คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม: การคำนวณระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่โจทก์จะฟ้องคดีภาษีอากรต่อศาลภาษีอากรกลางได้จะต้องเป็นคดีที่ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 สำหรับคดีเกี่ยวกับการขอคืนภาษีอากรนั้น ในกรณีที่กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรบัญญัติให้ขอคืนเงินค่าภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะดำเนินการในศาลภาษีอากรได้ ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเช่นว่านั้น ตามมาตรา 9 ทั้งต้องมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
คดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยมีหนังสือแจ้งไม่คืน โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ต่อมาโจทก์ได้ชี้แจงและนำส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการขอคืนเพิ่มเติม จำเลยมีหนังสือยกเลิกคำสั่งแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากร และโอนเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่โจทก์ แต่ไม่คืนดอกเบี้ยตาม ป.รัษฎากร มาตรา 4 ทศ เห็นได้ว่าดอกเบี้ยตามมาตรา 4 ทศ เป็นดอกผลโดยนิตินัยของภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์เสียเกินไปกว่าจำนวนที่ต้องเสีย และจำเลยต้องพิจารณาสั่งคืน เมื่อจำเลยสั่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ไม่คืนดอกเบี้ยแก่โจทก์ ย่อมมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายแพ่งแล้ว
การคำนวณดอกเบี้ยต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันครบกำหนดระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับเงินคืนภาษีอากรข้อ 1 (2) มิใช่นับแต่วันส่งเอกสารจนครบ เนื่องจากการที่เจ้าพนักงานเรียกให้ส่งมอบเอกสารหลักฐานให้ตรวจสอบ ตามข้อ 2 วรรคสาม มีผลเพียงให้ระงับการคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันสุดท้ายของเวลาที่เจ้าพนักงานสั่ง ตามข้อ 2 วรรคสี่ เท่านั้น เมื่อนับแต่วันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีในเดือนภาษีที่พิพาทแต่ละฉบับจนถึงวันที่ลงนามในคำสั่งคืนเงินเป็นระยะเวลาที่พ้นกำหนดสามเดือน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ย
ตามหนังสือที่แจ้งให้โจทก์ไปพบเจ้าพนักงานเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงและนำส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 18 เมษายน 2556 เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานที่เรียกเอกสารหรือพยานหลักฐานที่กำหนดเวลาไว้น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ข้อ 2 วรรคสาม จำเลยไม่อาจระงับการคิดดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจนถึงวันที่ลงในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงิน
กฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ข้อ 1 วรรคสอง นั้น ให้คิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่จำเลยลงนามในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงิน หลังจากนั้นไม่มีการคิดดอกเบี้ยแก่โจทก์อีก จำเลยชอบที่จะเร่งรัดคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ชำระเกินไปพร้อมดอกเบี้ย เมื่อจำเลยลงนามในหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์อีกต่อไป การที่ดอกเบี้ยการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มหยุดลงตั้งแต่วันที่จำเลยลงนามในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนภาษีแล้ว หาใช่การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดไม่ โจทก์ชอบที่จะได้รับการเยียวยาความเสียหาย เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมาตรา 4 ทศ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ระหว่างการพิจารณา จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนจำนวน 651,143.76 บาท ความเสียหายในส่วนนี้ได้รับการบรรเทาไปแล้ว จึงเห็นควรกำหนดค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดอกเบี้ยภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังค้างจ่ายแก่โจทก์ นับแต่วันถัดจากวันลงนามในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนภาษีจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6735/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม: สิทธิการรับดอกเบี้ย, การคำนวณดอกเบี้ย, และการเรียกร้องค่าเสียหายจากความล่าช้า
คดีนี้ เจ้าพนักงานของจำเลยไม่ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มเติม แต่มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับเงินคืนภาษีอากรไปยังโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามมาตรา 84/3 ประกอบมาตรา 4 ทศ แห่ง ป.รัษฎากร เนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ข้อ 1 (2) จึงเป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (3) ซึ่งมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติให้ดำเนินการในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ และ ป.รัษฎากร ได้บัญญัติไว้เพียงกำหนดเวลาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและแบบในการขอคืนเท่านั้น มิได้กำหนดให้ผู้ขอคืนภาษีอากรที่ไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานเกี่ยวกับการขอคืนภาษีดังกล่าวต้องอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานด้วย เมื่อดอกเบี้ยที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนค่าภาษีอากร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องรอฟังผลการพิจารณาอุทธรณ์จากจำเลยก่อน
แม้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเกิดจากมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายหรือมีเครดิตภาษียกมา ต่างก็ถือได้ว่าเป็นกรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับเงินคืนภาษีอากร ข้อ 1 (2) โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากจำเลย
จากบทบัญญัติ มาตรา 84/3 และมาตรา 4 ทศ แห่ง ป.รัษฎากร จำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนหมายถึงจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยอนุมัติให้คืนแก่โจทก์ หาใช่จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มหลังจากได้มีการหักกลบลบหนี้กันแล้ว การคิดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้คืนเงินภาษีอากรจึงต้องพิจารณาจากจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงินอันเป็นวันสุดท้ายที่สามารถคิดดอกเบี้ยได้ หาอาจนำจำนวนเงินที่มีการหักกลบลบหนี้ภายหลังจากการมีคำสั่งแจ้งคืนเงินมาใช้เป็นฐานในการคำนวณดอกเบี้ย
สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกมาตามฟ้องโดยอ้างว่า การที่จำเลยไม่สั่งให้ดอกเบี้ยในระหว่างยังไม่ได้คืนเงินภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ในเวลาที่คืนเงินภาษีอากรล่าช้าแก่โจทก์ เป็นกรณีจำเลยไม่ให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์เพื่อบรรเทาความเสียหายในระหว่างได้รับเงินภาษีอากรล่าช้า โจทก์จึงขอเรียกค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนนั้น เป็นกรณีที่ยังมีข้อต่อสู้ให้ศาลต้องวินิจฉัยให้ชัดเจนเสียก่อนว่า โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยเนื่องจากเข้าหลักเกณฑ์การให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับเงินคืนภาษีอากรหรือไม่ และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานของจำเลยใช้ดุลพินิจไปตามอำนาจหน้าที่ จึงยังไม่สมควรกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: ผู้ยื่นคำร้องต้องมีอำนาจตามกฎหมาย หรือได้รับมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นไม่มีสิทธิฟ้อง
ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้ถือว่าการที่เทศบาลนครจำเลยรับคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ไว้พิจารณาและมีคำวินิจฉัยแล้ว เป็นการรับรองว่าผู้ลงลายมือชื่อในคำร้องมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และเป็นกรณีที่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะกลับมาอ้างว่าคำร้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายในภายหลัง หากจำเลยพบในภายหลังถึงเหตุที่ทำให้คำร้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะผู้ลงลายมือชื่อในคำร้องไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างโต้แย้งอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
ป. มิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือได้รับมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ให้ลงนามแทนในคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน คำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ ป. ยื่นต่อจำเลย เป็นการยื่นคำร้องที่ผู้รับประเมินมิได้ลงนามหรือมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ตัวแทนลงนาม จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 26 และมาตรา 27 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5990/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีตามหลักเกณฑ์ก่อน จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาล
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 10) และคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.85/2542 โดยไม่มีอำนาจนำราคาขายยาสูบสูงสุดที่กำหนดโดยอธิบดีกรมสรรพสามิตตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาใช้เป็นฐานภาษีเพื่อวัตถุประสงค์ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเป็นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับบุหรี่ซิกาแรตเพิ่มขึ้น และตั้งแต่มีประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดราคายาสูบที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2549 โดยอาศัยความตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 บังคับใช้แล้วนั้น เมื่อระหว่างวันที่ 18 กันยายน 2549 จนถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2549 โจทก์ต้องรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มในจำนวนที่เพิ่มขึ้นแล้ว 78,880,000 บาท โจทก์กำลังเตรียมยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยอ้างอิงถ้อยคำที่ถูกต้องของบทบัญญัติมาตรา 79/5 แห่ง ป.รัษฎากร กล่าวคือคำนวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่มโดยอ้างอิงจากจำนวนเต็มของราคาขายปลีก คำฟ้องของโจทก์พอถือได้ว่าโจทก์มุ่งประสงค์ที่จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ชำระไปแล้วอันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามมาตรา 7 (3) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ซึ่งมาตรา 9 ระบุเงื่อนไขว่าคดีตามมาตรา 7 (3) ในกรณีที่กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรบัญญัติให้ขอคืนค่าภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้จะดำเนินการในศาลภาษีอากรได้ต่อเมื่อมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาเช่นว่านั้น เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติหมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วน 8 เครดิตภาษีและการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 84/1 และ 84/2 แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าเสื่อมราคาที่ถูกต้องตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง เจ้าพนักงานประเมินต้องปรับปรุงตามต้นทุนที่พิสูจน์ได้
การอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 ให้ถือเอาราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้นเป็นข้อพิจารณาว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่แตกต่างจาก ป.วิ.พ. มาตรา 224 ที่ให้ถือเอาราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นข้อพิจารณาว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์สำหรับข้อหาขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งผลขาดทุนคิดเป็นเงินภาษีที่พิพาทกันจำนวน 347,380.91 บาท อันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำอุทธรณ์ของโจทก์ที่คัดค้านการประเมินตามหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิ หนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากร และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีพิพาทมีข้อความว่า ขออุทธรณ์คัดค้านตามความในมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้ "ข้อ 2 โจทก์พิจารณาแล้วเห็นว่า หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิ หนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากรและหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ จึงขออุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดให้เพิกถอนการประเมินที่มิชอบทั้งหมด แต่เนื่องจากโจทก์ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ด้วย โจทก์จึงขออนุญาตให้เหตุผลข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ตลอดจนเอกสารที่ใช้ประกอบในการอุทธรณ์ของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นพิจารณา" เป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 28 และ 30 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินว่า หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนซึ่งเกี่ยวพันกันจึงขออนุญาตให้เหตุผล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตลอดจนเอกสารที่ใช้ประกอบในการอุทธรณ์ในชั้นพิจารณา เป็นกรณีโจทก์อุทธรณ์โต้แย้งการแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว แม้เหตุผลการค้านในคำอุทธรณ์จะไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับรายจ่าย แต่โจทก์ได้ยกรายจ่ายต่างๆ ขึ้นอ้างในการฟ้องคดีนี้อันเป็นเหตุผลอีกข้อหนึ่งที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อเป็นการสนับสนุนว่า การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือการแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทไม่ชอบนั่นเอง เป็นเรื่องที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6817/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์การประเมินอากรทำให้การประเมินเป็นที่ยุติ จำเลยต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง
ตามมาตรา 112 ฉ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2543 ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์การประเมินนั้นก็เป็นยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ เมื่อคดีนี้จำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากการประเมินผิดพิกัดและอัตราอากร จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 แต่ถือได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7 (1) เนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกหนี้ค่าภาษีอากร แต่เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่ถือว่าการประเมินเป็นที่ยุติแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระค่าอากรตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลาง: การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
การที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามบทบัญญัติมาตรา 264 วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ นั้น ต้องเป็นกรณีที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่ศาลพิจารณาอยู่ การที่จะพิจารณาว่าศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ จะต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่จำเลยให้การว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางแต่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 276ที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาตรา 9 บัญญัติยกเว้นมิให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 6นั้น จึงมิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีต้องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 6 จึงไม่มีเหตุที่ศาลภาษีอากรกลางจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลาง: การส่งความเห็นขัดแย้งบทบัญญัติกฎหมายให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง กรณีที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ต้องเป็นกรณีที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่ศาลพิจารณาอยู่ การที่จะพิจารณาว่าศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณาคดีนี้หรือไม่ จะต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 7 จำเลยให้การว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางแต่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 276 ที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง ฯ มาตรา 9 บัญญัติยกเว้นมิให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 6 นั้น มิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีต้องด้วยรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 6 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลาง: การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องเกิดจากบทบัญญัติที่ศาลจะใช้บังคับในคดี
การที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ต้องเป็นกรณีที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่ศาลพิจารณาอยู่ การที่จะพิจารณาว่าศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ จะต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 ดังนั้น การที่จำเลยให้การว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง แต่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 276 ที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 บัญญัติยกเว้นมิให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 6 จึงมิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีต้องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตรา 6 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3202/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การอุทธรณ์การประเมินมิใช่การโต้แย้งสิทธิของโจทก์
ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(2) ส่วนคู่กรณีที่พิพาทกันจะฟ้องได้เมื่อใดหรือไม่ภายในระยะเวลาเท่าไรจะต้องพิจารณากฎหมายอื่นประกอบด้วย การที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรโจทก์แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้วจำเลยไม่ชำระค่าภาษีแต่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อันเป็นการใช้สิทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ซึ่งกฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์การประเมินได้ ก็เพื่อจะให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตรวจคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่ชำระค่าภาษีอากรตามที่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิที่จะทำให้โจทก์นำคดีมาฟ้องในขณะที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้
of 5