คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 340

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผ่อนผันค่าปรับจากสัญญาประกันคนต่างด้าวของผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง และผลผูกพันตามสัญญา
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522แต่งตั้งให้ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองรวมทั้งอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและหากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็มีอำนาจเรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันเพื่อประกันว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดตามมาตรา19แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522ดังนี้ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้เรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเข้าทำสัญญาประกันโดยเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ประกันได้เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันคนต่างด้าวทั้งสามและหากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้และหากผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์เห็นสมควรมีคำสั่งให้ผ่อนผันการปรับจำเลยก็ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเช่นนั้นในฐานะคู่สัญญากับจำเลยและตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจหรือกรมตำรวจก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยแล้วตามสัญญาประกันย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7717/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดหนี้จากการผ่อนผันค่าปรับในสัญญาประกันตัวคนต่างด้าว ผู้บังคับการมีอำนาจผูกพันโจทก์
จำเลยทำบันทึกรับรอง ฉ. คนต่างด้าว ภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง กรุงเทพมหานครโจทก์ แต่เมื่อครบกำหนดจำเลยไม่จัดการส่ง ฉ. เดินทางออกไปจากราชอาณาจักรไทยอ้างว่าจำวันนัดผิด โจทก์สอบสวนแล้วเห็นว่าจำเลยขาดเจตนาที่จะผิดเงื่อนไขการรับรอง จำเลยทำคำร้องขอผ่อนผันการปรับตามบันทึกรับรองต่อโจทก์ ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์ ได้มีคำสั่งเห็นชอบผ่อนผันระงับการปรับจำเลยแล้ว อันเป็น คำสั่งที่เป็นอำนาจหน้าที่ของโจทก์โดยตรงและชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์กระทำไปตามอำนาจในฐานะเป็นคู่สัญญากับจำเลยส่วนอธิบดีกรมตำรวจมิใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจ ถือว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 แล้วหนี้ค่าปรับตามสัญญาดังกล่าวจึงระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันยังไม่ระงับ หนี้หลักยังไม่สิ้นสุด ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืน เป็นเพราะโจทก์ปฏิบัตตามข้อตกลงที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งระบุว่า เมื่อเช็คชำระหนี้จำนวนเงิน4,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกชำระหนี้ให้โจทก์ถึงกำหนดชำระ ให้โจทก์นำเช็คพร้อมหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ไปเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คของจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ถูกจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1ใช้อุบายหลอกลวงขอรับหนังสือค้ำประกันไป แต่ไม่ได้มอบแคชเชียร์เช็คให้ตามข้อตกลง หาใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3 ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ไม่ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้รู้เห็นกับจำเลยที่ 1ที่ 2 หลอกลวงโจทก์ตลอดจนถึงข้อตกลงให้ไปแลกแคชเชียร์เช็คก็ตาม หาใช่เป็นการที่โจทก์แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 3 ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้ของจำเลยที่ 1ยังมิได้ระงับสิ้นไป จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยในวงเงินไม่เกิน 4,000,000 บาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนหนังสือค้ำประกันไม่ใช่การปลดหนี้ หากเกิดจากการถูกหลอกลวงให้มอบเอกสารคืน
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืน เป็นเพราะโจทก์ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งระบุว่า เมื่อเช็คชำระหนี้จำนวนเงิน 4,000,000บาท ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกชำระหนี้ให้โจทก์ถึงกำหนดชำระให้โจทก์นำเช็คพร้อมหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ไปเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คของจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ถูกจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงขอรับหนังสือค้ำประกันไป แต่ไม่ได้มอบแคชเชียร์เช็คให้ตามข้อตกลง หาใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ไม่ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ได้รู้เห็นกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 หลอกลวงโจทก์ตลอดจนถึงข้อตกลงให้ไปแลกแคชเชียร์เช็คก็ตาม หาใช่เป็นการที่โจทก์แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 3 ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้ของจำเลยที่ 1ยังมิได้ระงับสิ้นไป จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยในวงเงินไม่เกิน4,000,000 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนหนังสือค้ำประกันด้วยกลอุบายหลอกลวง ไม่ถือเป็นการปลดหนี้ค้ำประกัน
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืนนั้นเป็นเพราะถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้อุบายหลอกลวงจึงมิใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนหนังสือค้ำประกันโดยความผิดพลาดไม่ปลดหนี้ผู้ค้ำประกัน หากหนี้ยังไม่ระงับ
โจทก์คืนหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 รวม 5 ฉบับ ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไปด้วยความเข้าใจผิดของพนักงานโจทก์ โจทก์มิได้มีเจตนาประสงค์จะปลดหนี้ให้แก่จำเลยทั้งสาม แม้จำเลยที่ 3 จะได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ ซึ่งเข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสาม ว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1ยังมิได้ชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันแก่โจทก์ และหนี้ดังกล่าวหาได้ระงับไปด้วยเหตุประการอื่นใดไม่ จำเลยที่ 1ยังคงต้องชำระหนี้นั้นต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698จำเลยที่ 3 จะอ้างธรรมเนียมปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ว่าเมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับเวนคืนต้นฉบับหนังสือค้ำประกันจากจำเลยที่ 2ผู้เป็นลูกค้าโดยสุจริต แม้ไม่ได้รับเวนคืนจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 3 ก็หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแล้วหาได้ไม่ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันดังที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึงมาตรา 701 ส่วนที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าไม่อาจไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 สำหรับหลักประกันที่ได้คืนให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อยกเลิกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวได้ เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหากต่อไปหาได้เกี่ยวข้องกับการหลุดพ้นจากความรับผิดของจำเลยที่ 3ในฐานะผู้ค้ำประกันแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาหลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ย่อมมีผลผูกพันหากกระทำโดยสมัครใจและปราศจากข่มขู่
