คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 131

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ยึดของกลางในคดีอาญา: ศาลฎีกาชี้ว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้มีอำนาจยึดของกลาง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64จะบัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 ไว้ว่าในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ที่เกี่ยวกับความผิดอาญาให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็ย่อมมีความหมายว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวนตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ก่อนมีการสอบสวนเท่านั้นแต่เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวน แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น
สิ่งของใดที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดและรวบรวมเก็บรักษาไว้ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131มิได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะยึดได้เฉพาะสิ่งของที่ได้มาด้วยการค้นหรือหมายเรียกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132(2) และ (3)เท่านั้น
บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้จับกุมยึดสิ่งของต่าง ๆได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสามที่ว่าสิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดเมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น นั้น หาได้หมายความว่าเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือของหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดไม่
ขั้นตอนในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้วย่อมจะต้องไปร้องทุกข์ (กล่าวโทษ) ต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือตรวจค้นยึดได้นั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ พนักงานสอบสวนก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไปและถ้าหากว่าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของนั้นไม่ใช่พยานหลักฐานอันจำเป็นในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดก็อาจไม่สั่งยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางก็ได้ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้
การมีไม้สักท่อนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ไม้ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดเมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์จากกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้ยึดไม้สักท่อนจำนวนดังกล่าวเป็นของกลางในการสอบสวนคดีอาญาแล้วก็ถือได้ว่าไม้สักท่อนของกลางดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนรวบรวมไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจ (เดิม)กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้จำเลยที่ 2เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลางที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและดำเนินการนั้น ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกันและสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ แม้กฎหมายและระเบียบที่ออกมาจะกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดีซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวน
เมื่อกรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูลจึงไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยึดของกลางในคดีป่าไม้: เจ้าหน้าที่ป่าไม้ vs พนักงานสอบสวน
แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64 จะบัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 ไว้ว่า ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯที่เกี่ยวกับความผิดอาญา ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ป.วิ.อ. ก็ย่อมมีความหมายว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวนตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ก่อนมีการสอบสวนเท่านั้น แต่เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวน แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น
สิ่งของใดที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดและรวบรวมเก็บรักษาไว้ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 131 มิได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะยึดได้เฉพาะสิ่งของที่ได้มาด้วยการค้นหรือหมายเรียกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 132 (2) และ (3) เท่านั้น
บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้จับกุมยึดสิ่งของต่าง ๆ ได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 85 วรรคสาม ที่ว่าสิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น นั้น หาได้หมายความว่า เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือของหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดไม่
ขั้นตอนในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้ว ย่อมจะต้องไปร้องทุกข์ (กล่าวโทษ)ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือตรวจค้นยึดได้นั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ พนักงานสอบสวนก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไป และถ้าหากว่าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของนั้นไม่ใช่พยานหลักฐานอันจำเป็นในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดก็อาจไม่สั่งยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางก็ได้ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้
การมีไม้สักท่อนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ไม้ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริง ตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดเมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์จากกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้ยึดไม้สักท่อนจำนวน ดังกล่าวเป็นของกลางในการสอบสวนคดีอาญาแล้ว ก็ถือได้ว่าไม้สักท่อนของกลางดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนรวบรวมไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิด ข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจ(เดิม) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้จำเลยที่ 2เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลางที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและดำเนินการนั้น ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกัน และสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ แม้กฎหมายและระเบียบที่ออกมาจะกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดีซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวน
เมื่อกรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูล จึงไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาใช้บังคับได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและสอบสวนความผิดซึ่งหน้า การใช้สายลับล่อซื้อ และการรับคำสารภาพโดยสมัครใจ
ความผิดที่จำเลยกระทำเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้จำเลย จะได้กระทำในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมี อำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 การที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จัดหาธนบัตรให้แก่สายลับ ไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย ถือเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจ สืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดปฏิบัติไปตามอำนาจ และหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ การที่พนักงานสอบสวนปกปิดชื่อและตัวสายลับไม่ได้ สอบปากคำของสายลับไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบดำเนินคดี และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนบุคคลใดเป็นพยานได้ การที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบปากคำสายลับไว้เป็นหลักฐานไม่ถือว่าการสอบสวนไม่ชอบ คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นไปโดยสมัครใจตามความสัตย์จริงจึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและความชอบด้วยกฎหมายของพยานหลักฐานในคดีอาญา
