พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดเบิกความเท็จ: สิทธินำคดีอาญาไม่ระงับหากคำพิพากษาเดิมยกฟ้องเนื่องจากคำฟ้องไม่ชัดเจน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในข้อหาเบิกความเท็จมาครั้งหนึ่งแล้วคดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์บรรยายแต่เฉพาะข้อความที่อ้างว่าจำเลยเบิกความเท็จ ไม่ได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไรจะฟังว่าจำเลยเบิกความเท็จยังไม่ได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด เป็นการยกฟ้องเนื่องจากคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดถึงการกระทำผิดของจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ โจทก์ฟ้องใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดเดิม แม้ประเด็นต่างกัน สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาหมิ่นประมาทโดยจำเลยทั้งสองกับพวกทำหนังสือใส่ความโจทก์ซึ่งเป็นกำนันร้องเรียนต่อนายอำเภอ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์จะนำการกระทำอันเดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกในข้อหาแจ้งความเท็จกล่าวหาโจทก์ต่อนายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้แม้ประเด็นในคดีทั้งสองนี้จะต่างกันก็ตาม สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดเดิม: สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้ประเด็นต่างกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาหมิ่นประมาทโดยจำเลย ทั้งสองกับพวกทำหนังสือใส่ความโจทก์ซึ่งเป็นกำนันร้องเรียนต่อ นายอำเภอ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์จะนำการกระทำอันเดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกในข้อหาแจ้งความเท็จกล่าวหาโจทก์ต่อนายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้แม้ประเด็นในคดีทั้งสองนี้จะต่างกันก็ตาม สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จ vs. การร้องเรียนทางวินัย: เจตนาเป็นสำคัญ
ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรและผู้บัญชาการตำรวจภูธรต่างมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ที่จะดำเนินการทางวินัยต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ฉะนั้น หากข้อความในหนังสือที่จำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ดังกล่าวเป็นเท็จ จำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2518)
การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173,174 ผู้แจ้งจะต้องมีเจตนาที่จะให้เจ้าพนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษในทางอาญา แต่การที่จำเลยทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยแก่โจทก์ มิได้เจตนาที่จะให้ดำเนินการเอาความผิดแก่โจทก์ในคดีอาญาการกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173,174.
การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173,174 ผู้แจ้งจะต้องมีเจตนาที่จะให้เจ้าพนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษในทางอาญา แต่การที่จำเลยทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยแก่โจทก์ มิได้เจตนาที่จะให้ดำเนินการเอาความผิดแก่โจทก์ในคดีอาญาการกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173,174.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ vs. ร้องเรียนทางวินัย: เจตนาในการดำเนินการทางกฎหมาย
ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรและผู้บัญชาการตำรวจภูธรต่างมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ที่จะดำเนินการทางวินัยต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชา ฉะนั้นหากข้อความในหนังสือที่จำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ดังกล่าวเป็นเท็จจำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ.มาตรา 137 การที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173,174 ผู้แจ้งจะต้องมีเจตนาที่จะให้เจ้าพนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษในทางอาญา แต่การที่จำเลยทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยแก่โจทก์ มิได้เจตนาที่จะให้ดำเนินการเอาความผิดแก่โจทก์ในคดีอาญา การกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 173,174.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแจ้งความเท็จ: ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้น แม้อุทธรณ์มีสาระก็เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงไม่ได้
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มีเจตนากระทำผิดโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อกฎหมายที่ไร้สาระไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์ฎีกา ดังนี้ แม้อุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นข้อกฎหมายที่มีสาระศาลฎีกาก็ไม่อาจวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแจ้งความเท็จ: ข้อกฎหมายมีสาระ แต่เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงไม่ได้
