คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 ม. 82

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หลังพ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และการเลือกนายกฯ
บทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯกำหนดให้สภาจังหวัดเป็นสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมิได้บัญญัติให้มีการเลือกประธานสภาและรองประธานสภาขึ้นใหม่ คงให้เลือกเฉพาะนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่านั้นแม้จะมีระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ กำหนดให้มีการเลือกประธานสภาและรองประธานสภาขึ้นใหม่ก็ตามแต่เป็นกรณีมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1เรียกประชุมสภาเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานสภาจังหวัดมิได้ทำหน้าที่ดำเนินการประชุมทั้งที่อยู่ในที่ประชุมจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยังผลให้ผู้ที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในการประชุมครั้งนั้นมิชอบไปด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2จึงยังคงดำรงตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอยู่ และสามารถเรียกประชุมให้มีการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมายได้ การประชุมในครั้งหลังจึงชอบด้วยกฎหมายและหาเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะสภาจังหวัดเป็นสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาม พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และผลต่อตำแหน่งประธานสภา
แม้มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ.ศ. 2540 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2540มีผลให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดพ.ศ. 2498 ก็ตาม แต่มาตรา 82 วรรคหนึ่งและวรรคสองแห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้อันเป็นบทเฉพาะกาลได้บัญญัติรับรองให้สภาจังหวัดและสมาชิกสภาจังหวัดที่มีอยู่เดิมมีฐานะเป็นสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แล้วแต่กรณี จึงมีผลให้สภาจังหวัดศรีสะเกษมีฐานะเป็นสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษและสมาชิกสภาจังหวัดศรีสะเกษมีฐานะเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษโดยผลของกฎหมาย และแม้บทบัญญัติในส่วนนี้จะมิได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดว่าให้ประธานสภาจังหวัดและรองประธานสภาจังหวัดเป็นประธานสภาและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้มีการเลือกประธานสภาและรองประธาน สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้นใหม่หรือกำหนดให้ บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำหน้าที่ประธานสภาและรองประธานสภาไปพลางก่อน แสดงว่ากฎหมายประสงค์ให้ประธานสภาจังหวัดและ รองประธานสภาจังหวัดซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดอยู่ด้วยและ เปลี่ยนมาเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาม มาตรา 82 วรรคสอง มีฐานะเป็นประธานสภาและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วย โจทก์ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาจังหวัดศรีสะเกษในขณะที่พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ.ศ. 2540 ใช้บังคับย่อมเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษโดยผลของกฎหมายหายังสิ้นสุดลงไม่ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ได้ประกาศเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีระเบียบวาระการประชุม เกี่ยวกับผู้ทำหน้าที่เป็นประธานสภาชั่วคราวการเลือกประธานสภารองประธานสภาและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษและต่อมาได้มีการประชุมเลือก ว. เป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษและเลือก ช.กับย. เป็นรองประธานสภาฯ ต่อจากนั้น ว. ได้ดำเนินการประชุมต่อไปตามระเบียบวาระและที่ประชุมมีมติเลือก ณ. เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษนั้น แม้โจทก์จะอยู่ในที่ประชุม ด้วยแต่โจทก์มิได้เป็นผู้ดำเนินการประชุมตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง การประชุมเลือกประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษในวันดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งยุบสภา อบจ. มอบอำนาจ รมช.กระทรวงมหาดไทยได้หรือไม่ และมีอำนาจฟ้องหรือไม่
คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ให้ยุบสภาพองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.อ้างว่าจำเลยทั้งสามออกคำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยขัดต่อพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำ ของผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่ ดังนี้ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลยุติธรรมได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 271 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอำนาจโดยเฉพาะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและมิได้กำหนดห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทยกระทำการแทน ดังนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีอำนาจในการสั่ง การอนุญาตการอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นเกี่ยวกับงานของกรมการปกครองในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจปฏิบัติราชการภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยุบสภา อบจ. รัฐมนตรีช่วยฯ ทำได้หากได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการ
คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ให้ยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.อ้างว่าจำเลยทั้งสามออกคำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยขัดต่อพ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่ ดังนี้ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลยุติธรรมได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 271
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอำนาจโดยเฉพาะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และมิได้กำหนดห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยกระทำการแทน ดังนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นเกี่ยวกับงานของกรมการปกครองในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจปฏิบัติราชการภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)