คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 52

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีประกาศดูหมิ่นนายจ้าง – การกระทำที่เป็นเหตุให้เลิกจ้างได้ตามระเบียบข้อบังคับ
การที่ผู้คัดค้านได้ร่วมกันเขียนประกาศที่มีข้อความดูหมิ่นเสียดสีและเหยียดหยามผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและผู้บังคับบัญชาไปปิดไว้ที่บอร์ดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ร้อง ย่อมทำให้พนักงานของผู้ร้องขาดความยำเกรง เป็นการส่งเสริมและยังยุให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้ร้องทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างผู้ร้องกับพนักงาน อันจะส่งผลเสียหายต่อผู้ร้องและพนักงาน เมื่อผู้ร้องสั่งให้เอาออก ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโดยชอบของผู้บังคับบัญชากระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ร้อง เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง และไม่เกรงกลัวความผิดที่ตนได้กระทำจงใจให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ถือว่ามีเหตุสมควรให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองกรรมการลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งจากสหภาพแรงงานและการเลิกจ้างที่ไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
การที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง กฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องแจ้งให้นายจ้างทราบ ซึ่งแตกต่างกับการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างและ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มิได้บัญญัติว่ากรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่เมื่อใดแต่ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 47บัญญัติให้กรรมการลูกจ้างอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีแต่อาจได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งใหม่ได้ แสดงว่ากรรมการลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งจากสหภาพแรงงานเป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่วันที่มีการแต่งตั้ง แม้จะยังไม่มีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างอีกส่วนหนึ่งก็ตามจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกับที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานจึงไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 52 อุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะกรรมการลูกจ้างเริ่มเมื่อใด การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล
สถานประกอบกิจการของจำเลยมีคณะกรรมการลูกจ้างได้ 11 คนลูกจ้างของจำเลยเกินหนึ่งในห้าของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน อ.สหภาพแรงงานอ. ได้แต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง6 คน โดยโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการลูกจ้างด้วย ดังนี้โจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งแม้จะยังไม่มีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างอีก 5 คนก็ตาม จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างโดยสหภาพแรงงานและการเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง กฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องแจ้งให้นายจ้างทราบ ซึ่งแตกต่างกับการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างและ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มิได้บัญญัติว่ากรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่เมื่อใด แต่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตรา 47 บัญญัติให้กรรมการลูกจ้างอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีแต่อาจได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งใหม่ได้ แสดงว่ากรรมการลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งจากสหภาพแรงาน เป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่วันที่มีการแต่งตั้ง แม้จะยังไม่มีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างอีกส่วนหนึ่งก็ตาม จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกับที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมลูกจ้างโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานจึงไม่ชอบด้วยพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52
อุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทำร้ายร่างกายในที่ทำงาน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ข้อบังคับการทำงานของผู้ร้องกำหนดประเภทการลงโทษไว้โดยมิได้ระบุขั้นตอนการลงโทษไว้ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องลงโทษตามขั้นตอนในข้อบังคับการทำงานผู้ร้องอาจเลือกวิธีใด ๆ ตามข้อบังคับการทำงานโดยพิจารณาจากความหนักเบาของความผิดของพนักงานแต่ละคน ผู้คัดค้านกระทำผิดในขณะปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ทำงานโดยไม่ยำเกรงต่อข้อบังคับการทำงานของผู้ร้อง การกระทำของผู้คัดค้านไม่เป็นเยี่ยงอย่างอันดีทำให้แตกความสามัคคี ยากแก่การปกครองบังคับบัญชา กรณีจึงมีเหตุสมควรให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้เมื่อกระทำผิดวินัยร้ายแรง แม้ข้อบังคับไม่ได้กำหนดขั้นตอนการลงโทษ
