พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนการยึดทรัพย์และการบังคับคดีเนื่องจากตกลงชำระหนี้เป็นที่พอใจ ย่อมทำให้หนี้ระงับสิ้นไป
คำแถลงของโจทก์ที่ขอถอนการยึดและการบังคับคดีมีข้อความว่า"ขณะนี้โจทก์และจำเลยตกลงกันได้แล้วและได้รับชำระหนี้เป็นที่พอใจแล้วโจทก์ไม่ประสงค์บังคับคดีนี้ต่อไปจึงขอถอนการยึดทรัพย์คดีนี้และขอถอนการบังคับคดีเสียทั้งสิ้นต่อไปด้วยฯลฯ"ข้อความดังกล่าวชัดแจ้งว่าโจทก์ขอถอนการยึดทรัพย์และการบังคับคดีเพราะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองเป็นที่พอใจแล้วตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันดังนี้เมื่อโจทก์ตกลงยกหรือปลดหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยแล้วหนี้ส่วนที่เหลือจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340โจทก์ไม่อาจจะนำหนี้ดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องให้จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้น ผู้ค้ำประกัน และผลของการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คพิพาทร่วมกับผู้ออกเช็ค ตลอดจนการรับชำระหนี้โดยมีระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาในข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปเท่าใด ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท.ผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น ส่วนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระ จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
แต่สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ ท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ ท. ทั้งนี้ตามมาตรา682 วรรคสอง เมื่อ ท.โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท.มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วย
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปเท่าใด ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท.ผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น ส่วนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระ จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
แต่สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ ท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ ท. ทั้งนี้ตามมาตรา682 วรรคสอง เมื่อ ท.โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท.มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกันเมื่อมีการชำระหนี้บางส่วนและการสละสิทธิของเจ้าหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คร่วมกับผู้ออกเช็คตลอดจนการรับชำระหนี้โดยระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้วส่วนข้อที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่อย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไปฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ท. เป็นผู้ค้ำประกันที่ยอมผูกพันตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วมมีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของท. จะเป็นผลให้จำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้หลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา685คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ท. ได้ชำระหนี้ส่วนหนี้ที่เหลือนั้นจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทนท. ไปเท่าใดจึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยท. และมีผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ทง ยังมิได้ชำระแม้โจทก์จะไม่ติดใจเรียกร้องจากท. ไม่ว่าในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความจำเลยที่1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่2ค้ำประกันหนี้รายเดียวกับที่ท. ค้ำประกันจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองเมื่อท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่2ระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340และมาตรา293จำเลยที่2จึงหลุดพ้นไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม ผู้ค้ำประกัน และผลของการชำระหนี้บางส่วน
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คร่วมกับผู้ออกเช็ค ตลอดจนการรับชำระหนี้โดยระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนข้อที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่อย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ท. เป็นผู้ค้ำประกันที่ยอมผูกพันตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของ ท. จะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้หลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 คือ จะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ ท. ได้ชำระหนี้ ส่วนหนี้ที่เหลือนั้นจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ไปเท่าใดจึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท. และมีผลให้จำเลยที่ 1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ ทง ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้รายเดียวกับที่ ท. ค้ำประกันจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อ ท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 และมาตรา 293 จำเลยที่ 2จึงหลุดพ้นไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยผู้ค้ำประกันร่วมและผลกระทบต่อความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นและผู้ค้ำประกันรายอื่น
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นหน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดีต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดียังคงมีอยู่ตามเดิมเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา685คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้นจำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ดังนี้ที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทนท. ผู้ค้ำประกันไปเท่าใดถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยท. และมีผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ท. ยังมิได้ชำระแม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจากท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระจำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ การค้ำประกันของจำเลยที่2เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับท. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองเมื่อท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่2ระงับด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340และมาตรา293จำเลยที่2จึงหลุดพ้นไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต้องชัดเจน การรับเงินชดเชยไม่ครอบคลุมค่าเสียหายอื่น