โจทก์ทำใบขอรับเงินจำนวนหนึ่งจากจำเลยโดยมีข้อความว่า ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเงิน สิทธิหรือประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีกเมื่อการทำใบขอรับเงินดังกล่าวได้กระทำหลังจากที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีอิสระแก่ตน พ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาจากจำเลยโดยสิ้นเชิงการทำเอกสารสละสิทธิตามที่กล่าวข้างต้นจึงเป็นไปตามความสมัครใจโดยแท้จริงการสละสิทธิดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การประนอมหนี้ที่ไม่สมบูรณ์
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง และดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับเงินต้นย่อมกลายเป็นต้นเงิน มิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อบอกเลิกแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาหากไม่ชำระก็เป็นดอกเบี้ยค้างชำระหรือค้างส่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินห้าปีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความหรือขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 25,000 บาทรวมทั้งดอกเบี้ยตลอดจนค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันในวันที่ 12 มกราคม 2513 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้ว 25,514.53 บาทต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน 2513 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 48,939.41 บาท เห็นได้ว่ามีทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ระคนปนกันอยู่ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ย่อมจำกัดเพียงจำนวนเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2513 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การที่ ส. อดีตผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ซึ่งยอมรับผิดต่อโจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์รวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกขึ้นฝ่ายเดียวมีข้อความว่าโจทก์ลดหย่อนความรับผิดชอบในส่วนตัวของ ส. โดยให้ ส. ชำระเงินจำนวนหนึ่งและยอมปลดจำนองที่ดินให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ยอมปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสอง แต่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการลดหย่อนความรับผิดชอบส่วนตัวของ ส. ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 หาใช่ปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสองไม่ จึงไม่มีทางที่จำเลยที่ 2จะอ้างว่าหนี้รายนี้ระงับไปแล้วโดยการประนอมหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การประนอมหนี้ที่ไม่ผูกมัดจำเลย
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง และดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับเงินต้นย่อมกลายเป็นต้นเงิน มิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อบอกเลิกแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาหากไม่ชำระก็เป็นดอกเบี้ยค้างชำระหรือค้างส่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินห้าปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความหรือขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 25,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยตลอดจนค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันในวันที่ 12 มกราคม 2513จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้ว 25,514.53 บาทต่อมาวันที่ 26มิถุนายน 2513 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 48,939.41 บาท เห็นได้ว่ามีทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ระคนปนกันอยู่ ความรับผิดของจำเลยที่ 2ย่อมจำกัดเพียงจำนวนเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2513 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การที่ ส. อดีตผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ซึ่งยอมรับผิดต่อโจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์รวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกขึ้นฝ่ายเดียวมีข้อความว่าโจทก์ลดหย่อนความรับผิดชอบในส่วนตัวของ ส. โดยให้ ส. ชำระเงินจำนวนหนึ่งและยอมปลดจำนองที่ดินให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ยอมปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสอง แต่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการลดหย่อนความรับผิดชอบส่วนตัวของ ส.ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 812 หาใช่ปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสองไม่ จึงไม่มีทางที่จำเลยที่ 2จะอ้างว่าหนี้รายนี้ระงับไปแล้วโดยการประนอมหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้ในคดีอื่น ผู้สลักหลังเช็คยังต้องรับผิดชอบตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2,3,4 เป็นผู้สลักหลังต่อมาจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลชั้นต้นให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 เสียและอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 4 ชำระเงินตามจำนวนในเช็ค คดีถึงที่สุด ดังนี้ แม้ต่อมาที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษรับคำขอประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1ซึ่งขอชำระหนี้เพียงร้อยละ 10 และศาลเห็นชอบด้วยแล้วจำเลยที่ 4 ก็จะขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 4 ตามคำพิพากษาเพียงร้อยละ 10มิได้ เพราะตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 56 นั้นการประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่อง หนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้จากลูกหนี้ในคดีล้มละลายเท่านั้น ไม่มีผลผูกมัดถึงเจ้าหนี้ของลูกหนี้คนอื่นและในคดีอื่น ทั้งการที่เจ้าหนี้ต้องถูกผูกมัดตามข้อตกลงในการประนอมหนี้นั้นก็ไม่ใช่การปลดหนี้ตามมาตรา 340 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์มิได้แสดงเจตนาต่อ จำเลยที่ 1 ว่าจะปลดหนี้ให้
of 6