พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองต้องให้สิทธิคู่กรณีทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งได้ แม้เป็นงานนโยบายก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
การพิจารณาพิพากษาคดีปกครองเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในระบบไต่สวน ซึ่งมุ่งหมายให้ศาลทำหน้าที่ค้นคว้าหาความจริงและตรวจสอบการพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นมีข้อความว่าคู่ความประสงค์ให้ศาลวินิจฉัยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539มาตรา 3,4,5 และมาตรา 37 หรือไม่ โดยมิได้กล่าวถึงมาตรา 30 ที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง แต่เมื่อคำนึงถึงความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์แล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์มุ่งหมายให้ศาลตรวจสอบการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องถือว่าโจทก์ยังประสงค์ให้ศาลพิจารณาและวินิจฉัยว่าการออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 30 หรือไม่ และถือไม่ได้ว่าเป็นการสละประเด็นข้อนี้
งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหมายถึงงานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน มิใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 16 ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักร จึงมิใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรงตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 4(3) ทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรตามมาตรา 4(7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 4(3) และ (7) จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งก่อน จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนได้ตามมาตรา 50
งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหมายถึงงานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน มิใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 16 ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักร จึงมิใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรงตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 4(3) ทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรตามมาตรา 4(7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 4(3) และ (7) จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งก่อน จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนได้ตามมาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักตัวชาวต่างชาติที่ถูกสั่งห้ามเข้าประเทศและการใช้ดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีคำสั่งไม่อนุญาตให้อ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร เพราะมีพฤติการณ์ค้ายาเสพติดและเป็นธุระจัดหาผู้หญิงเพื่อส่งไปประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 16 อ.ย่อมมีลักษณะต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 12(10) คำสั่งนั้นย่อม มีผลใช้บังคับได้จนกว่าถูกยกเลิกหรือเพิกถอน หลังจากนั้นอ. ได้เดินทางเข้าออกราชอาณาจักรหลายครั้ง โดยได้รับอนุญาตและมีหนังสือเดินทางถูกต้อง แต่ก็หามีผลทำให้อ. กลับกลายเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะไม่ต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรไม่ ดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจพบ อ. ในราชอาณาจักร จึงจับอ.ส่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามมาตรา 22และ 54 แต่พนักงานอัยการขอรับตัว อ.มาฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลในความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469ก่อนแม้ศาลในคดีดังกล่าวจะอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว อ.กับห้ามมิให้อ.เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และแม้อ. จะมีกำหนดเดินทางออกนอกราชอาณาจักรก่อนถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมไม่กี่วันก็ตาม แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมืองฯ มาตรา 54 วรรคสาม ก็มีอำนาจรับตัวและกักตัว อ. ไว้ต่อไปได้ ณ สถานที่ใดเป็นเวลานานเท่าใดตามความจำเป็นเนื่องจาก อ.เป็นคนต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตดังกล่าว เมื่อไม่ได้ความว่าคำสั่งของ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ให้กักตัว อ. เพื่อรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงถือไม่ได้ว่าการกักตัว อ. เป็นการคุมขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันจะเป็นเหตุให้ศาลสั่งปล่อยตัว อ.ตามที่ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาของ อ. ร้องต่อศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 240 ได้