พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต vs. การครอบครองปรปักษ์: สิทธิใครเหนือกว่า?
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์เพื่อแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องต้องแสดงให้เห็นอำนาจพิเศษที่ดีกว่าโจทก์ ทั้งการครอบครองปรปักษ์เป็นการได้สิทธิมาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและยังมิได้จดทะเบียนนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว เมื่อคำร้องของผู้ร้องกล่าวเพียงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ โดยมิได้กล่าวว่าโจทก์ไม่สุจริต คดีจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำสืบว่าโจทก์ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโดยสุจริตหรือไม่ ต้องฟังว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา 6 ศาลมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ติดตามคำสั่งศาล & การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เมื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ในอุทธรณ์ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานศาลได้ประทับตราซึ่งมีข้อความว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งในวันนี้ได้ ผู้ยื่นจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่น และทุกๆ 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยมีลายมือชื่อทนายผู้ร้องลงชื่อรับทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องมาติดตามดูคำสั่งศาลและมารับทราบคำสั่งศาลเอง หากไม่มาถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้วตามตราที่ประทับข้อความดังกล่าว มิใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลที่จะต้องแจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบ การที่เจ้าพนักงานศาลไม่แจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบและคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งต่อมาว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ จึงไม่ใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้อง แต่คำร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี มิใช่เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ร้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง ผู้ร้องก็ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งผู้ร้องอุทธรณ์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 และจะมารับทราบคำสั่งศาลทุก 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่ง จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2545 ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้อง แต่คำร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี มิใช่เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ร้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง ผู้ร้องก็ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งผู้ร้องอุทธรณ์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 และจะมารับทราบคำสั่งศาลทุก 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่ง จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2545 ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความในคดีต่อมา สิทธิการแสดงอำนาจพิเศษไม่ใช่ข้อจำกัดตายตัว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยขอให้ขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินซึ่งเป็นแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ ซึ่งผู้ร้องให้การต่อสู้ในเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเป็นข้อต่อสู้คำฟ้องและคำให้การของผู้ร้อง จึงมีประเด็นข้อพิพาทโดยตรงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ตามที่ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานไว้ และเมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของผู้ร้อง และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยของคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ แม้ผู้ร้องให้การต่อสู้ในคดีก่อนโดยมิได้ฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้องก็ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงบทสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว หากผู้ร้องมีหลักฐานแสดงไว้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้องได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยแม้ว่าจะล่วงเวลา 8 วัน และกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้ผู้ร้องเสียสิทธิที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาเช่นว่านั้นแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงบทสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว หากผู้ร้องมีหลักฐานแสดงไว้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้องได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยแม้ว่าจะล่วงเวลา 8 วัน และกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้ผู้ร้องเสียสิทธิที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาเช่นว่านั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีกับบริวารจำเลยจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และการไต่สวนเพื่อยืนยันสถานะบริวาร
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้มีใจความว่าจำเลยยอมให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่เช่าซึ่งเป็นของโจทก์ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และจำเลยจะขนย้ายบริวารออกไปและส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนแก่โจทก์ภายในกำหนดดังนี้ เมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วยังมีผู้อยู่อาศัยในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้บังคับคดีแก่ผู้อยู่อาศัยในฐานะบริวารของจำเลยได้ตามสิทธิของโจทก์ในคดีนี้ ส่วนการที่โจทก์สามารถใช้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีกข้อหนึ่งที่อาจเข้าร่วมหรือรับสิทธิของจำเลยในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่บุคคลอื่นออกจากอาคารในที่ดินของโจทก์นั้น ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ในอีกทางหนึ่งที่โจทก์อาจเลือกใช้ได้ แต่ไม่จำกัดสิทธิของโจทก์ที่จะขอบังคับคดีในคดีนี้เมื่อมีผู้ร้องหลายรายยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าตนมิใช่บริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะดำเนินการไต่สวนและมีคำสั่งไปตามรูปคดี เพราะศาลชั้นต้นในคดีนี้กับศาลชั้นต้นในคดีอีก 3 สำนวน ก็คือ ศาลชั้นต้นศาลเดียวกัน ทั้งมิใช่การขอบังคับคดีในคดีอีก 3 สำนวนดังกล่าว การที่จะให้ผู้ร้องทุกรายไปยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษในคดีอีก 3 สำนวน โดยที่ยังมิได้มีการออกหมายบังคับคดีในคดีเหล่านั้น ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีต่อบริวารจำเลยหลังสัญญาประนีประนอม และการดำเนินการบังคับคดีที่ถูกต้อง