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มีเจตนากระทำผิดโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อกฎหมายที่ไร้สาระไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์ฎีกา ดังนี้ แม้อุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นข้อกฎหมายที่มีสาระศาลฎีกาก็ไม่อาจวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ ต้องเกี่ยวกับความผิดอาญา/ประเด็นสำคัญในคดี จึงจะมีความผิด
การแจ้งความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172,173 และ 174 นั้น ความเท็จที่แจ้งต้องเป็นข้อความที่เกี่ยวกับความผิดอาญา เมื่อจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนเพียงว่า จำเลยเป็นผู้แนะนำ ส. ให้รู้จักกับโจทก์และสามีซึ่งเป็นความเท็จ โดยไม่มีข้อความว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาการกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
ส่วนการเบิกความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 นั้น ความเท็จที่เบิกความต้องเป็นข้อสำคัญในคดี คือเป็นข้อความในประเด็นหรือที่เกี่ยวแก่ประเด็นอันอาจจะทำให้คู่ความถึงแพ้ชนะกันในประเด็นนั้นในคดีที่โจทก์คดีนี้ถูกฟ้องว่าฉ้อโกง ข้อสำคัญแห่งคดีมีว่า โจทก์ได้ทำการหลอกลวงผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ แล้วมอบเงินให้โจทก์รับไปหรือไม่ดังนั้น ที่จำเลยเบิกความในคดีดังกล่าวว่าจำเลยเคยแนะนำโจทก์ให้รู้จักกับผู้เสียหายนั้น ถึงหากจะเป็นความเท็จ ก็มิใช่ข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
ส่วนการเบิกความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 นั้น ความเท็จที่เบิกความต้องเป็นข้อสำคัญในคดี คือเป็นข้อความในประเด็นหรือที่เกี่ยวแก่ประเด็นอันอาจจะทำให้คู่ความถึงแพ้ชนะกันในประเด็นนั้นในคดีที่โจทก์คดีนี้ถูกฟ้องว่าฉ้อโกง ข้อสำคัญแห่งคดีมีว่า โจทก์ได้ทำการหลอกลวงผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ แล้วมอบเงินให้โจทก์รับไปหรือไม่ดังนั้น ที่จำเลยเบิกความในคดีดังกล่าวว่าจำเลยเคยแนะนำโจทก์ให้รู้จักกับผู้เสียหายนั้น ถึงหากจะเป็นความเท็จ ก็มิใช่ข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จและเบิกความเท็จต้องเกี่ยวกับความผิดอาญาหรือประเด็นสำคัญในคดีจึงจะมีความผิด
การแจ้งความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา172,173และ174นั้นความเท็จที่แจ้งต้องเป็นข้อความที่เกี่ยวกับความผิดอาญาเมื่อจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนเพียงว่าจำเลยเป็นผู้แนะนำส.ให้รู้จักกับโจทก์และสามีซึ่งเป็นความเท็จโดยไม่มีข้อความว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาการกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ส่วนการเบิกความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา177นั้นความเท็จที่เบิกความต้องเป็นข้อสำคัญในคดีคือเป็นข้อความในประเด็นหรือที่เกี่ยวแก่ประเด็นอันอาจจะทำให้คู่ความถึงแพ้ชนะกันในประเด็นนั้นในคดีที่โจทก์คดีนี้ถูกฟ้องว่าฉ้อโกงข้อสำคัญแห่งคดีมีว่าโจทก์ได้ทำการหลอกลวงผู้เสียหายทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อแล้วมอบเงินให้โจทก์รับไปหรือไม่ดังนั้นที่จำเลยเบิกความในคดีดังกล่าวว่าจำเลยเคยแนะนำโจทก์ให้รู้จักกับผู้เสียหายนั้นถึงหากจะเป็นความเท็จก็มิใช่ข้อสำคัญในคดีการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จและเบิกความเท็จ ต้องเกี่ยวข้องกับความผิดอาญาหรือประเด็นสำคัญในคดี
การแจ้งความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172,173 และ 174 นั้น ความเท็จที่แจ้งต้องเป็นข้อความที่เกี่ยวกับความผิดอาญา เมื่อจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนเพียงว่า จำเลยเป็นผู้แนะนำ ส. ให้รู้จักกับโจทก์และสามีซึ่งเป็นความเท็จโดยไม่มีข้อความว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาการกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
ส่วนการเบิกความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 นั้น ความเท็จที่เบิกความต้องเป็นข้อสำคัญในคดี คือเป็นข้อความในประเด็นหรือที่เกี่ยวแก่ประเด็นอันอาจจะทำให้คู่ความถึงแพ้ชนะกันในประเด็นนั้นในคดีที่โจทก์คดีนี้ถูกฟ้องว่าฉ้อโกง ข้อสำคัญแห่งคดีมีว่า โจทก์ได้ทำการหลอกลวงผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ แล้วมอบเงินให้โจทก์รับไปหรือไม่ ดังนั้น ที่จำเลยเบิกความในคดีดังกล่าวว่าจำเลยเคยแนะนำโจทก์ให้รู้จักกับผู้เสียหายนั้น ถึงหากจะเป็นความเท็จก็มิใช่ข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
ส่วนการเบิกความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 นั้น ความเท็จที่เบิกความต้องเป็นข้อสำคัญในคดี คือเป็นข้อความในประเด็นหรือที่เกี่ยวแก่ประเด็นอันอาจจะทำให้คู่ความถึงแพ้ชนะกันในประเด็นนั้นในคดีที่โจทก์คดีนี้ถูกฟ้องว่าฉ้อโกง ข้อสำคัญแห่งคดีมีว่า โจทก์ได้ทำการหลอกลวงผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ แล้วมอบเงินให้โจทก์รับไปหรือไม่ ดังนั้น ที่จำเลยเบิกความในคดีดังกล่าวว่าจำเลยเคยแนะนำโจทก์ให้รู้จักกับผู้เสียหายนั้น ถึงหากจะเป็นความเท็จก็มิใช่ข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