พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5368/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากร: คดีพิพาทเกี่ยวกับหนี้ภาษีอากรและการเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล
กรมสรรพากรโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองมาเป็นมรดกของ น.ผู้ค้างชำระภาษีอากรแก่โจทก์ตามเดิม เนื่องจากจำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ น.ได้โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2ทั้ง ๆ ที่จำเลยทั้งสองรู้ว่า น. เป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์อยู่ทำให้โจทก์เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉล จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง โดยจำเลยที่ 1 ต่อสู้ด้วยว่า น.ไม่ได้ค้างชำระค่าภาษีอากรหรือหนี้ใด ๆ แก่โจทก์ ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีข้อหนึ่งมีว่า น. เจ้ามรดกค้างชำระหนี้ภาษีอากรต่อโจทก์อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่ ดังนั้นหากได้ความว่า น.เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรจริงตามฟ้อง ศาลจึงจะต้องพิจารณาในประเด็นข้ออื่น ๆ ต่อไป หากไม่ได้ความเช่นนี้ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง ประเด็นที่ว่า น. เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญของคดีถือได้ว่าเป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่เป็นคดีภาษีอากร แต่อยู่ในอำนาจศาลแพ่ง
คดีที่กรมสรรพากรโจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2ให้เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินกลับคืนมาเป็นมรดกของ น. ที่ค้างชำระหนี้ค่าภาษีอากรอยู่แก่โจทก์ มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดีภาษีอากรของศาลแพ่งตามมาตรา 31 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากร: คดีแบ่งคืนทรัพย์สินให้ผู้ถือหุ้น ไม่ใช่ข้อพิพาทภาษีโดยตรง
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในคดีนี้เนื่องจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ชำระบัญชีแบ่งคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2ถึงที่ 8 ผู้ถือหุ้นโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 เรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้ว แต่จำเลยที่ 1เพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ดังนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแม้จะเป็นคดีแพ่ง แต่มิใช่คดีแพ่งที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 7(2)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 เพราะเป็นเรื่องที่พิพาทกันว่าจำเลยที่ 2ถึงที่ 8 จะต้องคืนทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อที่โจทก์จะได้บังคับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระหรือไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต่อศาลภาษีอากร การที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่ม 448,954.74 บาท พร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษี 326,616.50 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์เช่นนี้อาจมีผลทำให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 รับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรและการคำนวณเงินเพิ่มเกินจำนวนภาษีที่ต้องเสีย
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในคดีนี้เนื่องจากจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ผู้ชำระบัญชีแบ่งคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ผู้ถือหุ้นโดยไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1269 โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1เรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 233 ดังนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแม้จะเป็นคดีแพ่ง แต่มิใช่คดีแพ่งที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 เพราะเป็นเรื่องที่พิพาทกันว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จะต้องคืนทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อที่โจทก์จะได้บังคับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต่อศาลภาษีอากร
การที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่ม 448,954.74 บาท พร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5ต่อเดือนของเงินภาษี 326,616.50 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์เช่นนี้ อาจมีผลทำให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 รับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เพราะ ป.รัษฎากรมาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้ แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
การที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่ม 448,954.74 บาท พร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5ต่อเดือนของเงินภาษี 326,616.50 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์เช่นนี้ อาจมีผลทำให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 รับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เพราะ ป.รัษฎากรมาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้ แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่อ้างอิงราคาผู้นำเข้าอื่นต้องเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ช่วงเวลาใกล้เคียง และพิกัดเดียวกัน มิฉะนั้นถือเป็นราคาไม่แท้จริง
โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีดังกล่าวตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 7(1),8 โจทก์มิได้กล่าวในคำฟ้องว่า การที่เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วสั่งให้โจทก์เพิ่มราคา มิใช่เป็นการประเมินภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์ยกข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าโดยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่น แต่สินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นนั้นเป็นของคนละประเภทต่างพิกัดประเภทย่อยกับสินค้าของโจทก์ และระยะเวลาที่นำของเข้าก็แตกต่างกันมาก ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในความหมายของคำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง ราคาของที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเพิ่มขึ้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการประเมินจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากร: คดีพิพาทเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สิน ไม่ใช่คดีภาษีอากร
การที่โจทก์ฟ้องอธิบดีกรมสรรพากรให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 โดยอ้างว่าทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของโจทก์มิใช่ของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรนั้น มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรกลาง: คดีพิพาทเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สิน ไม่ใช่คดีภาษีอากรโดยตรง
การฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ของอธิบดีกรมสรรพากร ตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรจำกัดเฉพาะคดีภาษี การฟ้องเพิกถอนยึดทรัพย์ไม่ใช่คดีภาษี
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าประกาศยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์โจทก์ของจำเลยโดยใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12เป็นโมฆะและขอให้เพิกถอนเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ตามอำนาจของจำเลยว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ดังนี้ ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีในช่วงพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) ผู้เสียภาษีต้องยื่นคำขอและชำระภาษีตามกำหนด
โจทก์ฟ้องว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2529 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการประเมินดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะเวลาที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2529 ยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีจนกว่าจะถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 เป็นการยกข้อกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจ เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน อย่างไรก็ตามผู้ต้องเสียภาษีที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรตามมาตรา 30 จะต้องเป็นผู้ที่ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในเดือนกรกฎาคม2529 และได้ชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ยื่นคำขอด้วย แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีและชำระภาษีตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาตามพระราชกำหนด ดังกล่าว โจทก์คงกล่าวอ้างเพียงว่าโจทก์ไม่มีเงินได้และไม่ได้กระทำการค้าที่จะต้องเสียภาษี จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีตามพระราชกำหนด เป็นฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีบำรุงท้องที่ระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และสิทธิในการไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ชำระหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ที่จำเลยต้องรับผิดให้แก่โจทก์ หากจำเลยจะมีสิทธิไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างใด ก็มิใช่เป็นหนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือคดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของจำเลยที่มีต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีภาษีอากร แม้จำเลยจะอยู่ในระหว่างที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ จำเลยก็ต้องรับผิดในเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบต่อปีของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่จะอ้างเหตุว่าถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มหาได้ไม่.