ตามสัญญายอมระหว่างโจทก์กับจำเลยมีใจความสำคัญว่า จำเลยจะขนย้ายบริวารออกไปจากที่ดินที่เช่าและส่งมอบที่ดินคืนแก่โจทก์ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2539 ดังนี้ เมื่อล่วงพ้นเวลาดังกล่าวและยังมีผู้อาศัยในสิ่งปลูกสร้างใน ที่ดินของโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่ขอให้บังคับคดีแก่ผู้อยู่อาศัยในสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวในฐานะบริวารของจำเลยได้ ส่วนการที่โจทก์สามารถใช้สิทธิตามสัญญายอมอีกข้อหนึ่งที่ว่า โจทก์อาจเข้าร่วมหรือรับสิทธิของจำเลยในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่บุคคลอื่นออกจากอาคารในที่ดินของโจทก์ก็ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์อีกทางหนึ่ง ซึ่งไม่มีเหตุผลใดที่จะจำกัดสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้บังคับคดีในคดีนี้ เมื่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนี้กับศาลชั้นต้นในคดีอีก 3 สำนวน ที่จำเลยได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องที่ 1 กับพวก และบุคคลอื่นให้ออกจากอาคารในที่ดินของโจทก์ก็คือศาลชั้นต้นศาลเดียวกัน จึงชอบที่โจทก์จะขอออกหมายบังคับคดีในคดีนี้ได้ เมื่อมีผู้ร้องที่ 1 กับพวก ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าตนมิใช่บริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะไต่สวนและมีคำสั่งไปตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพิเศษในการคัดค้านการบังคับคดี: ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบริวารไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
ผู้ที่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา(3) ต้องเป็นบุคคลที่ไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ผู้ร้องที่ 1 เป็นจำเลยและลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถูกบังคับคดีให้ขับไล่และต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลแม้จะอ้างว่ายื่นเข้ามาในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ อ. สามีซึ่งถึงแก่กรรมที่ได้ร่วมกันครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท แต่เมื่อผู้ร้องที่ 1 เป็นจำเลยในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่และมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่ ผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของจำเลย (คนเดียวกับผู้ร้องที่ 1) จึงเป็นบริวารของจำเลย กรณีไม่อาจอ้างฐานะอื่นเพื่อแสดงอำนาจพิเศษให้หลุดพ้นจากการถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพิเศษในการคัดค้านการบังคับคดี ต้องไม่ใช่ลูกหนี้หรือบริวารของลูกหนี้
ผู้ที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) ได้ต้องเป็นบุคคลที่ไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถูกบังคับคดีให้ขับไล่จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาล แม้จะอ้างว่ายื่นเข้ามาในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ อ. สามีซึ่งถึงแก่กรรมที่ได้ร่วมกันครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท ส่วนผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นบริวารลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'บริวาร' ในการบังคับคดี: ผู้จะซื้อที่ดินก่อนโอนกรรมสิทธิ์ยังไม่มีสิทธิพิเศษขัดขวาง
ผู้ร้องเป็นผู้จะซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินและกิจการสถานีบริการน้ำมันจากจำเลย ได้ชำระราคาบางส่วนและได้เข้าครอบครองทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อขายแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้จะซื้อมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่ผู้ร้องโดยผู้ร้องต้องชำระราคาที่เหลือ การเข้าครอบครองก่อนการโอนกรรมสิทธิ์เป็นการเข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของจำเลย ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลยซึ่งถูกศาลพิพากษาให้ขับไล่เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจดำเนินการเพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับซึ่งออกตามคำพิพากษาได้ หาใช่เป็นการบังคับคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3064/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องร้องเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิในที่ดิน แม้ยังมิได้ถูกบังคับคดี
การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าจำเลยยื่นฟ้องขับไล่ ส. และจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี ให้โจทก์ในฐานะบริวารของ ส. ออกจากที่พิพาท เมื่อโจทก์เห็นว่าตนมิใช่บริวารของ ส. แต่เป็นเจ้าของครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมานานแล้ว แสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายแพ่งอันเกี่ยวกับสิทธิในที่พิพาทแล้ว โจทก์มีสิทธิเสนอคดีของตนต่อศาลโดยยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ได้ แม้โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะปิดประกาศกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)ในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ส. ออกจากที่พิพาทก็ตาม เพราะบทบัญญัติดังกล่าวแม้หากบุคคลนั้นไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ก็เป็นเพียงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหาได้มีผลเป็นการตัดสิทธิห้ามบุคคลนั้นจะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ไม่ และเมื่อโจทก์มิได้ร้องขอเข้าไปในคดีที่จำเลยบังคับขับไล่ ส. โจทก์จึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความในคดีนั้นย่อมไม่ผูกพันในผลแห่งคดีดังกล่าวหรือจะถูกต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องไม่ว่าจะด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการแสดงอำนาจเหนือทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี: ระยะเวลาการยื่นคำร้องและการสันนิษฐานสถานภาพ
ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296จัตวา (3) ไม่ใช่เอกสารที่ศาลกำหนดให้ส่งแก่คู่ความหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในคดีตามมาตรา 67 และ 70 แต่เป็นประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ปิดประกาศให้ผู้ที่มีอำนาจพิเศษเหนือทรัพย์ที่ถูกบังคับคดียื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษของตน อันเป็นมาตรการส่วนหนึ่งในการบังคับคดีให้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและถูกต้อง และเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่ความเลยใช้สิทธิของตนเหนือทรัพย์สินที่กำลังถูกบังคับคดีอยู่ ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายจึงต้องบังคับโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อมิให้การบังคับคดีต้องล่าช้าอันอาจเป็นผลเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ เพราะฉะนั้นตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3)ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นจึงเริ่มนับแต่วันที่มีการปิดประกาศโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลาสิบห้าวันไปเสียก่อนตามมาตรา 79 วรรคสอง
ปัญหาว่าระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและมิได้ให้ความยินยอมก็ตามแต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
ปัญหาว่าระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและมิได้ให้ความยินยอมก็ตามแต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้