คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.8/2528

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิกรณีเงินรับล่วงหน้า และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
คำสั่งของกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ข้อ 2 และข้อ 4.4 หมายความว่า การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นให้ถือว่ารายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้ถือว่าเป็นรายได้และรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และงานที่ทำเสร็จในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้จะยังไม่ได้รับเงินก็ต้องนำเอางานที่ทำเสร็จนั้นมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย ค่ารับเหมาก่อสร้างจำนวน 2,707,215.10 บาท เป็นเงินที่ผู้ว่าจ้างจ่ายให้โจทก์ล่วงหน้าโดยจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 รายได้รับล่วงหน้าดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้มีผลงานให้แก่ ผู้ว่าจ้าง ก็ยังไม่ถือเป็นรายได้ของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 โจทก์จึงไม่ต้องนำค่าจ้างรับล่วงหน้ามารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532
ประมวลรัษฎากรให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับได้ แต่ระเบียบ ดังกล่าวเป็นเพียงข้อกำหนดที่ให้เจ้าพนักงานประเมินยึดถือปฏิบัติตามเท่านั้น หาได้มีบทกฎหมายใดให้ศาลจำต้อง ถือตามไม่ ดังนั้น หากศาลเห็นว่าผู้ถูกประเมินให้เสียภาษีมีเหตุสมควรตามกฎหมายที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือ เสียเบี้ยปรับน้อยลง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลดหรืองดเบี้ยปรับนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9637/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การหักค่าใช้จ่าย ค่าขนส่ง และโบนัสพนักงาน ความถูกต้องตามหลักการบัญชีและกฎหมายภาษี
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.8/2528 เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ แก้ไขโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 10/2528 ข้อ 1 (2) (ค) หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อลูกจ้างขึ้น ในประเทศ ก็ให้ถือว่านิติบุคคลนั้นมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ซึ่งผู้ว่าจ้างจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 ไม่ได้ แม้คำสั่งดังกล่าวจะไม่ใช่กฎหมาย แต่เจ้าพนักงานสรรพากรต้องถือเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับ การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนั้น เมื่อโจทก์นำสืบฟังได้ว่า บริษัท ต. ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว การที่โจทก์หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว จึงถือว่าชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายนั้น ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ก็ต่อเมื่อมีการจ่ายเงิน เมื่อโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภ. เป็นที่ปรึกษาการเงินและตั้งบัญชีค้างจ่ายค่าบริการในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 ไว้ จำนวน 150,000 บาท แต่โจทก์ยกเลิกสัญญาดังกล่าวในเดือนธันวาคม 2531 แล้วนำค่าใช้จ่าย ที่ตั้งบัญชีค้างจ่ายดังกล่าวมาบวกกลับเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 แม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานการเลิกสัญญา แต่เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ยังมิได้จ่ายเงินให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภ. โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมารถยนต์โดยสารรับส่งพนักงานกับห้างหุ้นส่วน อ. โดยห้างดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสารแล้ว และเมื่อพิจารณาสัญญาดังกล่าวซึ่งกำหนดให้ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา รถยนต์โดยสารและเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น ค่าจ้างพนักงานขับรถ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษารถยนต์ ค่าภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แสดงว่าสัญญาดังกล่าวมิใช่เพียงแต่ถือผลสำเร็จของการกระทำเป็นหลักเท่านั้น แต่มีเจตนาประกอบกิจการในการรับขนคนโดยสารเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ ดังนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จึงเป็นผู้ประกอบการขนส่ง การที่โจทก์จ่ายเงินให้กับห้างฯ โจทก์จึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่ง ป. รัษฎากร ประกอบด้วยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528
พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้ง ตามค่ารายปีของทรัพย์สิน โดยให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์ใช้ในปี 2530 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปี 2531 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมิน และแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องเสียไปยังโจทก์ ภาษีดังกล่าวเรียกว่า ภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2531 เมื่อโจทก์ตั้งค้างจ่ายค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินสูงเกินจำนวน รายจ่ายค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในส่วนที่เกินไปดังกล่าวจึงถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 การที่โจทก์หักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 จึงถือเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเอง โดยไม่มีการจ่ายจริง ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป. รัษฎากร
เงินโบนัสที่โจทก์จ่ายให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเงินโบนัสปี 2528 และ 2529 ของพนักงาน การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยที่มาช่วยงานโจทก์ เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528 และปี 2529 โจทก์จึงนำรายจ่ายดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในปี 2530 ไม่ได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับ กรณีวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.37/2534 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา91/21 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.45/2536 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2536 ข้อ 2 ที่ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ชำระภาษีตามที่กำหนดในข้อ 2(ก) (ข) และ (ค) นั้น ระยะเวลาดังกล่าวตามระเบียบนั้นมิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับระยะเวลาไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/1 เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กำหนดเป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาตามมาตรา 193/8 ดังนั้น เมื่อเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนกรกฎาคม 2539 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 สิงหาคม2539 ตามมาตรา 83 วรรคสองแห่ง ป.รัษฎากร ในวันที่ 16 กันยายน 2539เพราะวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2539 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ จึงถือว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียร้อยละ 5