คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ม. 264

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากขังชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ต้องหาอ้างถูกทำร้าย-ขู่เข็ญก่อนถูกสอบสวน และเหตุโต้แย้งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญไม่ชัดเจน
การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาที่ 1 ตามคำขอฝากขังของเจ้าพนักงานสอบสวนทั้งสองครั้ง โดยที่ ผู้ต้องหาที่ 1 มิได้คัดค้านประการใดนั้น เป็นคำสั่งที่ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรคสี่ แม้ต่อมาภายหลังจะปรากฏตามที่ผู้ต้องหาที่ 1 กล่าวอ้างว่า ผู้ต้องหาที่ 1 ถูกทำร้ายขู่เข็ญให้รับสารภาพมาก่อนหน้านั้น ก็ไม่มีผลทำให้คำสั่งอนุญาตให้ฝากขังที่ชอบด้วยกฎหมายต้อง กลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่ ผู้ต้องหาที่ 1 ชอบที่จะ ดำเนินคดีแก่ผู้ที่ทำร้ายตนตามสิทธิที่มีอยู่ ส่วนคำรับสารภาพ ของผู้ต้องหาที่ 1 จะรับฟังได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป็นเรื่อง ที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาลไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่ง อนุญาตให้ฝากขังทั้งสองครั้ง ตามคำร้องของ ผู้ต้องหาที่ 1 กล่าวอ้างว่า การกระทำของพนักงานสอบสวนขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 233,237, วรรคหนึ่ง,241 วรรคหนึ่งและ วรรคสอง,243 วรรคหนึ่ง และมาตรา 245 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็น การโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญแม้ผู้ต้องหาที่ 1 กล่าวในตอนท้ายคำร้องด้วยว่า บทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลอนุญาตให้ผู้ร้องฝากขังผู้ต้องหาที่ 1 ขัดแย้ง หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่มิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่าขัดหรือ แย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด จึงเป็นข้อกล่าวอ้าง ที่เลื่อนลอย ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 ต้องยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดคดีแล้ว ไม่อาจอ้างขัดรัฐธรรมนูญได้ ศาลฎีกาไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 264 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้ศาลส่งความเห็น ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ต้องด้วยมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าว จะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้นและยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่ เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือ แย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่อง ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่ เมื่อคดีนี้ ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา ของโจทก์และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งนั้นให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุด ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฯ ได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฯ โจทก์ชอบที่จะ โต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว การที่โจทก์ฎีกาโต้แย้งว่า มาตรา 264 แห่งรัฐธรรมนูญฯควรใช้บังคับกับกฎหมายสารบัญญัติซึ่งเป็นแก่น แท้ของคดีที่ฟ้อง ส่วนกฎหมายวิธีสบัญญัติเป็นคำสั่งเรื่องวิธีพิจารณาและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันทำให้กฎหมายสารบัญญัติที่พิพาทกันต้องยุติลงโดยไม่ชอบ เพราะคดีไม่ได้ขึ้นไปสู่ศาลฎีกา และการไม่ชอบเช่นนี้มีรัฐธรรมนูญฯมาตรา 26,27,28 รองรับให้คำสั่งที่ทำให้คดีต้องยุติโดยไม่ชอบนั้นดำเนินต่อไปได้โดยต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้วินิจฉัยนั้น ถือเป็นเพียงความเห็นของโจทก์ ถ้อยคำในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 264 หาได้มีความหมายดังที่ โจทก์ฎีกาไม่ประกอบกับขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 26,27,28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 264