คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 340

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนอมหนี้ในคดีล้มละลายต่อเจ้าหนี้รายอื่นและสิทธิในการเรียกร้องหนี้จากผู้สลักหลังเช็ค
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2, 3, 4 เป็นผู้สลักหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลชั้นต้นให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 เสียและอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยที่ 2 ที่ 3 แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 4 ชำระเงินตามจำนวนในเช็ค คดีถึงที่สุด ดังนี้ แม้ต่อมาที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษรับคำขอประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งขอชำระหนี้เพียงร้อยละ 10 และศาลเห็นชอบด้วยแล้ว จำเลยที่ 4 ก็จะขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 4 ตามคำพิพากษาเพียงร้อยละ 10 มิได้ เพราะตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 56 นั้น การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่อง หนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้จากลูกหนี้ในคดีล้มละลายเท่านั้น ไม่มีผลผูกมัดถึงเจ้าหนี้ของลูกหนี้คนอื่นและในคดีอื่น ทั้งการที่เจ้าหนี้ต้องถูกผูกมัดตามข้อตกลงในการประนอมหนี้นั้น ก็ไม่ใช้การปลดหนี้ตามมาตรา 340 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์มิได้แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 1 ว่าจะปลดหนี้ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์จำนองทรัพย์สินไว้แก่บริษัทจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 40,000 บาท แล้วโจทก์เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันบริษัทจำเลย 99,853.90 บาทก่อนบริษัทจำเลยจะถูกฟ้องคดีล้มละลายเพียง 4 วัน โจทก์ได้ชำระเงิน 50,000 บาทให้แก่บริษัทจำเลย โดยบริษัทจำเลยยอมลดหนี้ให้ 49,853.90 บาท และทำหนังสือว่าจะปลดจำนองให้ การที่บริษัทจำเลยยอมปลดหนี้จำนวน 49,853.90 บาท และปลดจำนองให้โจทก์นั้น บริษัทจำเลยได้กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นลูกหนี้ ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้ กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 แต่การที่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองและปลดหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนสูงให้แก่โจทก์เปล่าๆ ในขณะที่บริษัทจำเลยก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยฝ่ายเดียวได้กระทำลงทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237โจทก์ยังคงผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบุคคลล้มละลาย
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงแต่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อนดังนั้นการปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการปลดหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์จำนองทรัพย์สินไว้แก่บริษัทจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 40,000 บาท แล้วโจทก์เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันบริษัทจำเลย 99,853.90 บาท ก่อนบริษัทจำเลยจะถูกฟ้องล้มละลายเพียง 4 วัน โจทก์ได้ชำระเงิน 50,000 บาท ให้แก่บริษัทจำเลย โดยบริษัทจำเลยยอมลดหนี้ให้ 49,853.90 บาท และทำหนังสือว่าจะปลดจำนองให้ การที่บริษัทจำเลยยอมปลดหนี้จำนวน 49,853.90 บาท และปลดจำนองให้โจทก์นั้น บริษัทจำเลยได้กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นลูกหนี้ ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้ กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 แต่การที่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองและปลดหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนสูงให้แก่โจทก์เปล่า ๆ ในขณะที่บริษัทจำเลยก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยฝ่ายเดียวได้กระทำลงทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์ยังคงผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบุคคลล้มละลาย
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงบริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อน ดังนั้น การปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่งเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในค่าภาษีของเจ้าของใหม่ หลังการบอกเลิกสัญญาเช่า และการตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินปลูกโกดังและโอนกันต่อ ๆ มา เจ้าของโกดังคนสุดท้ายถูกฟ้องล้มละลาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จึงเป็นผลให้สัญญาเช่านั้นต้องระงับไป โกดังจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยทันทีตามข้อตกลงในสัญญาเช่า เพราะโกดังเป็นส่วนควบของที่ดิน ไม่ต้องไปทำการโอนจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของคนใหม่
มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 เป็นบทบัญญัติที่รัฐจะติดตามเอาค่าภาษีให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใด ๆ ก็ตาม บรรดาเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ต้องเป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน
การที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิไม่ไปขอรับชำระหนี้ของผู้ล้มละลายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะถือว่าเป็นการปลดหนี้ไม่ได้ เพราะเจ้าหนี้มิได้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้จึงยังไม่ระงับ
