คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 52

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้ลูกจ้างทำความสะอาดรถหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ใช่การลงโทษทางวินัย นายจ้างมีสิทธิออกคำสั่งได้
คำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างที่ให้ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไปทำความสะอาดแคร่หรือทางรถเทรลเลอร์ครั้งละ 1 วัน เป็นคำสั่งที่ผู้ร้องใช้ปฏิบัติตามประเพณี ของทางแผนกขนส่งของผู้ร้องในกรณีที่พนักงานขับรถของผู้ร้องไปเกิดอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานในหน้าที่ตลอดมาและพนักงานอื่นของผู้ร้องที่เป็นพนักงานขับรถก็ยอมรับปฏิบัติตามเช่นนี้ กรณีถือได้ว่าเป็นระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างหนึ่งของผู้ร้องแม้จะมิได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรก็ใช้บังคับได้ทั้งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าการทำความสะอาดแคร่เป็นการลงโทษทางวินัยของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมอบหมายให้พนักงานขับรถรวมทั้งผู้คัดค้านที่ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ ล้างแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์จึงมิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการมอบหมายงานเป็นกรณีพิเศษผู้ร้องจึงมีอำนาจที่จะออกคำสั่งมอบหมายงานดังกล่าวได้ซึ่งพนักงานขับรถทุกคนและผู้คัดค้านมีหน้าที่ปฏิบัติตามเมื่อผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องที่ออกโดยชอบผู้ร้องจึงมีสิทธิลงโทษผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งมอบหมายงานพิเศษหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถือเป็นการลงโทษทางวินัย นายจ้างมีอำนาจออกคำสั่งได้
คำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างที่ให้ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไปทำความสะอาดแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์ครั้งละ 1 วัน เป็นคำสั่งที่ผู้ร้องใช้ปฏิบัติตามประเพณีของทางแผนกขนส่งของผู้ร้องในกรณีที่พนักงานขับรถของผู้ร้องไปเกิดอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานในหน้าที่ตลอดมาและพนักงานอื่นของผู้ร้องที่เป็นพนักงานขับรถก็ยอมรับปฏิบัติตามเช่นนี้ กรณีถือได้ว่าเป็นระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างหนึ่งของผู้ร้องแม้จะมิได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรก็ใช้บังคับได้ทั้งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าการทำความสะอาดแคร่เป็นการลงโทษทางวินัยของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมอบหมายให้พนักงานขับรถรวมทั้งผู้คัดค้านที่ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ ล้างแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์จึงมิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการมอบหมายงานเป็นกรณีพิเศษ ผู้ร้องจึงมีอำนาจที่จะออกคำสั่งมอบหมายงานดังกล่าวได้ ซึ่งพนักงานขับรถทุกคนและผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเมื่อผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องที่ออกโดยชอบ ผู้ร้องจึงมีสิทธิลงโทษผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดตามประกาศบริษัท และการแก้ไขข้อบังคับที่ไม่เป็นโทษ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและประกาศข้อปฏิบัติของคนงานของบริษัทส.ซึ่งผู้ร้องรับโอนกิจการมานั้นกำหนดห้ามลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันในบริเวณโรงงานหรือบริเวณที่ทำงานนายจ้างก็เลิกจ้างได้แล้วแต่ตามประกาศใหม่ของผู้ร้องกำหนดห้ามลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันถึงขั้นชกต่อยตบตีทำร้ายร่างกายกันนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ประกาศใหม่ของผู้ร้องจึงหาได้เป็นโทษต่อลูกจ้างไม่ดังนั้นประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้แม้จะไม่ได้ปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก็ตามเพราะตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานได้กำหนดถึงข้อบังคับดังกล่าวว่าอาจมีการแก้ไขเพื่อความเหมาะสมกับเหตุการณ์และการทำงานของบริษัทซึ่งบริษัทจะเจรจาและปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก่อนเสมอนั้นหมายถึงกรณีที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปในทางเป็นโทษแก่ลูกจ้างเมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านได้ใช้ไม้กวาดตีทำร้ายร. ซึ่งเป็นหัวหน้างานเพราะไม่พอใจการสั่งงานศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา56วรรคสองการกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศของผู้ร้องกรณีจึงมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทำร้ายร่างกายหัวหน้างาน โดยมีประกาศบริษัทกำหนดเกณฑ์การเลิกจ้าง
