คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 52

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการดำเนินการขององค์กร, ความรับผิดต่อการใส่ร้าย, และวินัยพนักงาน – กรณีการแถลงข่าวและการกระทำผิดวินัย
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 มาตรา 6 มีผู้ร้องเป็นผู้ว่าการ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นคดีนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการตามมาตรา 26 มิใช่กรณีผู้ว่าการต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตามมาตรา 27ผู้ว่าการจึงมีอำนาจแต่งทนายความเพื่อดำเนินคดีในนามผู้ร้องได้ ผู้คัดค้านมิได้ยกข้อที่ว่าการผลิตดาบน้ำพี้ เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสถาบันผู้ร้องหรือไม่ขึ้นมาเป็นประเด็นคัดค้านคำร้องของผู้ร้อง แม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยปัญหานี้ ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางโดยชอบ ผู้คัดค้านจึงยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การรวมกลุ่มกันเป็นองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กร ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือองค์กร ที่ไม่มีกฎหมายรับรอง การดำเนินการขององค์กร ก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในข้อที่จะต้องไม่กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้คัดค้านแถลงข่าวกล่าวหาว่าผู้ร้องหลอกลวงประชาชนโดยมิได้เป็นความจริงผู้คัดค้านไม่ว่าในฐานะใดก็จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น จะอ้างว่าได้กระทำในฐานะของสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เพื่อให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่ และไม่มีบทกฎหมายใดที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างให้พ้นผิดทั้งขณะแถลงข่าวผู้คัดค้านก็ยังมีฐานะเป็นพนักงานของผู้ร้องผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างได้ว่าผู้คัดค้านไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของผู้ร้อง คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ยกคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิสูจน์ดาบน้ำพี้ ที่ผู้ร้องผลิตเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดวินัยร้ายแรงของพนักงานที่แถลงข่าวกล่าวหาองค์กรโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีฐานะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
การรวมกลุ่มกันเป็นองค์กรไม่ว่าจะมีกฎหมายรับรองหรือไม่ก็ตาม การดำเนินการขององค์กรนั้นก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในข้อที่จะต้องไม่กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นการที่ผู้คัดค้านแถลงข่าวกล่าวหาว่าผู้ร้องหลอกลวงประชาชนโดยมิได้เป็นความจริง ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้แถลงข่าวดังกล่าวไม่ว่าในฐานะใดจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องไม่มีบทกฎหมายใดที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างเพื่อยกเว้นให้พ้นผิดได้ ทั้งในขณะแถลงข่าวนั้น ผู้คัดค้านยังคงมีฐานะเป็นพนักงานของผู้ร้องอยู่ ผู้คัดค้านจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องในเรื่องนี้ ฉะนั้นแม้ผู้คัดค้านจะแถลงข่าวในฐานะของสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ก็ไม่มีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของผู้ร้อง การกระทำของผู้คัดค้านก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องอย่างร้ายแรง จึงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201-3205/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล และมีผลเมื่อศาลมีคำพิพากษา การคำนวณค่าชดเชยต้องรวมค่าครองชีพ
นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วนายจ้างจะต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกครั้งหนึ่ง คดีนี้หลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยไม่ได้มีคำสั่งเลิกจ้างแต่ โจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องว่าเมื่อศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์ยังคงมีนิติสัมพันธ์อยู่กับจำเลยอย่างเดิมจนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา เท่ากับโจทก์ยอมรับว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา ต้องถือว่าการเลิกจ้างมีผลนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแรงงานกลาง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำรายเดือนจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในอัตราเดิมนับแต่วันที่จำเลยหยุดดำเนินกิจการตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้แปรรูปองค์การจำเลยจนถึงวันที่มีคำพิพากษาศาลฎีกา อันเป็นช่ วงเวลาที่โจทก์ไม่ได้ทำงานโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์และจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จโดยจะต้องนำค่าครองชีพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างมารวมเป็นฐานคำนวณให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน แม้ศาลจะอนุญาตภายหลัง ก็ไม่ทำให้ความผิดนั้นสิ้นสุด
ตาม บทบัญญัติมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างด้วย เหตุอันใดนายจ้างจะต้องได้ รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อนเสมอจึงจะเลิกจ้างได้ จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ร่วมซึ่ง เป็นกรรมการลูกจ้าง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 โดย มิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางก่อนเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 ต้อง รับโทษตาม มาตรา 143 และต้องถือ ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ วันดังกล่าว แม้ต่อมาภายหลังจำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องต่อ ศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ร่วมและศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ร่วมโดย ให้มีผลย้อนหลังไปถึง วันที่ 19 พฤษภาคม 2529 ก็ตาม ก็ไม่มีผลให้การกระทำของจำเลยทั้งสองที่เป็นความผิดอยู่แล้วกลายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตศาลก่อน แม้ศาลอนุญาตย้อนหลังก็ไม่ทำให้ความผิดหมดไป
ตามบทบัญญัติมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างด้วยเหตุอันใด นายจ้างจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อนเสมอจึงจะเลิกจ้างได้
จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ร่วมซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางก่อน เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ต้องรับโทษตาม มาตรา 143 และต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่วันดังกล่าว แม้ต่อมาภายหลังจำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ร่วม และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ร่วมโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 ก็ตาม ก็ไม่มีผลให้การกระทำของจำเลยทั้งสองที่เป็นความผิดอยู่แล้วกลายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน หากเลิกจ้างแล้วค่อยขออนุญาต ศาลไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้อง
ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52 นั้น นายจ้างจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อนเสมอจึงจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้ ทั้งนี้ไม่ว่ากรณีจะเป็นการเลิกจ้างจากเหตุอันใด การที่ต่อมาศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลิกจ้างในภายหลังและให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันเลิกจ้างนั้นไม่มีผลให้จำเลยพ้นผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ: การยุบเลิกกิจการโดยมติคณะรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และมีผลต่อการเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จะจ้าง ผู้คัดค้านต่อไปกรณีมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งหมดได้ ดังนี้ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่ากิจการของผู้ร้องจะยุบเลิกหรือหยุดดำเนินกิจการได้ต่อเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบเลิกหรือหยุดดำเนินการออกใช้บังคับ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะวินิจฉัยเพราะการที่ผู้ร้องยุบเลิกกิจการหรือหยุดดำเนินการจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับการที่ผู้ร้อง ขอ อนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านในคดีนี้ เมื่อได้ความว่าผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นคณะกรรมการลูกจ้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจตามมติคณะรัฐมนตรี โดยไม่ต้องมีพระราชกฤษฎีกา
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้วผู้ร้องจึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จะจ้างผู้คัดค้านต่อไป กรณีมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งหมดได้ ดังนี้ ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่ากิจการของผู้ร้องจะยุบเลิกหรือหยุดดำเนินกิจการได้ต่อเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบเลิกหรือหยุดดำเนินการออกใช้บังคับ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะวินิจฉัยเพราะการที่ผู้ร้องยุบเลิกกิจการหรือหยุดดำเนินการจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือไม่ไม่เกี่ยวกับการที่ผู้ร้องขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านในคดีนี้ เมื่อได้ความว่าผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นคณะกรรมการลูกจ้างได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6265/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ในคดีเดิมที่จำเลยขออนุญาตต่อศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง จำเลยอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าโจทก์แจ้งคุณสมบัติในใบสมัครงานเป็นเท็จทำให้จำเลยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของโจทก์ว่า โจทก์ลาออกจากงานที่เคยทำ ต่อมาจำเลยทราบว่าโจทก์ออกจากงานโดยถูกเลิกจ้างเพราะขาดงานเกิน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และในคดีเดิมศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ได้กำหนดว่าให้เลิกจ้างตั้งแต่เมื่อใด ทั้งการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวก็เพียงแต่พิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะให้เลิกจ้างโจทก์ได้หรือไม่ เช่นนี้เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างโจทก์ได้แล้ว จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างโจทก์ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6265/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างประจำ จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้าง
ในคดีเดิมที่จำเลยอนุญาตต่อศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง จำเลยอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า โจทก์แจ้งคุณสมบัติในใบสมัครงานเป็นเท็จทำให้จำเลยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของโจทก์ว่า โจทก์ลาออกจากงานที่เคยทำ ต่อมาจำเลยทราบว่าโจทก์ออกจากงานโดยถูกเลิกจ้างเพราะขาดงานเกิน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และในคดีเดิมศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ได้กำหนดว่าให้เลิกจ้างตั้งแต่ เมื่อใด ทั้งการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวก็เพียงแต่พิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะให้เลิกจ้างโจทก์ ได้หรือไม่ เช่นนี้เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างโจทก์ได้แล้ว จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างโจทก์ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
of 33