ค่าภาษีที่มิได้ชำระภาษีในเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเงินภาษีค้างชำระซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เพิ่มจำนวนขึ้น เงินค่าภาษีที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นค่าภาษีที่ค้างชำระซึ่งเจ้าของโรงเรือนและที่ดินคนใหม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าภาษีที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มภาษี โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากหนี้เงินในระหว่างเวลาผิดนัดได้ ไม่เป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
การที่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้น้อยกว่าจำนวนที่แท้จริง ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนที่แท้จริง
การชำระค่าภาษีเป็นภาระของผู้รับประเมินจะพึงนำไปชำระ จะถือว่าเทศบาลประมาทเลินเล่อไม่เรียกเก็บมิได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องนำภาษีไปชำระโจทก์แต่กลับเพิกเฉยเสีย จนโจทก์ต้องฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของที่ดินรับผิดภาษีค้างชำระหลังรับโอนโกดังจากผู้ล้มละลาย สัญญาเช่าระงับ
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินปลูกโกดังและโอนกันต่อๆ มา เจ้าของโกดังคนสุดท้ายถูกฟ้องล้มละลาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วจึงเป็นผลให้สัญญาเช่านั้นต้องระงับไป โกดังจึงตกเป็นกรรมสิทธิแก่จำเลยทันทีตามข้อตกลงในสัญญาเช่า เพราะโกดังเป็นส่วนควบของที่ดิน ไม่ต้องไปทำการโอนจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของคนใหม่
มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 เป็นบทบัญญัติที่รัฐจะติดตามเอาค่าภาษีให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิแห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใดๆ ก็ตาม บรรดาเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ต้องเป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน
การที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิไม่ไปขอรับชำระหนี้ของผู้ล้มละลายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะถือว่าเป็นการปลดหนี้ไม่ได้เพราะเจ้าหนี้มิได้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้จึงยังไม่ระงับ
ค่าภาษีที่มิได้ชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเงินภาษีค้างชำระซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เพิ่มจำนวนขึ้น เงินค่าภาษีที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นค่าภาษีที่ค้างชำระซึ่งเจ้าของโรงเรือนและที่ดินคนใหม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าภาษีที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มภาษี โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากหนี้เงินในระหว่างเวลาผิดนัดได้ ไม่เป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
การที่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้น้อยกว่าจำนวนที่แท้จริง ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนที่แท้จริง
การชำระค่าภาษีเป็นภาระของผู้รับประเมินจะพึงนำไปชำระจะถือว่าเทศบาลประมาทเลินเล่อไม่เรียกเก็บมิได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องนำภาษีไปชำระโจทก์ แต่กลับเพิกเฉยเสีย จนโจทก์ต้องฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาซื้อขาย: การตกลงเลิกสัญญาโดยคู่สัญญา ไม่ใช่การปลดหนี้โดยฝ่ายเดียว
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกสัญญาซื้อขายต่อกัน มิใช่เป็นการปลดหนี้โดยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาซื้อขายโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่การปลดหนี้ตามมาตรา 340
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกสัญญาซื้อขายต่อกัน มิใช่เป็นการปลดหนี้โดยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต และผลของการสละสิทธิอายุความมรดก
การแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 350 นั้น ลูกหนี้เดิมจะต้องมีตัวอยู่และจะต้องกระทำโดยไม่ขืนใจลูกหนี้เดิม ถ้าลูกหนี้เดิมตายไปเสียแล้ว กรณีก็ไม่ใช่การแปลงหนี้
เมื่อลูกหนี้เงินกู้ตายไปแล้ว จำเลยได้ทำสัญญาให้โจทก์ไว้ในแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันด้านหลังสัญญากู้รายนี้ ความว่า ขอทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อเจ้าหนี้ว่า ตามที่ลูกหนี้ได้กู้เงินไปนั้น ลูกหนี้ตายไปแล้ว จำเลยยอมใช้ต้นเงินดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ ดังนี้ เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่จะค้ำประกันหนี้
การที่จำเลยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ลูกหนี้ตาย เป็นการสละข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความมรดกซึ่งทายาทจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ฉะนั้น แม้เจ้าหนี้จะหมดสิทธิเรียกร้องจากทายาทเพราะคดีขาดอายุความแล้ว ก็หาทำให้จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือหลุดพ้นความรับผิดไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา698 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินด้วยวาจา: สมบูรณ์ตามกฎหมาย
การตกลงเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน และคืนเงินมัดจำกันนั้น ไม่ใช่เป็นการปลดหนี้ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือ ฉะนั้น เพียงแต่มีการแสดงเจตนาต่อกัน ก็ย่อมสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินและการคืนเงินมัดจำ: สมบูรณ์ด้วยเจตนา
การตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และคืนเงินมัดจำกันนั้นไม่ใช่เป็นการปลดหนี้ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นเพียงแต่มีการแสดงเจตนาต่อกัน ก็ย่อมสมบูรณ์
of 6