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่25พฤศจิกายน2537และจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจำนวน424,083บาทแก่โจทก์โจทก์ได้ทำหนังสือตามบันทึกเอกสารหมายจ.7ให้แก่จำเลยความว่า"ตามที่ชสท.(จำเลย)ได้เลิกจ้างข้าพเจ้าตามคำสั่งที่46/2537วันที่25พฤศจิกายน2537ข้าพเจ้าได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบชสท.ว่าด้วยการพนักงานชสท.พ.ศ.2535และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงิน424,083บาทถูกต้องแล้วและจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น"ข้อความในเอกสารที่โจทก์ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่จำเลยดังกล่าวได้ระบุประเภทของเงินไว้เฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้นมิได้ระบุถึงค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยแต่อย่างใดข้อความตอนท้ายที่ว่าจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดซึ่งจำเลยถือว่าเป็นการที่โจทก์สละสิทธิหรือปลดหนี้ให้แก่จำเลยนั้นข้อความดังกล่าวหาได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสองได้ปลดหนี้ในเงินอื่นๆรวมทั้งค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยไม่บันทึกตามเอกสารหมายจ.7ดังกล่าวโจทก์เพียงแต่รับรองว่าจะไม่ฟ้องร้องจำเลยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้นกรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสจากจำเลยได้ ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใดและโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำกัดเฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชย ไม่ครอบคลุมค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัส
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 และจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจำนวน 424,083 บาท แก่โจทก์ โจทก์ได้ทำหนังสือตามบันทึกเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่จำเลย ความว่า "ตามที่ ชสท.(จำเลย)ได้เลิกจ้างข้าพเจ้าตามคำสั่งที่ 46/2537 วันที่ 25 พฤศจิกายน2537 ข้าพเจ้าได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบ ชสท.ว่าด้วยการพนักงาน ชสท. พ.ศ. 2535 และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงิน424,083 บาท ถูกต้องแล้ว และจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น" ข้อความในเอกสารที่โจทก์ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่จำเลยดังกล่าวได้ระบุประเภทของเงินไว้เฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น มิได้ระบุถึงค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยแต่อย่างใด ข้อความตอนท้ายที่ว่าจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใด ซึ่งจำเลยถือว่าเป็นการที่โจทก์สละสิทธิหรือปลดหนี้ให้แก่จำเลยนั้น ข้อความดังกล่าวหาได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสองได้ปลดหนี้ในเงินอื่น ๆ รวมทั้งค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยไม่ บันทึกตามเอกสารหมาย จ.7 ดังกล่าวโจทก์เพียงแต่รับรองว่าจะไม่ฟ้องร้องจำเลยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสจากจำเลยได้ ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและโบนัส การรับเงินชดเชยเฉพาะกรณีไม่ถือเป็นการสละสิทธิทั้งหมด
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 และจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจำนวน424,083 บาท แก่โจทก์ โจทก์ได้ทำหนังสือตามบันทึกเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่จำเลย ความว่า "ตามที่ ชสท. (จำเลย) ได้เลิกจ้างข้าพเจ้าตามคำสั่งที่46/2537 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 ข้าพเจ้าได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบชสท.ว่าด้วยการพนักงาน ชสท. พ.ศ.2535 และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงิน 424,083 บาท ถูกต้องแล้ว และจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น" ข้อความในเอกสารที่โจทก์ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่จำเลยดังกล่าวได้ระบุประเภทของเงินไว้เฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น มิได้ระบุถึงค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยแต่อย่างใด ข้อความตอนท้ายที่ว่าจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใด ซึ่งจำเลยถือว่าเป็นการที่โจทก์สละสิทธิหรือปลดหนี้ให้แก่จำเลยนั้น ข้อความดังกล่าวหาได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสองได้ปลดหนี้ในเงินอื่น ๆ รวมทั้งค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยไม่ บันทึกตามเอกสารหมาย จ.7 ดังกล่าวโจทก์เพียงแต่รับรองว่าจะไม่ฟ้องร้องจำเลยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสจากจำเลยได้
ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่ จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงาน-กลางยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่ จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงาน-กลางยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผ่อนผันค่าปรับจากสัญญาประกันคนต่างด้าวของผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง และผลผูกพันตามสัญญา
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522แต่งตั้งให้ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองรวมทั้งอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและหากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็มีอำนาจเรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันเพื่อประกันว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดตามมาตรา19แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522ดังนี้ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้เรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเข้าทำสัญญาประกันโดยเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ประกันได้เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันคนต่างด้าวทั้งสามและหากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้และหากผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์เห็นสมควรมีคำสั่งให้ผ่อนผันการปรับจำเลยก็ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเช่นนั้นในฐานะคู่สัญญากับจำเลยและตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจหรือกรมตำรวจก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยแล้วตามสัญญาประกันย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผ่อนผันค่าปรับจากสัญญาประกันคนต่างด้าวของผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง มิได้ต้องรอความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจ
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522แต่งตั้งให้ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง รวมทั้งอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และหากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็มีอำนาจเรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันเพื่อประกันว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนด ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522ดังนี้ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้เรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเข้าทำสัญญาประกันโดยเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ประกันได้เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันคนต่างด้าวทั้งสามและหากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ และหากผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์เห็นสมควรมีคำสั่งให้ผ่อนผันการปรับจำเลย ก็ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเช่นนั้นในฐานะคู่สัญญากับจำเลยและตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจหรือกรมตำรวจก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยแล้วตามสัญญาประกันย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์