คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 52

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดประชุมโดยไม่ได้รับอนุญาตในโรงงานและการลงโทษตักเตือน
ตามระเบียบและข้อบังคับในการทำงานของนายจ้างระบุห้ามเปิดประชุมในบริเวณโรงงานก่อนได้รับอนุญาตจากนายจ้าง ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นกรรมการลูกจ้างได้ร่วมกันถือโอกาสแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประชุมกันระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงาน สรุปว่าพนักงานบางส่วนถูกกลั่นแกล้งไม่ได้รับความเป็นธรรม มีคนข่มขู่และใช้อิทธิพลขอให้ผนึกกำลัง ร่วมกันต่อสู้ โดยกล่าวต่อพนักงานที่กำลังรับประทานอาหารในโรงอาหารในช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน ดังนี้แม้การรับประทานอาหารในช่วงเวลาที่พักมิใช่การมาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือกันก็ตาม แต่ก็เป็นการชุมนุมอย่างหนึ่งอันอยู่ในความหมายของการประชุมด้วย เมื่อมีการประชุมแล้วผู้คัดค้านทั้งสามถือโอกาสกระทำการดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการเปิดประชุมต้องตามระเบียบ ฯ ของนายจ้างแล้ว ผู้คัดค้านทั้งสามกระทำโดยมิได้รับอนุญาตจากนายจ้างก่อนย่อมเป็นการผิดระเบียบ ฯ ดังกล่าวชอบที่นายจ้างจะลงโทษตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรตามระเบียบ ฯ นั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหลังปิดกิจการ: ศาลแรงงานมีอำนาจอนุญาต แต่ไม่สามารถกำหนดวันเลิกจ้างได้
ผู้ร้องปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดไปแล้ว ผู้ร้องจึงมีเหตุเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะสั่งอนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้แต่การที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านตั้งแต่เมื่อใดเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการออกคำสั่งอีกชั้นหนึ่งศาลแรงงานกลางไม่พึงก้าวล่วงมีคำสั่งเช่นว่านั้น
ในวันนัดไต่สวน ผู้ร้องและผู้คัดค้านส่งเอกสารต่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งงดการไต่สวน คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อผู้คัดค้านมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้ง แต่มิได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งงดการไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างย่อมมีผลเมื่อออกคำสั่ง แม้ปิดกิจการก็ต้องออกคำสั่งเลิกจ้างชัดเจน ศาลไม่อาจกำหนดผลย้อนหลัง
ผู้ร้องปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดเมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2529 ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ 29พฤษภาคม 2529 ขออนุญาตเลิกจ้าง ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง โดยให้มีผลเลิกจ้างผู้คัดค้านย้อนหลังไปถึง วันที่19 พฤษภาคม 2529 กรณีเช่นนี้ผู้ร้องมีเหตุที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ แต่การที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านตั้งแต่ เมื่อใดเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการออกคำสั่งอีกชั้นหนึ่ง ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านมีผลย้อนหลังไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการมีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ศาลไม่อาจสั่งให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังได้ ผู้ร้องต้องออกคำสั่งเลิกจ้าง
ผู้ร้องปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดเมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2529 ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2529 ขออนุญาตเลิกจ้าง ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง โดยให้มีผลเลิกจ้างผู้คัดค้านย้อนหลังไปถึง วันที่ 19 พฤษภาคม 2529 กรณีเช่นนี้ผู้ร้องมีเหตุที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ แต่การที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านตั้งแต่เมื่อใดเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการออกคำสั่งอีกชั้นหนึ่ง ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านมีผลย้อนหลังไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหลังปิดกิจการ: ศาลไม่อาจอนุญาตให้มีผลย้อนหลังได้
ผู้ร้องปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดเมื่อวันที่19พฤษภาคม2529ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่29พฤษภาคม2529ขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยให้มีผลเลิกจ้างผู้คัดค้านย้อนหลังไปถึงวันที่19พฤษภาคม2529กรณีเช่นนี้ผู้ร้องมีเหตุที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้แต่การที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านตั้งแต่เมื่อใดเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการหออกคำสั่งอีกชั้นหนึ่งศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านมีผลย้อนหลังไปไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุติข้อเรียกร้องแรงงานโดยปริยายและการย้ายลูกจ้าง การกระทำดังกล่าวไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน
การยุติและการถอนข้อเรียกร้องในกรณีที่ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องไม่ประสงค์จะเรียกร้องต่อไป ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องแล้วได้มีการเจรจากัน 2 ครั้งหลังจากนั้นเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษไม่มีการเจรจากันอีก เช่นนี้ย่อมถือได้โดยปริยายว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจที่จะเจรจากันในเรื่องของข้อเรียกร้องนั้นต่อไปอีก โดยต่างยอมยุติข้อเรียกร้องนั้นหลังจากนั้นจำเลยย้ายโจทก์ซึ่งเป็นรองประธานสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้างไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 31และมาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุติข้อเรียกร้องแรงงานโดยปริยายและการย้ายลูกจ้างที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
การยุติและการถอนข้อเรียกร้องในกรณีที่ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องไม่ประสงค์จะเรียกร้องต่อไปไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือการที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องแล้วได้มีการเจรจากัน2ครั้งหลังจากนั้นเป็นเวลาถึง2ปีเศษไม่มีการเจรจากันอีกเช่นนี้ย่อมถือได้โดยปริยายว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจที่จะเจรจากันในเรื่องของข้อเรียกร้องนั้นต่อไปอีกโดยต่างยอมยุติข้อเรียกร้องนั้นหลังจากนั้นจำเลยย้ายโจทก์ซึ่งเป็นรองประธานสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้างไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา31และมาตรา52.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุติข้อเรียกร้องแรงงานโดยปริยายและการย้ายลูกจ้างที่ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน
การยุติและการถอนข้อเรียกร้องในกรณีที่ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องไม่ประสงค์จะเรียกร้องต่อไป ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องแล้วได้มีการเจรจากัน 2 ครั้ง หลังจากนั้นเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษไม่มีการเจรจากันอีก เช่นนี้ย่อมถือได้โดยปริยายว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจที่จะเจรจากันในเรื่องของข้อเรียกร้องนั้นต่อไปอีก โดยต่างยอมยุติข้อเรียกร้องนั้นหลังจากนั้นจำเลยย้ายโจทก์ซึ่งเป็นรองประธานสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้างไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 และมาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาป่วยดูแลมารดา: เหตุผลอันสมควรในการละทิ้งหน้าที่ทางการงาน
การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน มิใช่หมายถึงการละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง ผู้คัดค้านลากิจกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดเพราะมารดาป่วยหนัก ครบกำหนดลากิจแล้วอาการของมารดาของผู้คัดค้านไม่ทุเลาลง ต้องเข้ารักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลตามลำดับ ผู้คัดค้านได้โทรเลขถึงเพื่อนร่วมงานขอให้ลาต่อแทนดังนี้ การละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านมีเหตุอันสมควร กรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 47(4) ผู้ร้องจะขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้าง
ระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องไม่ได้ระบุไว้โดยตรงว่า การกระทำผิดวินัยกรณีใดถือว่าเป็นกรณีร้ายแรง จึงต้องพิเคราะห์พฤติการณ์เป็นรายกรณีไป กรณีของผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างและกรรมการสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องขอลาป่วยต่อผู้ร้องทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ป่วยจำนวน 3 วัน แล้วไปดำเนินคดีที่ศาลแรงงานกลางให้แก่ ว.ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของผู้ร้องหรือเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาและเป็นการไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายและหลีกเลี่ยงหน้าที่การงาน นอกจากนี้ผู้คัดค้านยังถือโอกาสที่ได้รับอนุญาตให้ไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมให้แก่สมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภาที่ศาลแรงงานกลางแล้วไปดำเนินคดีให้แก่ ว. หลายครั้งหลายหนโดยใช้วิธีนัดวันให้ตรงกันแต่ต่างเวลากัน หากวันนัดไม่ตรงกัน ผู้คัดค้านก็จะใช้วิธีขอลากิจหรือลาป่วยแทนเพื่อไปดำเนินคดีให้แก่ ว. และยังปรากฏว่าผู้คัดค้านขอใช้สิทธิออกไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมของสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องและกระทำกิจกรรมส่วนตัวในปี 2526 - 2527 มีจำนวน 68 ครั้งเป็นเวลา 310 ชั่วโมงเศษ และในปี 2527-2528 มีจำนวน 82 ครั้งเป็นเวลา 390 ชั่วโมงเศษ ซึ่งผู้ร้องย่อมขาดประโยชน์ที่ควรจะได้ การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการกระทำผิดวินัยฐานรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาไม่รักษาผลประโยชน์ของนายจ้างและไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอันถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
of 33