พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความตามข้อเท็จจริง แม้ผลสอบไม่ผิด ก็ไม่ถือเป็นความเท็จ
ข้อความที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองจะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองตามที่จำเลยแจ้งและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีโจทก์ทั้งสองก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจ 191: อำนาจสืบสวนคดีอาญา แม้เป็นผู้รับแจ้งเหตุ
การที่เจ้าพนักงานตำรวจ 191 มีหน้าที่รับโทรศัพท์เป็นหน้าที่เฉพาะตามที่ทางราชการแต่งตั้งให้ปฏิบัติ แต่โดยทั่วไปแล้วเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 การที่จำเลยโทรศัพท์แจ้งเจ้าพนักงานตำรวจ 191 ว่ามีการวางระเบิดที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ และสถานที่อื่นอีกหลายแห่ง โดยรู้อยู่ว่ามิได้มีการกระทำความผิดอาญา จึงเป็นการแจ้งความแก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จ, ฟ้องเท็จ, การจับกุม, และการไต่สวนมูลฟ้อง: ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานเพียงพอ
พฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสามเกี่ยวกับการทำสัญญาจะขายที่ดินแก่จำเลยที่ 1 มีเหตุทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสามร่วมกันหลอกลวงจำเลยที่ 1 ทั้งข้อความที่จำเลยที่ 1 แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนก็เป็นการแจ้งข้อความไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีมูลความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา และการที่จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องโจทก์ทั้งสามเป็นจำเลยในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีมูลความผิดฐานฟ้องเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาเช่นกัน
เมื่อจำเลยที่ 1 แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามในข้อหาฉ้อโกง และตามคำแจ้งความร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสามร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์ได้ดำเนินการและเมื่อสอบสวนแล้วได้ทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนที่จะกระทำได้โดยชอบ ส่วนการออกหมายจับโจทก์ทั้งสามนั้นก็เป็นการออกหมายจับหลังจากที่โจทก์ทั้งสามไม่ไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกหลายครั้ง กรณีจึงมีเหตุที่จะออกหมายจับโจทก์ทั้งสามได้ ในการขอออกหมายจับ กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เห็นชอบให้ออกหมายจับโจทก์ที่ 1 ถ้าโจทก์ที่ 1 มิได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 ส่วนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ให้สอบสวนต่อไป การที่ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลที่เกิดเหตุได้ออกหมายจับโจทก์ทั้งสาม จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือผิดระเบียบข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยดังที่โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การจับโจทก์ที่ 1 ที่บ้านโดยมีหมายจับของเจ้าพนักงานตำรวจและหมายค้นของศาล ทั้งพฤติการณ์ในการตรวจค้นจับกุมก็ปรากฏว่า เจ้าพนักงานตำรวจไปที่บ้านโจทก์ที่ 1 เวลา 18.02 นาฬิกา เมื่อแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแสดงหมายค้น โจทก์ที่ 1 ซึ่งยืนอยู่บริเวณด้านในรั้วบ้านได้ปิดล็อกกุญแจรั้วหน้าบ้านแล้ววิ่งหนีเข้าบ้านไปปิดล็อกกุญแจบ้านด้านในอีกชั้นหนึ่งและไม่ยอมเปิดประตูโดยอ้างว่าจะไปมอบตัวในวันหลัง แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับกุม การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปใช้ไม้กระแทกประตูบ้านที่ปิดล็อกกุญแจด้านในไว้จนเปิดออกแล้ว เข้าไปจับโจทก์ที่ 1 จึงเป็นกรณีจำเป็นซึ่งเจ้าพนักงาานตำรวจผู้จัดการตามหมายค้นมีอำนาจกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 94 วรรคสอง
โจทก์ทั้งสามถูกจับกุมไปที่สถานีตำรวจเมื่อเวลา 23 นาฬิกา เมื่อไปถึง พนักงานสอบสวนซึ่งรับตัวโจทก์ที่ 1 ย่อมจะต้องทำการสอบสวนและทำประวัติโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถูกจับกุมในเวลาต่อมา อีกทั้งในการสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของโจทก์ทั้งสามยังจะต้องพิจารณาข้อกล่าวหา พยานหลักฐาน พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีและความน่าเชื่อถือของหลักประกันด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลาตามสมควร การที่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวโดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จึงสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโจทก์ทั้งสามเช่นนี้เป็นการใช้เวลาตามสมควรแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อปรากฏว่าจากคำเบิกความของโจทก์ที่ 1 ซึ่งแม้จะเบิกความยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลย ประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาล ข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว คดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องอีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้อง และศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องมานั้นชอบแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 1 แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามในข้อหาฉ้อโกง และตามคำแจ้งความร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสามร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์ได้ดำเนินการและเมื่อสอบสวนแล้วได้ทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนที่จะกระทำได้โดยชอบ ส่วนการออกหมายจับโจทก์ทั้งสามนั้นก็เป็นการออกหมายจับหลังจากที่โจทก์ทั้งสามไม่ไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกหลายครั้ง กรณีจึงมีเหตุที่จะออกหมายจับโจทก์ทั้งสามได้ ในการขอออกหมายจับ กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เห็นชอบให้ออกหมายจับโจทก์ที่ 1 ถ้าโจทก์ที่ 1 มิได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 ส่วนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ให้สอบสวนต่อไป การที่ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลที่เกิดเหตุได้ออกหมายจับโจทก์ทั้งสาม จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือผิดระเบียบข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยดังที่โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การจับโจทก์ที่ 1 ที่บ้านโดยมีหมายจับของเจ้าพนักงานตำรวจและหมายค้นของศาล ทั้งพฤติการณ์ในการตรวจค้นจับกุมก็ปรากฏว่า เจ้าพนักงานตำรวจไปที่บ้านโจทก์ที่ 1 เวลา 18.02 นาฬิกา เมื่อแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแสดงหมายค้น โจทก์ที่ 1 ซึ่งยืนอยู่บริเวณด้านในรั้วบ้านได้ปิดล็อกกุญแจรั้วหน้าบ้านแล้ววิ่งหนีเข้าบ้านไปปิดล็อกกุญแจบ้านด้านในอีกชั้นหนึ่งและไม่ยอมเปิดประตูโดยอ้างว่าจะไปมอบตัวในวันหลัง แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับกุม การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปใช้ไม้กระแทกประตูบ้านที่ปิดล็อกกุญแจด้านในไว้จนเปิดออกแล้ว เข้าไปจับโจทก์ที่ 1 จึงเป็นกรณีจำเป็นซึ่งเจ้าพนักงาานตำรวจผู้จัดการตามหมายค้นมีอำนาจกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 94 วรรคสอง
โจทก์ทั้งสามถูกจับกุมไปที่สถานีตำรวจเมื่อเวลา 23 นาฬิกา เมื่อไปถึง พนักงานสอบสวนซึ่งรับตัวโจทก์ที่ 1 ย่อมจะต้องทำการสอบสวนและทำประวัติโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถูกจับกุมในเวลาต่อมา อีกทั้งในการสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของโจทก์ทั้งสามยังจะต้องพิจารณาข้อกล่าวหา พยานหลักฐาน พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีและความน่าเชื่อถือของหลักประกันด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลาตามสมควร การที่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวโดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จึงสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโจทก์ทั้งสามเช่นนี้เป็นการใช้เวลาตามสมควรแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อปรากฏว่าจากคำเบิกความของโจทก์ที่ 1 ซึ่งแม้จะเบิกความยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลย ประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาล ข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว คดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องอีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้อง และศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องมานั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งเท็จเพื่อรับเงินประกันภัย: ความผิดอาญาฐานฉ้อโกง
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่ารถยนต์หาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวคือมุ่งหมายเพื่อให้จะได้เงินจากบริษัทประกันภัยเป็นหลัก การกระทำต่าง ๆ ของจำเลยเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ได้รับเงินไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 173, 267, 268 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: เจตนาเดียวเพื่อเบิกเงินประกันภัย แม้แจ้งความเท็จและใช้เอกสารปลอม
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่ารถยนต์หาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวคือมุ่งหมายเพื่อให้จะได้เงินจากบริษัทประกันภัยเป็นหลักการกระทำต่าง ๆ ของจำเลยเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ได้รับเงินไปเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173,267,268 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: เจตนาเบิกเงินประกันภัย การแจ้งความเท็จและการใช้เอกสารปลอม