ความผิดที่จำเลยกระทำเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้จำเลยจะได้กระทำในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมีอำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมาย ย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้น ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78
การที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จัดหาธนบัตรให้แก่สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย ถือเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ
การที่พนักงานสอบสวนปกปิดชื่อและตัวสายลับไม่ได้สอบปากคำของสายลับไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบดำเนินคดี และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนบุคคลใดเป็นพยานก็ได้ การที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบปากคำสายลับไว้เป็นหลักฐานไม่ถือว่าการสอบสวนไม่ชอบ
คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นไปโดยสมัครใจตามความสัตย์จริง จึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9378/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษพยายามฆ่า: ศาลแก้ไขโทษจำคุกให้เป็นไปตามอัตราส่วนสองในสามของโทษฐานฆ่า
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาการสอบสวนคดีอาญาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควรภายในขอบเขตบทบัญญัติแห่งกฎหมายในการสอบสวนคดีนี้ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้กระทำผิดกฎหมายหรือผิดหน้าที่อย่างใดทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็มิได้บัญญัติห้ามมิให้บุคคลอื่นหรือพยานปากอื่นเข้าฟังการสอบสวนดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนปากคำพยานโจทก์ทั้งห้าปากพร้อมกันและพันตำรวจโทอ.พยานโจทก์ปากหนึ่งตรวจดูบันทึกคำให้การพยานโจทก์ชั้นสอบสวนทุกปาก พร้อมทั้งนั่งฟังการสอบสวนด้วยจึงหาทำให้การสอบสวนเสียไปไม่ โทษฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288กำหนดโทษไว้เป็น3ประการคือโทษประหารชีวิตจำคุกตลอดชีวิตและจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีโดยให้ศาลเลือกพิจารณาลงโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีในคดีนี้เป็นการพยายามกระทำความผิดต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้นซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาเลือกกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยคือโทษตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีฉะนั้นโทษสูงสุดของอัตราโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้20ปีดังกล่าวที่สามารถจะลงโทษในข้อหาฐานพยายามได้ในกรณีนี้คือ13ปี4เดือนการที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาฐานพยายามฆ่า15ปีและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการลงโทษเกินสองในสามส่วนของโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สมควรแก้ไขโทษเสียให้เป็นการถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9378/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการสอบสวนคดีอาญาและการกำหนดโทษพยายามฆ่าเกินอัตราตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.อ. การสอบสวนคดีอาญาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควรภายในขอบเขตบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในการสอบสวนคดีนี้ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้กระทำผิดกฎหมายหรือผิดหน้าที่อย่างใด ทั้ง ป.วิ.อ.ก็มิได้บัญญัติห้ามมิให้บุคคลอื่นหรือพยานปากอื่นเข้าฟังการสอบสวน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำพยานโจทก์ทั้งห้าปากพร้อมกัน และพันตำรวจโท อ.พยานโจทก์ปากหนึ่งตรวจดูบันทึกคำให้การพยานโจทก์ชั้นสอบสวนทุกปาก พร้อมทั้งนั่งฟังการสอบสวนด้วยจึงหาทำให้การสอบสวนเสียไปไม่
โทษฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 288 กำหนดโทษไว้เป็น3 ประการ คือ โทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต และจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีโดยให้ศาลเลือกพิจารณาลงโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ในคดีนี้เป็นการพยายามกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาเลือกกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยคือโทษตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ฉะนั้นโทษสูงสุดของอัตราโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ 20 ปีดังกล่าวที่สามารถจะลงโทษในข้อหาฐานพยายามได้ในกรณีนี้คือ 13 ปี 4 เดือนการที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาฐานพยายามฆ่า 15 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการลงโทษเกินสองในสามส่วนของโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สมควรแก้ไขโทษเสียให้เป็นการถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจพนักงานสอบสวน-การฟ้องคดีอาญา-การถอนคำร้องทุกข์-ไม่เป็นละเมิด
การสอบสวนคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบในการดำเนินคดีตามที่ได้รับแจ้ง และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียกบุคคลใดมาเป็นพยานหรือหมายเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นพยาน การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเชื่อคำให้การของผู้เสียหายและไม่สืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอื่นอีก เป็นดุลพินิจของจำเลย เมื่อพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ต่อศาลแล้ว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ก็มิได้หมายความว่าคดีที่โจทก์ถูกฟ้องไม่มีมูลความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานข่มขืนฆ่าและลักทรัพย์ ความรับผิดทางอาญาและอัตราโทษ
การที่พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งฝ่ายทหารให้มาฟังการสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นทหารตามข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทยนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ
พวกของจำเลยมีและใช้อาวุธมีดปลายแหลมในการกระทำผิดแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอาวุธ ดังนั้น การที่พวกของจำเลยมีและใช้อาวุธมีดปลายแหลมดังกล่าว จะถือว่าจำเลยร่วมกับพวกพกพาอาวุธมีดปลายแหลมนั้นไปในทางสาธารณะ ในหมู่บ้านด้วย หาได้ไม่
จำเลยทำร้ายและฆ่าผู้ตายโดยเจตนาให้พวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ดังนี้ การที่จำเลยกับพวกปลดเอาทรัพย์ของผู้ตายก่อนหลบหนี เห็นได้ว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ มิใช่ฐานปล้นทรัพย์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฆ่าข่มขืน ลักทรัพย์ และรับราชการทหารแทนผู้อื่น โดยพิจารณาความผิดหลายกระทงและเจตนาในการกระทำ
การที่พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งฝ่ายทหารให้มาฟังการสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นทหารตามข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทยนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ พวกของจำเลยมีและใช้อาวุธมีดปลายแหลมในการกระทำผิดแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอาวุธ ดังนั้น การที่พวกของจำเลยมีและใช้อาวุธมีดปลายแหลมดังกล่าว จะถือว่าจำเลยร่วมกับพวกพกพาอาวุธมีดปลายแหลมนั้นไปในทางสาธารณะ ในหมู่บ้านด้วย หาได้ไม่ จำเลยทำร้ายและฆ่าผู้ตายโดยเจตนาให้พวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ดังนี้ การที่จำเลยกับพวกปลดเอาทรัพย์ของผู้ตายก่อนหลบหนีเห็นได้ว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ มิใช่ฐานปล้นทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2853/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากคำเบิกความของผู้เห็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยรู้จักผู้ต้องหา ต้องมีน้ำหนักเพียงพอและมีพยานหลักฐานสนับสนุน
ผู้เสียหายชี้ ตัวจำเลยได้ถูกต้อง เพราะได้พิจารณาดู รูปถ่ายหน้าตา ผิวพรรณ และความยาวของผม แล้วจึงลงความเห็นว่าจำเลยเป็นคนร้าย เช่นนี้ การชี้ ตัวมิได้มาจากการจำคนร้ายได้แม่นยำแน่นอนแต่เป็นการพินิจ พิจารณาเชื่อมโยงลักษณะของคนร้ายที่ได้เห็น กับลักษณะของจำเลยมาเปรียบเทียบกัน คำเบิกความของผู้เสียหายที่ว่าจำจำเลยได้จึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังว่าจำเลยได้กระทำผิด.
of 5