คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 52

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงาน: การแจ้งล่วงหน้าเพียงพอโดยไม่ต้องรออนุมัติจากนายจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการลาของผู้ร้อง และมาตรา 102 แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ที่บัญญัติไว้ใจความว่า "ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาไปเพื่อดำเนินกิจการ สหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจา... และมีสิทธิลา เพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ ทั้งนี้ให้ลูกจ้าง ดังกล่าวแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้ง พร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องถ้ามีและให้ถือว่าวันลาของ ลูกจ้างนั้นเป็นวันทำงาน" มีความหมายว่า ลูกจ้าง ซึ่งเป็นกรรมการ สหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ โดยลูกจ้างเพียงแต่แจ้งพร้อมแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้นายจ้าง ทราบล่วงหน้าถึงเหตุการลา และไม่จำต้องให้นายจ้างอนุมัติก่อนเมื่อผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและเป็นเหรัญญิกของสหภาพแรงงาน ได้รับเชิญ ในตำแหน่งเหรัญญิกของสหภาพแรงงานให้ไปประชุมของส่วนราชการและสหภาพแรงงานได้แจ้งการลาให้ผู้ร้องทราบแล้ว แม้ผู้ร้องมิได้อนุมัติก่อนก็ถือว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของผู้ร้องและชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงาน: การแจ้งล่วงหน้าเพียงพอ นายจ้างไม่ต้องอนุมัติ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการลาของผู้ร้องและมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ที่บัญญัติไว้ใจความว่า "ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาไปเพื่อดำเนินกิจการสหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจา... และมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ ทั้งนี้ให้ลูกจ้างดังกล่าวแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องถ้ามี และให้ถือว่าวันลาของลูกจ้างนั้นเป็นวันทำงาน" มีความหมายว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นยกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้โดยลูกจ้างเพียงแต่แจ้งพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุการลา และไม่จำต้องให้นายจ้างอนุมัติก่อน เมื่อผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและเป็นเหรัญญิกของสหภาพแรงงานได้รับเชิญในตำแหน่งเหรัญญิกของสหภาพแรงงานให้ไปประชุมของส่วนราชการ และสหภาพแรงงานได้แจ้งการลาให้ผู้ร้องทราบแล้ว แม้ผู้ร้องมิได้อนุมัติก่อน ก็ถือว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของผู้ร้องและชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจงใจทำให้นายจ้างเสียหายด้วยการยุยงให้ลูกจ้างผละงาน ถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรงและชอบที่จะเลิกจ้างได้
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดไว้ว่าหากพนักงานผู้ใจจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ถือว่าผิดวินัยขั้นร้ายแรง การที่ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย โดยการชักชวนหรือยุยงให้พนักงานของนายจ้างผละงานหรือละทิ้งการงานในการปฏิบัติหน้าที่ ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดวินัยขั้นร้ายแรง มีเหตุสมควรที่ศาลแรงงานจะสั่งอนุญาตให้นายจ้างลงโทษกรรมการลูกจ้างดังกล่าวด้วยการเลิกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยฐานจงใจทำให้ผู้ร้องเสียหายจากการยุยงให้ผละงาน
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องกำหนดไว้ว่าหากพนักงานผู้ใดจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ถือว่าผิดวินัยขั้นร้ายแรง เช่นนี้ การที่ผู้คัดค้านจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย โดยการชักชวนหรือยุยงให้พนักงานของผู้ร้องผละงานหรือละทิ้งการงานในการปฏิบัติหน้าที่ ย่อมเป็นการกระทำผิดวินัยขั้นร้ายแรงมีเหตุอันสมควรที่ศาลสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทะเลาะวิวาท: ข้อบังคับบริษัทต้องระบุความร้ายแรงชัดเจน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างมิได้กำหนดว่ากรณีลูกจ้างทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันเป็นกรณีร้ายแรงสถานเดียว การที่กรรมการลูกจ้างทั้งสองทะเลาะวิวาททำร้ายกับเพื่อนร่วมงานที่บริเวณหน้าห้องน้ำ และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง แม้จะผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างก็มิใช่กรณีร้ายแรงถึงขั้นที่จะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกาย ต้องพิจารณาความร้ายแรงและข้อบังคับบริษัท
