครั้ง แล้วขอยามารักษาที่บ้านเพราะต้องเดินไกลสะเทือนสมอง เพียงเท่านี้ไม่ปรากฏอาการใดที่จะถือเป็นทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน ถือว่ายังไม่เป็นอันตรายสาหัส
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทุกคนฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสาม จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกาเห็นว่าบาดเจ็บนั้นไม่ถึงสาหัสจึงเป็นผิดเพียงตาม มาตรา 340 วรรคสอง ซึ่งมีโทษเบากว่าแม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกา ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลตลอดถึงจำเลยอื่นด้วย
of 8