พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการแสดงอำนาจเหนือทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี: ระยะเวลาการยื่นคำร้องและการสันนิษฐานสถานภาพ
ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296จัตวา (3) ไม่ใช่เอกสารที่ศาลกำหนดให้ส่งแก่คู่ความหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในคดีตามมาตรา 67 และ 70 แต่เป็นประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ปิดประกาศให้ผู้ที่มีอำนาจพิเศษเหนือทรัพย์ที่ถูกบังคับคดียื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษของตน อันเป็นมาตรการส่วนหนึ่งในการบังคับคดีให้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและถูกต้อง และเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่ความเลยใช้สิทธิของตนเหนือทรัพย์สินที่กำลังถูกบังคับคดีอยู่ ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายจึงต้องบังคับโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อมิให้การบังคับคดีต้องล่าช้าอันอาจเป็นผลเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ เพราะฉะนั้นตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3)ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นจึงเริ่มนับแต่วันที่มีการปิดประกาศโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลาสิบห้าวันไปเสียก่อนตามมาตรา 79 วรรคสอง
ปัญหาว่าระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและมิได้ให้ความยินยอมก็ตามแต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
ปัญหาว่าระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและมิได้ให้ความยินยอมก็ตามแต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การห้ามฎีกาในคดีฟ้องขับไล่และคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องที่เป็นบริวารของจำเลย
เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้าน ซึ่งจำเลยเช่าไปจากโจทก์ อันเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏในสำนวนว่า โจทก์ให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทในอัตราค่าเช่าเท่าใด คงได้ความว่า ผู้ร้องเสียค่าเช่าให้โจทก์ในอัตราเดือนละ 120 บาท จึงฟังได้ว่าค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท คู่ความในคดีฟ้องขับไล่เดิมย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้อง ซึ่งเป็นบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าผู้ร้องสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ก็ตาม คดีนี้ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคสาม
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลอ้างว่ามิใช่บริวารของจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา (3) การที่คดีฟ้องขับไล่ระหว่างโจทก์จำเลยในคดีเดิม จะมีการส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้องผิดพลาดหรือไม่ หาได้มีผลเกี่ยวข้องกับคดีของผู้ร้องไม่ ดังนั้น ผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเดิมหาได้ไม่
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลอ้างว่ามิใช่บริวารของจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา (3) การที่คดีฟ้องขับไล่ระหว่างโจทก์จำเลยในคดีเดิม จะมีการส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้องผิดพลาดหรือไม่ หาได้มีผลเกี่ยวข้องกับคดีของผู้ร้องไม่ ดังนั้น ผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเดิมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการครอบครองอาคารและการเป็นบริวารทางกฎหมาย
โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ประกอบการค้าในสวนลุมพินีต่อไปอีก30 ปี และจำเลยที่ 1 ตกลงจะสร้างอาคารใหม่ขึ้นอีก 1 แห่ง แต่ขณะนั้นจำเลยที่ 1ไม่มีเงินเพียงพอ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงให้ผู้ร้องเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างอาคารให้โจทก์เช่นนี้ต้องถือว่าผู้ร้องสร้างอาคารพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยินยอมให้ผู้ร้องประกอบการค้าในอาคารที่ก่อสร้างได้ก็ตาม แต่ผู้ร้องก็เข้าไปอยู่ในอาคารและที่ดินพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบริวารไม่ใช่ผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6702/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: บริวารจำเลย แม้ไม่ได้เป็นคู่ความ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทและขอให้บังคับจำเลยกับบริวารออกไปจากบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันได้ โดยโจทก์ยอมขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย หากจำเลยผิดนัดให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์ และยอมขนย้ายบริวารและทรัพย์สินออกจากที่ดินและบ้านพิพาทภายในกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารจำเลยแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายใน 8 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นบริวารของจำเลย ดังนี้ เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว การที่ผู้ร้องยังอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทจึงถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะบริวารของจำเลยแม้ผู้ร้องไม่ได้ถูกฟ้องและเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วยก็ตาม โจทก์ย่อมขอบังคับคดีแก่ผู้ร้องได้ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทน-หุ้นส่วนที่มิได้เปิดเผยชื่อ: สิทธิในชั้นบังคับคดี
ตามที่ปรากฏในสำนวนจำเลยไม่เคยกล่าวถึงการเป็นหุ้นส่วนกับผู้ร้องหรือการเป็นตัวแทนของผู้ร้อง ผู้ร้องเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ จึงไม่อาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันมีต่อตัวแทนก่อนที่จะรู้ว่าผู้ร้องเป็นตัวแทนนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 806 และในเรื่องหุ้นส่วนผู้ร้องผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ตามมาตรา 1049 เช่นกัน สิทธิของผู้ร้องที่อาจมีอยู่หรือได้มาก็โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่มีอยู่และแสดงออกต่อบุคคลภายนอกหรือโจทก์เท่านั้นเสมือนหนึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยหรือเป็นบริวารของจำเลย ดังนั้น ในชั้นบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา(3) มาใช้ยันแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195-3197/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีเช่าช่วงตึกแถวที่ศาลฎีกาเคยพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนจำเลยในคดีนี้ฟ้องโจทก์ที่1ว่าผิดสัญญาเช่าขอให้ขับไล่โจทก์ที่1และบริวารออกจากตึกแถวเลขที่933/3และ933/4และเรียกค่าเสียหายคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังว่าโจทก์ที่1ผิดสัญญาเช่าให้ขับไล่โจทก์ที่1และบริวารออกจากตึกแถวที่เช่าโจทก์ที่1กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าฉบับเดียวกันดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายดังนี้ฟ้องคดีก่อนและคดีนี้คงมีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ที่1มาฟ้องเป็นคดีนี้อีกว่าโจทก์ที่1ไม่ผิดสัญญาฟ้องของโจทก์ที่1คดีนี้จึงซ้ำกับคดีก่อนส่วนโจทก์ที่2และที่3ยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษในคดีก่อนโดยโจทก์ที่2ยื่นคำร้องว่าโจทก์ที่2ไม่ใช่บริวารของโจทก์ที่1ขอให้งดการบังคับคดีและให้จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนไปจดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทชั้น2,3และ4ให้แก่โจทก์ที่2ส่วนโจทก์ที่3ก็ยื่นคำร้องว่าไม่ใช่บริวารของโจทก์ที่1ขอให้ยกเลิกการบังคับคดีศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ที่2และที่3เป็นบริวารของโจทก์ที่1ให้ยกคำร้องของโจทก์ที่2และที่3ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ที่2และที่3ฎีกาขณะคดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ที่2และที่3จึงไม่ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุดและคดีก่อนประเด็นแห่งคดีมีว่าโจทก์ที่2และที่3เป็นบริวารของโจทก์ที่1หรือไม่ส่วนคดีนี้ประเด็นแห่งคดีมีว่าจะบังคับจำเลยจดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ที่2และที่3ได้หรือไม่จึงแตกต่างกันการที่โจทก์ที่2และที่3ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนบ้านและการกักขังบริวารลูกหนี้ ผู้รับมอบอำนาจไม่แสดงอำนาจพิเศษ
โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้โจทก์รื้อบ้านและออกไปจากที่ดินของจำเลย ตราบใดที่โจทก์ยังไม่รื้อบ้านดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลย จำเลยชอบที่จะขอให้ศาลออกหมายจับเพื่อจับกุมโจทก์มากักขังไว้จนกว่าจะรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลย เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยังคงอยู่ในบ้านที่ถูกบังคับให้ต้องรื้อไปตามคำพิพากษา แต่ไม่ปรากฏว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศ ดังนี้ จำเลยย่อมขอให้ศาลออกหมายจับกุมผู้รับมอบอำนาจโจทก์มากักขังได้เช่นเดียวกัน เพราะกฎหมายถือว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นบริวารของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
