คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 108 ทวิ วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ แม้เชื่อโดยสุจริตก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่เป็นที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยออกจากที่ดินที่ตนครอบครองอยู่ภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยยังไม่ออกจากที่ดินดังกล่าว แม้จำเลยจะเชื่อโดยสุจริตในขณะเข้าครอบครองว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของตนและที่ดินดังกล่าวมิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1) และ 108 ทวิ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกสาธารณสมบัติ การก่อสร้างบนที่ดินสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีการรื้อถอนแล้วก็ยังถือเป็นความผิด
แม้ทางราชการมิได้ใช้ที่ดินพิพาทที่ได้รับการให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ทำการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตามความประสงค์ของผู้ให้ ก็ไม่ได้ทำให้จำเลยทั้งสองเกิดสิทธิที่จะบุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาทก่อสร้างอาคารหรือปลูกสร้างท่าจอดเรือลงในแม่น้ำเจ้าพระยาโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้อาคารที่ก่อสร้างจะถูกรื้อไปแล้วก็ไม่ทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นสำเร็จแล้วกลายเป็นไม่ผิด การกระทำของบริษัทจำเลยที่ 2 ที่กระทำลงไปนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวด้วย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง และ ป.อ. มาตรา 360 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 360 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่สาธารณะด้วยการก่อสร้างอาคาร การลงโทษตามกฎหมายอาญาและกฎหมายที่ดิน
จำเลยก่อสร้างระเบียงรุกล้ำทางเดินเท้าโดยทำพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กและมีหลังคาอะลูมิเนียมปกคลุม เป็นการยึดถือครอบครองและทำให้เสียหายทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทางเดินเท้า เป็นความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้และมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นกรรมเดียวเป็นความผิด ต่อกฎหมายหลายบท เมื่อลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้และมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดแล้ว จึงไม่อาจอาศัยบทเบาตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา 108 ทวิ วรรคสองมาบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินที่เข้ายึดถือครอบครองได้ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360ไม่ได้บัญญัติข้อบังคับดังกล่าวไว้
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบโดยสรุปว่าจำเลยก่อสร้างบ้านรุกล้ำที่สาธารณะ จำเลยย่อมเข้าใจและทราบได้ดีว่าที่ดินที่ถูกกล่าวหาว่าก่อสร้างอาคารรุกล้ำคือที่ดินที่อยู่ติดกับอาคารของจำเลยจึงถือว่ามีการสอบสวนในความผิดดังกล่าวโดยชอบแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องมาครั้งแรกผิดพลาดและขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นความบกพร่องของโจทก์ไม่ทำให้การสอบสวนที่ชอบแล้วกลับกลายเป็นไม่ชอบไปได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์: การบุกรุกครอบครองและสิทธิในที่ดิน แม้ยังไม่ขึ้นทะเบียน
ที่ดินแปลงใหญ่เนื้อที่ประมาณ900ไร่มีสภาพเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราษฎรหลายหมู่บ้านจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)แม้จะยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตามดังนี้จำเลยทั้งเจ็ดจะเข้าไปครอบครองมานานเท่าใดจำเลยทั้งเจ็ดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนร่วมกัน เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ไม่ขึ้นทะเบียน
ที่ดินแปลงใหญ่เนื้อที่ประมาณ 900 ไร่ มีสภาพเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราษฎรหลายหมู่บ้าน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 (2) แม้จะยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม ดังนี้ จำเลยทั้งเจ็ดจะเข้าไปครอบครองมานานเท่าใด จำเลยทั้งเจ็ดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณะ และการลงโทษความผิดหลายกรรม
จำเลยบุกรุกเข้าครอบครองที่ดินโดยรู้ว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ วรรคสอง ส่วนความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยมาด้วยนั้น กฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้ที่บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้ที่บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ไม่ได้ แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9เพราะความผิดแต่ละฐานดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ ดังนั้น จึงนำความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมาลงโทษจำเลยได้
ป.อ.มาตรา 29, 30 การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับเป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดี ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหวงห้าม: ผู้ซื้อรู้เท่าไม่ถึงการณ์มิอาจอ้างความไม่รู้ได้ แม้มี ส.ค.1
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่พ.ศ.2465และต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อพ.ศ.2479ให้ประชาชนทราบแล้วทั้งต่อมาพ.ศ.2528กรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วดังนี้ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครองเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินส.ค.1ก็ตามแต่แบบแจ้งการครอบครองส.ค.1ก็มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จึงย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หวงห้ามได้ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากณ.เมื่อพ.ศ.2530ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้วย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้ามเมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหารพ.ศ.2478มาตรา5,7(3)และประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา9(1),108ทวิวรรคสองเป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทจึงต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา9(1),108ทวิวรรคสองซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหวงห้าม: ผู้ซื้อทราบสถานะที่ดินหลังมีกฎหมายใช้บังคับ ย่อมมีความผิด
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่พ.ศ.2465และต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อพ.ศ.2479ให้ประชาชนทราบแล้วทั้งต่อมาพ.ศ.2528กรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วดังนี้ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอบเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินส.ค.1ก็ตามแต่แบบแจ้งการครอบครองส.ค.1ก็มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จึงย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หวงห้ามได้ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากณ. เมื่อพ.ศ.2530ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้วย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้ามเมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหารพ.ศ.2478มาตรา5,7(3)และประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา9(1),108ทวิวรรคสองเป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทจึงต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา9(1),108ทวิวรรคสองซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินหวงห้ามของรัฐ: จำเลยทราบสถานะที่ดินแต่ยังเข้ายึดครองและปลูกสร้างอาคารจึงมีความผิด
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่พ.ศ. 2465 และต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ พ.ศ. 2479 ให้ประชาชนทราบแล้ว ทั้งต่อมา พ.ศ. 2528 กรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้าม มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ก็ตาม แต่แบบแจ้งการครอบครอง ส.ค.1 ก็มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หวงห้ามได้
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ณ. เมื่อ พ.ศ. 2530 ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้าม เมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ
การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร พ.ศ. 2478 มาตรา 5, 7 (3) และ ป. ที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง เป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษตาม ป. ที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 (1), 108 ทวิวรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุกที่สาธารณะ: การทำนาโดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการหมู่บ้าน ไม่ถือเป็นเจตนาบุกรุก
จำเลยเข้าทำนาและกั้นรั้วในถนนสาธารณประโยชน์ เนื่องจากคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้านได้ขอตัดถนนสายใหม่ผ่านกลางที่นาของสามีจำเลย คณะกรรมการดังกล่าวมิได้จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้จึงให้สามีจำเลยและจำเลยทำนาในที่ดินส่วนหนึ่งของถนนสาธารณประโยชน์สายเก่าแทน เช่นนี้ การที่จำเลยเข้าทำนาในที่พิพาทโดยความยินยอมของคณะกรรมการดังกล่าวมิได้กระทำไปโดยเจตนาที่จะบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ แม้ต่อมาจำเลยจะทราบจากผู้ใหญ่บ้านว่าที่ดินส่วนที่จำเลยทำนาเป็นถนนสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุกเพราะจำเลยเข้าใจมาแต่ต้นว่าจำเลยมีสิทธิที่จะทำนาในที่ดินส่วนนั้นได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 2