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่ารถยนต์หาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียว คือ มุ่งหมายเพื่อให้จะได้เงินจากบริษัทประกันภัยเป็นหลักการกระทำต่าง ๆของจำเลยเป็นเพียงวิธีการเพื่อจะให้ได้รับเงินไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173, 267, 268 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับข้อหาค้าของผิดกฎหมาย แม้สถานที่ไม่มีชื่อ แต่ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบ ศาลให้รอลงโทษปรับ
โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของสถานที่ที่จำเลยแจ้ง โจทก์ที่ 2เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ที่ 1แม้จำเลยจะแจ้งถึงสถานที่ไม่ได้ระบุถึงโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 แต่สถานที่ไม่มีสถานะเป็นบุคคลแม้จะมีบุคคลอื่นอยู่ในสถานที่ นั้นอีกหลายคน แต่หากมีสิ่งของผิดกฎหมายซุกซ่อนอยู่จริงโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองสถานที่จะต้องรับผิดชอบ โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 จึงเป็นผู้เสียหายฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 และไม่ถือว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้อง จำเลยประกอบอาชีพเป็นทนายความเป็นผู้มีความรู้ทางกฎหมาย กระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายเสียเองแล้วไม่สำนึกผิด กลับต่อสู้คดีวกวนกล่าวโทษผู้อื่น จึงไม่สมควรกำหนดโทษ ให้เบาลงอีก แต่จำเลยกระทำไปก็โดยมุ่งหมายให้สำเร็จประโยชน์ ในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษ จำคุกมาก่อน ประกอบกับจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เป็นที่พอใจแล้วและไม่ติดใจ เอาความกับจำเลย สมควรรอการลงโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ: การแจ้งข้อเท็จจริงตามที่รับรู้ ไม่ใช่ความผิด แม้ต่อมาพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง
จำเลยนำความไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ขับรถยนต์ เฉี่ยวชนจำเลยได้รับบาดเจ็บเป็นการแจ้งความตามข้อเท็จจริง ที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่ จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะการแจ้งข้อความ ย่อมหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับกฎหมาย แม้ต่อมา พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความ ดังกล่าวเป็นความเท็จจำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความรถหายโดยไม่แจ้งว่ามีการกระทำความผิด ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173
รถยนต์ที่จำเลยดูแลรับผิดชอบได้หายไป จำเลยจึงไปแจ้ง ต่อพันตำรวจโท ม. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่ที่จำเลยไปพบรถยนต์ที่จำเลยดูแลรับผิดชอบเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจนำรถยนต์มาเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจเพื่อป้องกันมิให้สูญหาย โดยจำเลยไม่ประสงค์ที่จะให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ร่วมหรือผู้ใดผู้หนึ่งแต่เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องสืบให้ได้แน่ชัดก่อน แล้วจึงจะไปร้องทุกข์ดำเนินคดีภายหลัง เมื่อข้อความ ที่จำเลยแจ้งแก่พันตำรวจโท ม. เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และจำเลยมิได้แจ้งว่ารถยนต์หายไป ไม่ว่าจะเป็นการ โดยการลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์อย่างใด และไม่ปรากฏข้อความ ที่แจ้งว่ามีการกระทำความผิด แม้โจทก์ร่วมจะได้แนะนำ ให้จำเลยไปแจ้งความดำเนินคดีในท้องที่เกิดเหตุก็ไม่ปรากฏว่า จำเลยไปแจ้งความดำเนินคดีเพราะเหตุมีการกระทำความผิด แต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยที่ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อให้นำรถมาเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลรถหายเพื่อเก็บรักษา ไม่ถือเป็นความผิดแจ้งความเท็จ
รถยนต์ที่จำเลยดูแลรับผิดชอบได้หายไป จำเลยจึงไปแจ้งต่อพันตำรวจโท ม.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่ที่จำเลยไปพบรถยนต์ที่จำเลยดูแลรับผิดชอบ เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจนำรถยนต์มาเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจเพื่อป้องกันมิให้สูญหาย โดยจำเลยไม่ประสงค์ที่จะให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ร่วมหรือผู้ใดผู้หนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องสืบให้ได้แน่ชัดก่อนแล้วจึงจะไปร้องทุกข์ดำเนินคดีภายหลัง เมื่อข้อความที่จำเลยแจ้งแก่พันตำรวจโท ม.เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และจำเลยมิได้แจ้งว่ารถยนต์หายไป ไม่ว่าจะเป็นการโดยการลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์อย่างใด และไม่ปรากฏข้อความที่แจ้งว่ามีการกระทำความผิด แม้โจทก์ร่วมจะได้แนะนำให้จำเลยไปแจ้งความดำเนินคดีในท้องที่เกิดเหตุก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยไปแจ้งความดำเนินคดีเพราะเหตุมีการกระทำความผิดแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยที่ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อให้นำรถมาเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 173