โจทก์แพ้คดีและถูกบังคับให้ต้องรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลยตามฟ้องแย้งแล้ว กลับมาอ้างในชั้นบังคับคดีว่าโจทก์มิใช่เจ้าของบ้านดังกล่าวจึงไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาได้นั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์กล่าวอ้างขึ้นเพื่อประสงค์ให้การบังคับคดีของจำเลยถูกประวิงให้ล่าช้าออกไปเท่านั้น และการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ย้ายออกจากบ้านดังกล่าวไปอยู่ที่อื่นแล้วก็ดี หรือบุคคลที่ยังอยู่ในบ้านมิใช่บริวารของโจทก์ก็ดี หาเป็นเหตุให้โจทก์และบริวารพ้นจากความรับผิดในอันที่จะถูกจับกุมไม่
โจทก์แพ้คดีและถูกบังคับให้ต้องรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลยตามฟ้องแย้งแล้ว กลับมาอ้างในชั้นบังคับคดีว่าโจทก์มิใช่เจ้าของบ้านดังกล่าวจึงไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาได้นั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์กล่าวอ้างขึ้นเพื่อประสงค์ให้การบังคับคดีของจำเลยถูกประวิงให้ล่าช้าออกไปเท่านั้น และการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ย้ายออกจากบ้านดังกล่าวไปอยู่ที่อื่นแล้วก็ดี หรือบุคคลที่ยังอยู่ในบ้านมิใช่บริวารของโจทก์ก็ดี หาเป็นเหตุให้โจทก์และบริวารพ้นจากความรับผิดในอันที่จะถูกจับกุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อบ้านและการกักขังลูกหนี้และบริวารที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา
โจทก์มีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้โจทก์รื้อบ้านและออกไปจากที่ดินของจำเลยตราบใดที่โจทก์ยังไม่รื้อบ้านดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยจำเลยชอบที่จะขอให้ศาลออกหมายจับเพื่อจับกุมโจทก์มากักขังไว้จนกว่าจะรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลยเมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยังคงอยู่ในบ้านที่ถูกบังคับให้ต้องรื้อไปตามคำพิพากษาแต่ไม่ปรากฎว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศดังนี้จำเลยย่อมขอให้ศาลออกหมายจับกุมผู้รับมอบอำนาจโจทก์มากักขังได้เช่นเดียวกันเพราะกฎหมายถือว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นบริวารของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์แพ้คดีและถูกบังคับให้ต้องรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลยตามฟ้องแย้งแล้วกลับมาอ้างในชั้นบังคับคดีว่าโจทก์มิใช่เจ้าของบ้านดังกล่าวจึงไม่อาจปฎิบัติตามคำพิพากษาได้นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์กล่าวอ้างขึ้นเพื่อประสงค์ให้การบังคับคดีของจำเลยถูกประวิงให้ล่าช้าออกไปเท่านั้นและการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ย้ายออกจากบ้านดังกล่าวไปอยู่ที่อื่นแล้วก็ดีหรือบุคคลที่ยังอยู่ในบ้านมิใช่บริวารของโจทก์ก็ดีหาเป็นเหตุให้โจทก์และบริวารพ้นจากความรับผิดในอันที่จะถูกจับกุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องบังคับจดทะเบียนเช่าไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีก่อน
ในคดีก่อนเมื่อจำเลยบังคับคดีตามฟ้องแย้งแก่ ส. และโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ขอแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) ว่าโจทก์ได้สิทธิการเช่าและมิใช่บริวาร ซึ่งศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ขอบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาเช่าอันเดียวกับคดีก่อนจึงเป็นคนละประเด็นกับคดีก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขับไล่ - ศาลมีอำนาจออกหมายจับบริวารหากไม่ปฏิบัติตามคำบังคับเมื่อคดีมีลักษณะเป็นการฟ้องแย้งเพื่อส่งมอบอสังหาริมทรัพย์
นอกจากจำเลยจะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาแล้ว ยังฟ้องแย้งขอให้โจทก์ส่งมอบตึกพิพาทแก่จำเลยและห้ามโจทก์ทั้งสองและบริวารเกี่ยวข้องกับตึกพิพาทด้วย จึงเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(1) เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินเดือนละ68,000 บาท นับแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะออกจากตึกพิพาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินที่ต้องชำระแต่ละเดือนจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะชำระเสร็จแก่จำเลย เช่นนี้การที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่โจทก์ทั้งสองและบริวารได้ออกจากตึกพิพาทแล้วหรือไม่และออกไปเมื่อใด จึงเป็นกรณีที่พอแปลความหมายได้ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารต้องออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ วรรคหนึ่งซึ่งมีผลอย่างเดียวกับให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารออกจากตึกพิพาทอยู่ในตัว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับบริวารของโจทก์ทั้งสองตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากไม่ยอมออกไปจากตึกพิพาทตามคำบังคับจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(1) แล้ว