คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 52

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานอันเนื่องจากใส่ความทำลายชื่อเสียงนายจ้าง
การทำและแจกจ่ายเอกสารที่มีข้อความกล่าวหานายจ้างว่ามีพฤติการณ์ในทางร้าย กลั่นแกล้งและแก้แค้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานไม่เลิกราไม่เป็นไปตามที่พูดไว้ ไม่มีความสุจริตใจต้องการให้พนักงานแตกความสามัคคีพยายามทำให้สหภาพแรงงานซึ่งเป็นองค์การของลูกจ้างเลิกไป เป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอยอันเป็นข้อความที่ล้วนแต่ทำให้ลูกจ้างและผู้อ่านข้อความนั้นรู้สึกว่านายจ้างประพฤติปฏิบัติตนไม่ดี ไม่ถูกต้อง และไม่มีคุณธรรมก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างทั้งสิ้น เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะกรรมการสหภาพแรงงานและการคุ้มครองกรรมการลูกจ้าง แม้ยังมิได้จดทะเบียน
เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้ลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงาน และนายจ้างได้ทราบผลการประชุมของคณะกรรมการสหภาพแรงงานแล้วว่าผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงาน ถือได้ว่าคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวเป็นคณะกรรมการสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 แล้ว แม้จะยังไม่ได้มีการจดทะเบียนรับรองการเป็นกรรมการก็ตาม จึงมีอำนาจตั้งคณะกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการสหภาพแรงงาน: การจดทะเบียนเป็นเพียงหลักฐานแสดงเจตนา การลงมติที่ประชุมใหญ่มีผลผูกพัน
การจดทะเบียนคณะกรรมการของสหภาพแรงงานเป็นเพียงวิธีการทางกฎหมายเพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียน เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้ลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงาน และนายจ้างได้ทราบผลการประชุมของคณะกรรมการ สหภาพฯดังกล่าวแล้วว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานบ้าง จึงถือได้ว่าคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวเป็นคณะกรรมการสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 แล้วจึงมีอำนาจตั้งคณะกรรมการลูกจ้างได้ จำเลยไม่อาจลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยไม่ได้รับ-อนุญาตจากศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างมีผลเมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติ แม้ยังมิได้จดทะเบียน การลงโทษกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล
การจดทะเบียนคณะกรรมการของสหภาพแรงงานเป็นเพียงวิธีการทางกฎหมายเพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียน เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้ลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงาน และนายจ้างได้ทราบผลการประชุมของคณะกรรมการ สหภาพฯดังกล่าวแล้วว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานบ้าง จึงถือได้ว่าคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวเป็นคณะกรรมการสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แล้วจึงมีอำนาจตั้งคณะกรรมการลูกจ้างได้ จำเลยไม่อาจลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่มีสาขาต่างจังหวัด สหภาพแรงงานมีสิทธิแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างในแต่ละจังหวัดได้
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 45,46 และประกาศของกรมแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1 กำหนดว่า"ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่ง ให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างได้หนึ่งคณะ เว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่น ลูกจ้างในสถานประกอบการเช่นว่านั้นอาจตกลงกันเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะได้" ดังนั้น แม้สหภาพแรงงาน อ.จะได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างจำนวน 21 คน สำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดชลบุรีแล้ว ทางสหภาพฯ ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างจำนวน 13 คน สำหรับโรงงานจำเลยที่จังหวัดนครราชสีมาได้อีกโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายตามการแต่งตั้งในครั้งหลังนี้ จำเลยไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในแต่ละสาขาของสถานประกอบกิจการ และการคุ้มครองกรรมการลูกจ้างจากการเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 45 วรรคแรก บัญญัติว่าในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นได้ และประกาศกรมแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1 กำหนดว่า ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่ง ให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างได้หนึ่งคณะ เว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่น ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเช่นว่านั้นอาจตกลงกันเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะได้ จำนวนกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการหรือในหน่วยงานหรือสาขาในแต่ละจังหวัด ให้กำหนดโดยถือหลักเกณฑ์ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 ฉะนั้น แม้สหภาพแรงงาน อ.จะได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดชลบุรีแล้ว แต่จำเลยมีโรงงานอีกแห่งหนึ่งคือที่จังหวัดนครราชสีมา ทางสหภาพ ฯ ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดนครราชสีมาได้อีก
โจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่มีสาขาต่างจังหวัด
นายจ้างมีสถานประกอบกิจการโรงงาน 2 แห่ง แต่ละแห่งอยู่คนละจังหวัดกัน เมื่อสหภาพแรงงานได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานในจังหวัดหนึ่งแล้ว ก็ยังมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานในอีกจังหวัดหนึ่งได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่กรรมการลูกจ้าง: การมาทำงานแต่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งย้ายงานเป็นเหตุเลิกจ้างได้
นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไปทำงานที่เครื่องอัดอะลูมิเนียมเครื่องเล็กโดย ได้แจ้งการโยกย้ายให้ลูกจ้างทราบตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2535 ทั้งได้อธิบายให้ทราบด้วยว่า การทำงานของเครื่องอัดอะลูมิเนียมเครื่องเล็กมีขั้นตอนการทำงานน้อยกว่าเครื่องใหญ่เมื่อลูกจ้างได้ทราบคำสั่งแล้วเพียงแต่มาที่ทำงานเพื่อลงเวลาเข้าทำงานและเลิกงานตามปกติ โดยไม่ยอมไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้างในวันที่ 20 ถึงวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2535 การกระทำของลูกจ้างย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดย ไม่มีเหตุอันสมควร และเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีมีเหตุที่นายจ้างจะเลิกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาป่วยเท็จครึ่งวัน ไม่ถือเป็นกรณีร้ายแรงพอเลิกจ้างได้ หากนายจ้างไม่เสียหายเป็นพิเศษ
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างลาป่วยเท็จเพียงครึ่งวันเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายเป็นพิเศษยังไม่พอฟังว่าผู้คัดค้านกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดทางอาญาหรือจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย หรือฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องอันเป็นกรณีร้ายแรง จึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานกลางจะอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านด้วยการเลิกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงาน: การแจ้งล่วงหน้าเพียงพอโดยไม่ต้องรออนุมัติ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการลาของผู้ร้อง และมาตรา 102แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ที่บัญญัติใจความทำนองเดียวกันว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาไปเพื่อดำเนินกิจการสหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาและมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ ทั้งนี้ให้ลูกจ้างดังกล่าวแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องถ้ามี และให้ถือว่าวันลาของลูกจ้างนั้นเป็นวันทำงานมีความหมายว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ โดยลูกจ้างเพียงแต่แจ้งพร้อมแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุการลาและไม่จำต้องให้นายจ้างอนุมัติก่อน เมื่อผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและเป็นเหรัญญิกของสหภาพแรงงาน ได้รับเชิญในตำแหน่งเหรัญญิกของสหภาพแรงงานให้ไปประชุมของส่วนราชการ และสหภาพแรงงานได้แจ้งการลาให้ผู้ร้องทราบแล้ว แม้ผู้ร้องมิได้อนุมัติก่อน ก็ถือว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของผู้ร้องและชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน
of 33