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องกรณีลูกจ้างทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันนั้นได้ระบุเกี่ยวกับการพิจารณาลงโทษ ว่าอาจจะเป็นการว่ากล่าวด้วยวาจา ตักเตือนเป็นหนังสือ ตัดค่าจ้าง ลดค่าจ้าง ให้พักงาน หรือให้ออกจากงานตามที่เห็นสมควรแสดงว่า ผู้ร้องมิได้กำหนดว่ากรณีลูกจ้างทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันเป็นกรณีร้ายแรงสถานเดียวจึงได้วางบทลงโทษเป็นลำดับขั้น ดังกล่าวตามที่เห็นสมควร เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านทั้งสองทะเลาะวิวาท ทำร้ายกับเพื่อนร่วมงาน โดยไม่ปรากฏว่าได้ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้ร้องแต่อย่างใด แม้จะผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของ ผู้ร้องก็มิใช่กรณีร้ายแรงถึงขั้นที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้าน ทั้งสองได้ จึงยังไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน ทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6232/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานที่ผิดกฎหมายแต่มีการตกลงประนีประนอม ทำให้ไม่อาจเลิกจ้างได้
การนัดหยุดงานของผู้คัดค้านในระหว่างที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกำลังปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมอยู่ เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 34(2) จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่หลังจากที่ได้หยุดงานแล้ว สหภาพแรงงานกับผู้ร้องตกลงกันได้และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใหม่ โดยผู้ร้องตกลงไม่กลั่นแกล้งพนักงานทุกคนที่นัดหยุดงาน อันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ถือได้ว่าผู้ร้องจะไม่เอาเหตุที่ผู้คัดค้านได้นัดหยุดงานนั้นเป็นเหตุเลิกจ้างผู้คัดค้าน ดังนี้ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุสมควรจะเลิกจ้างผู้คัดค้าน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5924/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่การงาน: การกระทำร่วมกันของลูกจ้างและผู้บังคับบัญชา การลงโทษทางวินัย
การที่ผู้คัดค้านไม่ได้ไปทำงานคงนั่งล้อมวงดู อ.และส.เล่นหมากรุก กันอยู่ จนเวลา 13 นาฬิกาเศษ น. ผู้จัดการแรงงานสัมพันธ์ของผู้ร้องมาพบทั้งสามคนจึงได้แยกย้ายกันไปทำงานเห็นได้ว่า เมื่อถึงเวลาทำงานแล้ว ผู้คัดค้านและ อ.กับส.มิได้ไปทำงานตามหน้าที่ การไม่ทำงานตามหน้าที่ในเวลาทำงานเช่นนี้เป็นการละทิ้งหน้าที่การงานอย่างหนึ่ง การที่ อ.และส.ซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องสั่งให้ผู้คัดค้านทำงานละทิ้งหน้าที่ไม่ไปทำงานตามเวลานั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้คัดค้านซึ่งจะต้องทำงานที่จะละทิ้งหน้าที่การงานไปด้วยไม่ ในเมื่อทั้งสามคนร่วมกันไม่ปฏิบัติงานตามเวลาทำงานในหน้าที่ กรณีจึงต้องถือว่าละทิ้งหน้าที่การงานด้วยกัน ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะลงโทษผู้คัดค้านได้ ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) เมื่อผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้าง ผู้ร้องมีอำนาจที่ร้องขอให้ลงโทษได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 52.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุร้ายแรง การฝ่าฝืนคำสั่งที่ไม่กระทบความเสียหายร้ายแรงไม่ใช่เหตุเลิกจ้าง
แม้ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ทำงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นประการใดและอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างหรือไม่เพียงใด จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งในกรณีร้ายแรง และมิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายโดยตรง นายจ้างจึงไม่มีเหตุที่จะเลิกจ้างได้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง อ้างว่ากระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการกระทำยังไม่เป็นความผิดร้ายแรงจึงไม่มีเหตุที่จะเลิกจ้างได้ อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่าแม้มิใช่กรณีร้ายแรง ศาลก็ชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่นอกเหนือไปจากข้ออ้างที่ยกขึ้นเป็นเหตุตามคำร้องเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานลูกจ้างโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ถือเป็นการลงโทษ จึงสามารถขออนุญาตศาลลงโทษภายหลังได้
การที่ผู้ร้องสั่งพักงานผู้คัดค้านโดยจ่ายค่าจ้าง เป็นการสั่งให้ผู้คัดค้านหยุดทำงานชั่วคราวเพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขออนุญาตลงโทษผู้คัดค้านต่อศาลแรงงานกลางเสียก่อน ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษจึงมิใช่กรณีผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านก่อนมาขออนุญาตศาล.
of 33