คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิสุทธิ์ ศรีขจร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในความผิดลักทรัพย์ซ้ำ และการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41(8)
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรและบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือนในความผิดฐานลักทรัพย์มาแล้ว 6 คดี หลังจากพ้นโทษทั้งหกคดีแล้ว จำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกภายในเวลาสิบปีนับแต่จำเลยพ้นโทษ ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุไว้ ตาม ป.อ. มาตรา 41 (8) เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องมิใช่ข้อหาในความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น จึงไม่อยู่ในบังคับที่ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานลักทรัพย์และรับว่าเคยต้องโทษจำคุกและพ้นโทษตามฟ้องจริง โจทก์จึงไม่ต้องนำพยานเข้าสืบ และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพดังกล่าวได้ ทั้งเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ กับเคยต้องโทษจำคุกและพ้นโทษในคดีอื่นๆ อีก 6 คดี ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือนในความผิดฐานลักทรัพย์และจำเลยกระทำผิดในขณะที่มีอายุเกินกว่าสิบแปดปี จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวแล้ว ภายในเวลาสิบปีจำเลยมากระทำผิดคดีนี้ฐานลักทรัพย์ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือนอีก จึงเข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นจะนำมาพิจารณากักกันจำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 41 (8) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว และคำขอคืนเงินไม่เป็นฟ้องซ้อน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ศ. หลอกลวงผู้เสียหายซึ่งเป็นลูกค้าและทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัท ศ. ว่าบริษัท ศ. มีนโยบายสมนาคุณให้แก่ลูกค้าพิเศษ มีโครงการรับฝากเงินแบบออมทรัพย์พิเศษจากลูกค้าโดยจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอัตราร้อยละ 10 ต่อปี จ่ายผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้าทุก 6 เดือน อันเป็นความเท็จ โจทก์ร่วมหลงเชื่อสั่งจ่ายเช็ค 21 ฉบับ ให้จำเลยแล้วจำเลยนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือไม่ ศาลต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมมีเจตนาฝากเงินแต่ละครั้งตามวันเดือนปีที่โจทก์ร่วมสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับให้แก่จำเลยหรือโจทก์ร่วมมีเจตนาฝากเงินเพียงครั้งเดียว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ขอให้คืนเงินแม้ถือว่าเป็นการขอแทนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 แต่เป็นกรณีที่เนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาอันเป็นมูลละเมิดเท่านั้น ส่วนคดีแพ่งโจทก์ร่วมฟ้องว่าจำเลยและบริษัท ศ. ฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์และเรียกทรัพย์คืนอันเป็นมูลหนี้มาจากการผิดสัญญา ถึงแม้คำขอบังคับส่วนแพ่งในคดีนี้และคดีแพ่งเป็นอย่างเดียวกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิใช่เป็นอย่างเดียวกัน กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 คำขอให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์ร่วม จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยและบริษัท ศ. ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ พิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7009/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีค้ามนุษย์: ต้องพิจารณาโดยศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์
คดีค้ามนุษย์อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 ซึ่งมาตรา 38 บัญญัติว่า การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีค้ามนุษย์ ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาคดีมาจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7353/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลสั่งไม่รับฟ้องคดีเกินอำนาจศาลแขวง หลังประเมินราคาทรัพย์สินใหม่พบทุนทรัพย์สูงกว่าเกณฑ์
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลชั้นต้นดำเนินการประเมินราคาสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทและอาคารซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวตามคำสั่งศาลฎีกาว่า สิทธิการเช่าที่ดินพิพาทมีมูลค่า 1,218,982.33 บาท ส่วนอาคารซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าว หักค่าเสื่อมราคาแล้วมีมูลค่า 204,624 บาท โดยคู่ความมิได้คัดค้านราคาประเมินดังกล่าว คดีนี้จึงมีทุนทรัพย์ที่ฟ้องเกินกว่า 300,000 บาท อันทำให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลชั้นต้นต้องสั่งไม่รับฟ้อง ดังนั้นการพิจารณาคดีนี้ตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องจนถึงคดีเสร็จการพิจารณาและพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่ 1 ที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ อีกทั้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่ตามมาก็ไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม) เห็นสมควรให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดตั้งแต่ชั้นรับฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5035/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ของผู้ขับขี่เมาแล้วขับ และความผิดกรรมเดียวความผิดหลายบท
จำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางในขณะเมาสุรา และขับรถด้วยความเร็วสูงปาดหน้ารถคันอื่นไปมาบนถนนสาธารณะในลักษณะเปลี่ยนช่องทางเพื่อหลบหนีการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจ โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรง รถจักรยานยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ขับในขณะเมาสุราและขับโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและความเดือดร้อนของผู้อื่น จึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง อันพึงริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราและขับรถด้วยความเร็วสูงเปลี่ยนช่องทางไปมาโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ขณะที่จำเลยยังคงมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 131 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แสดงว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองฐานในขณะเดียวกันและต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาเดียวคือขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดมานั้น เป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10098/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค้ำประกัน, การรับสภาพหนี้, และการล้มละลายของลูกหนี้
การที่ลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 6 ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ จึงทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้ที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นย่อมเป็นโทษแก่ลูกหนี้ที่ 7 ผู้ค้ำประกันด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ ซึ่งมีผลต่อผู้ค้ำประกันด้วย เมื่อสัญญากู้ยืมเงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนี้ที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ผู้ร้องมีหนังสือให้ลูกหนี้ที่ 7 มาปรับโครงสร้างหนี้ 2 ครั้ง ครั้งแรก ลูกหนี้ที่ 7 ได้รับหนังสือ ครั้งที่ 2 ลูกหนี้ที่ 7 ไม่มารับหนังสือภายในกำหนด ผู้ร้องจึงประกาศหนังสือพิมพ์แทน แต่ลูกหนี้ที่ 7 มิได้มาติดต่อกับเจ้าหนี้แต่ประการใด จึงถือว่าลูกหนี้ที่ 7 ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ ตามที่เจ้าหนี้สั่งโดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ส่วนที่ลูกหนี้ที่ 7 ยื่นคำคัดค้านต่อสู้ว่า ตนเองมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ได้นั้น ก็มิได้นำพยานมาสืบให้เห็นว่าตนเองมีทรัพย์สินใดบ้างพอชำระหนี้หรือไม่ จึงรับฟังไม่ได้ตามที่ลูกหนี้ที่ 7 อ้าง กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ที่ 7 ล้มละลาย แต่ลูกหนี้ที่ 7 ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 7 เด็ดขาดตามที่ผู้ร้องขอมาในอุทธรณ์ไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ 7 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 87 และมาตรา 84
of 3