ข้อบังคับการทำงานของผู้ร้องกำหนดประเภทการลงโทษ ไว้โดยมิได้ระบุขั้นตอนการลงโทษไว้ ผู้ร้องจึงไม่จำต้อง ลงโทษตามขั้นตอนในข้อบังคับการทำงานผู้ร้องอาจ เลือกวิธีใด ๆ ตามข้อบังคับการทำงาน โดยพิจารณา จากความหนักเบาของความผิดของพนักงานแต่ละคนผู้คัดค้านกระทำผิดในขณะปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ทำงานโดยไม่ยำเกรงต่อข้อบังคับการทำงานของผู้ร้องการกระทำของผู้คัดค้านไม่เป็นเยี่ยงอย่างอันดี ทำให้แตกความสามัคคี ยากแก่การปกครองบังคับบัญชากรณีจึงมีเหตุสมควรให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่นัดหยุดงานแล้วละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และต่อมามีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยกำหนดให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงานภายในเวลาที่กำหนด ระหว่างนั้นลูกจ้างบางส่วนได้ร่วมกันทุกทำลายทรัพย์สินของนายจ้างได้รับความเสียหายนายจ้างจึงมีอำนาจออกใบรายงานตัวให้ลูกจ้างลงชื่อก่อนเข้าทำงานได้ เมื่อลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อในใบรายงานตัวและไม่ยอมเข้าทำงานในช่วงเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย ย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างได้หากลูกจ้างนั้นละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันขึ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างวางเงื่อนไขป้องกันทรัพย์สินและรักษาวินัยลูกจ้าง แม้หลังมีข้อตกลงสภาพการจ้าง
การที่ผู้ร้องวางเงื่อนไขให้ลูกจ้างทุกคนต้องลงชื่อในใบรายงานตัวก่อนเข้าทำงานเป็นการกระทำภายหลังที่ลูกจ้างของผู้ร้องกลุ่มหนึ่งร่วมกันทำลายทรัพย์สินของผู้ร้องเสียหายเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ทั้งที่ข้อเรียกร้องก็ได้เจรจาตกลงยุติไปแล้ว แม้ลูกจ้างส่วนใหญ่รวมทั้งผู้ร้องคัดค้านจะไม่อยู่ในข่ายต้องสงสัย แต่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างก็มีสิทธิที่จะหามาตรการป้องกันทรัพย์ของตนเองได้ และย่อมมีสิทธิที่จะหาวิธีการหรือวางมาตรการให้ลูกจ้างทำงานด้วยความขยันขันแข็งและอยู่ในระเบียบวินัยโดยเคร่งครัดในขอบข่ายของกฎหมายอันเป็นอำนาจบริหารทั่วไปของนายจ้าง เมื่อใบรายงานตัวไม่มีข้อความตอนใดเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นการเพิ่มภาระแก่ลูกจ้างหรือเป็นการลงโทษลูกจ้างเป็นเพียงวิธีการที่ผู้ร้องนำมาใช้เพื่อเตือนสติลูกจ้างและเน้นให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในกฎระเบียบวินัยอันเป็นหน้าที่ของลูกจ้างอยู่แล้ว ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายหรือขัดขวางลูกจ้างรวมทั้งผู้คัดค้านทั้งสองที่จะเข้าทำงานได้ตามปกติไม่ผู้ร้องจึงมีอำนาจทำได้ เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองไม่ยอมลงชื่อในใบรายงานตัวและไม่ยอมเข้าทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรผู้ร้องจึงเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่หลังเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินนายจ้าง การวางเงื่อนไขในใบรายงานตัวไม่ถือเป็นการขัดขวางการทำงาน
สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และต่อมามีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยกำหนดให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงานภายในเวลาที่กำหนด ระหว่างนั้นลูกจ้างบางส่วนได้ร่วมกันทุบทำลายทรัพย์สินของนายจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างจึงมีอำนาจออกใบรายงานตัวให้ลูกจ้างลงชื่อก่อนเข้าทำงานได้เมื่อลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อในใบรายงานตัวและไม่ยอมเข้าทำงานในช่วงเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างได้หากลูกจ้างนั้นละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันขึ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานอันเนื่องจากใส่ความทำลายชื่อเสียงนายจ้าง
การทำและแจกจ่ายเอกสารที่มีข้อความกล่าวหานายจ้างว่ามีพฤติการณ์ในทางร้าย กลั่นแกล้งและแก้แค้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานไม่เลิกราไม่เป็นไปตามที่พูดไว้ ไม่มีความสุจริตใจต้องการให้พนักงานแตกความสามัคคีพยายามทำให้สหภาพแรงงานซึ่งเป็นองค์การของลูกจ้างเลิกไป เป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอยอันเป็นข้อความที่ล้วนแต่ทำให้ลูกจ้างและผู้อ่านข้อความนั้นรู้สึกว่านายจ้างประพฤติปฏิบัติตนไม่ดี ไม่ถูกต้อง และไม่มีคุณธรรมก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างทั้งสิ้น เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
of 33