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและประกาศข้อปฏิบัติของคนงานของบริษัทส. ซึ่งผู้ร้องรับโอนกิจการมานั้นกำหนดห้ามลูกจ้างโดยเพียงแต่ลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันในบริเวณโรงงานหรือบริเวณที่ทำงานนายจ้างก็เลิกจ้างได้แล้วแต่ตามประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่7กุมภาพันธ์พ.ศ.2538กำหนดห้ามลูกจ้างโดยการทะเลาะวิวาทกันนั้นต้องถึงขั้นชกต่อยตบตีทำร้ายร่างกันกันนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ประกาศใหม่ของผู้ร้องจึงหาได้เป็นโทษต่อลูกจ้างตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไม่เมื่อเป็นดังนี้ประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่7กุมภาพันธ์พ.ศ.2538ดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้แม้จะไม่ได้ปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก็ตามเพราะตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดว่า"ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนี้อาจมีการแก้ไขเพื่อความเหมาะสมกับเหตุการณ์และการทำงานของบริษัทซึ่งบริษัทจะเจรจาและปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก่อนเสมอเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างบริษัทกับลูกจ้างทุกคน"นั้นหมายถึงกรณีที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปในทางเป็นโทษแก่ลูกจ้างและเมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านได้ใช้ไม้กวาดตีทำร้ายร. ซึ่งเป็นหัวหน้างานเพราะไม่พอใจการสั่งงานซึ่งศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา56วรรคสองการกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศของผู้ร้องฉบับลงวันที่7กุมภาพันธ์พ.ศ.2538กรณีมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบังคับบริษัทและการเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิด ประกาศใหม่มีผลบังคับใช้ได้แม้ไม่ได้ปรึกษาหารือ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและประกาศข้อปฏิบัติของคนงานของบริษัท ส.ซึ่งผู้ร้องรับโอนกิจการมานั้น กำหนดห้ามลูกจ้าง โดยเพียงแต่ลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันในบริเวณโรงงานหรือบริเวณที่ทำงาน นายจ้างก็เลิกจ้างได้แล้ว แต่ตามประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 กำหนดห้ามลูกจ้างโดยการทะเลาะวิวาทกันนั้นต้องถึงขั้นชกต่อย ตบตี ทำร้ายร่างกายกันนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ ประกาศใหม่ของผู้ร้องจึงหาได้เป็นโทษต่อลูกจ้างตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไม่ เมื่อเป็นดังนี้ ประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์พ.ศ.2538 ดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้แม้จะไม่ได้ปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก็ตาม เพราะตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดว่า "ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนี้ อาจมีการแก้ไขเพื่อความเหมาะสมกับเหตุการณ์และการทำงานของบริษัทซึ่งบริษัทจะเจรจาและปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก่อนเสมอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างบริษัทกับลูกจ้างทุกคน" นั้น หมายถึงกรณีที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปในทางเป็นโทษแก่ลูกจ้าง และเมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านได้ใช้ไม้กวาดตีทำร้าย ร.ซึ่งเป็นหัวหน้างานเพราะไม่พอใจการสั่งงานซึ่งศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสอง การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 กรณีมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4700/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงานต้องเกี่ยวข้องกับกิจการสหภาพฯ โดยตรง การลาเพื่อกิจกรรมอื่นไม่อาจอ้างสิทธิได้
มาตรา102พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นเท่านั้นส่วนการประชุมที่เป็นเพียงกิจกรรมที่ผู้คัดค้านอาจเลือกไปร่วมหรือไม่ก็ได้ผู้ร้องมีสิทธิไม่อนุมัติเมื่อผู้คัดค้านไม่ได้รับอนุมัติใบลาแต่หยุดงานไปถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของผู้ร้องและละทิ้งหน้าที่อีกทั้งก่อนหน้านั้นผู้คัดค้านเคยถูกผู้ร้องเตือนเป็นหนังสือในการลางานลักษณะเดียวกันมาก่อนแสดงว่าผู้ร้องไม่อาจปกครองดูแลผู้คัดค้านในการทำงานตามหน้าที่ได้สมความมุ่งหมายพฤติการณ์ดังกล่าวมีเหตุให้เลิกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567-3568/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่งานต่อเนื่องโดยไม่มีเหตุสมควรเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้ ศาลยืนตามคำตัดสินเดิม
การที่ผู้คัดค้านทั้งสองเข้ามาในสถานประกอบการของผู้ร้องมีการลงบันทึกเวลาเข้าและออกจากที่ทำงานและมีการจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสองแต่เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองไม่ยอมเข้าทำงานตามที่ผู้ร้องมอบหมายถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยปราศจากเหตุอันสมควรผู้ร้องกล่าวในคำร้องโดยชัดแจ้งว่าผู้คัดค้านทั้งสองละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาเกินกว่า3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรจึงเป็นมูลเหตุที่ผู้ร้องประสงค์เพื่อขอให้ศาลอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองได้จึงไม่เป็นการวินิจฉัยขัดต่อพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาเพื่อดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน: ขอบเขตการคุ้มครองเฉพาะกรรมการสหภาพฯ และลูกจ้างสมาชิกเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็น กรรมการลูกจ้างและเป็นประธานสหภาพแรงงาน พ. ลาหยุดงานเพื่อไปแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานให้แก่ลูกจ้างของบริษัท ม. โดยลูกจ้างของบริษัทดังกล่าวมิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน พ. ด้วยนั้นมิใช่เป็นการลาไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานตามกฎหมายแต่เป็นการลากิจทั่วไปเมื่อผู้คัดค้านมิได้ลาหรือมิได้รับอนุญาตให้ลาจากผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและได้หยุดงานเป็นเวลา3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควรผู้ร้องจึงมีสิทธิ เลิกจ้างผู้คัดค้านได้โดยชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8013/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้ดุลพินิจศาลแรงงานในการลงโทษทางวินัย การลงโทษต้องสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับและพฤติการณ์
แม้ตามคำขอท้ายคำร้องของนายจ้างผู้ร้องได้ขอให้ศาลแรงงานอนุญาตลงโทษลูกจ้างผู้คัดค้านด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือก็ตาม แต่ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องได้กำหนดโทษทางวินัยไว้ว่า พนักงานผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาลงโทษตามที่เห็นสมควรดังนี้(1) ตักเตือนด้วยวาจา (2) ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (3) ตัดค่าจ้าง(4) ลดค่าจ้าง (5) พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างไม่เกิน 7 วัน (6) เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย จะเห็นได้ว่า การพิจารณาลงโทษพนักงานตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวต้องดูพฤติการณ์ของพนักงานที่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับตามความร้ายแรงเป็นเรื่อง ๆ ไป กรณีคดีนี้ ผู้คัดค้านขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเป็นครั้งแรกและผู้ร้องมิได้เกิดความเสียหาย ที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจา จึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว ทั้งโทษตักเตือนด้วยวาจาที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตก็เป็นโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง หาใช่เป็นการอนุญาตให้ลงโทษต่ำกว่าโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไม่ และคำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 52 ดังกล่าวมีผลเป็นเพียงการอนุญาตให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านได้เท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งแทนผู้ร้องให้มีผลลงโทษตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านได้โดยทันที หากผู้ร้องประสงค์จะใช้สิทธิลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาดังกล่าวก็จะต้องดำเนินการตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านเป็นอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้โทษตักเตือนด้วยวาจาก็เป็นโทษสถานเบากว่าโทษตักเตือนเป็นหนังสือตามที่ผู้ร้องร้องขอ คำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8013/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานมีอำนาจอนุญาตลงโทษทางวินัยลูกจ้างตามระเบียบของนายจ้างได้ โดยไม่เกินกรอบที่กฎหมายกำหนด
แม้ตามคำขอท้ายคำร้องของนายจ้างผู้ร้องได้ขอให้ศาลแรงงานอนุญาตลงโทษลูกจ้างผู้คัดค้านด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือก็ตามแต่ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องได้กำหนดโทษทางวินัยไว้ว่าพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาลงโทษตามที่เห็นสมควรดังนี้(1)ตักเตือนด้วยวาจา(2)ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร(3)ตัดค่าจ้าง(4)ลดค่าจ้าง(5)พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างไม่เกิน7วัน(6)เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยจะเห็นได้ว่าการพิจารณาลงโทษพนักงานตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวต้องดูพฤติการณ์ของพนักงานที่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับตามความร้ายแรงเป็นเรื่องๆไปกรณีคดีนี้ผู้คัดค้านขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเป็นครั้งแรกและผู้ร้องมิได้เกิดความเสียหายที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาจึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้วทั้งโทษตักเตือนด้วยวาจาที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตก็เป็นโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องหาใช่เป็นการอนุญาตให้ลงโทษต่ำกว่าโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไม่และคำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา52ดังกล่าวมีผลเป็นเพียงการอนุญาตให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านได้เท่านั้นมิใช่เป็นคำสั่งแทนผู้ร้องให้มีผลลงโทษตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านได้โดยทันทีหากผู้ร้องประสงค์จะใช้สิทธิลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาดังกล่าวก็จะต้องดำเนินการตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านเป็นอีกส่วนหนึ่งนอกจากนี้โทษตักเตือนด้วยวาจาก็เป็นโทษสถานเบากว่าโทษตักเตือนเป็นหนังสือตามที่ผู้ร้องร้องขอคำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาดังกล่าวจึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา52ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง
of 33