พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้จัดการกิจการโรงเรียนเมื่อจำเลยไม่อยู่ การดำเนินการเกินอำนาจที่ศาลแต่งตั้ง
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจัดการกิจการโรงเรียนเทคโนโลยีฉะเชิงเทราแทนจำเลยผู้ไม่อยู่ชั่วคราวจนกว่าจำเลยจะกลับมา และผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการกิจการของโรงเรียนดังกล่าว ผู้ร้องย่อมมีอำนาจจัดการแต่เฉพาะในกิจการของโรงเรียนเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 48 วรรคหนึ่งหาใช่กรณีที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ตามมาตรา 48 วรรคสองอันจะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไม่ แม้ในเหตุฉุกเฉินผู้ร้องก็ไม่อาจจะก้าวล่วงไปจัดการในกิจการอื่นของจำเลยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีระยองเฉลิมพระเกียรติแทนจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4556/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 เพื่อรักษาสิทธิในการอุทธรณ์
จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ถูกยกเลิกเพิกถอนไปได้ ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีของผู้ค้ำประกันร่วม
โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเช่าให้โจทก์ปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) แต่ผู้เดียวเพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4)เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้มีฐานะเป็นผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไปได้ แม้ศาลแพ่งจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการจำเลยที่ 1 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ก็ตาม
จำเลยที่ 4 กล่าวมาในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดี ย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง สัญญาไม่ถูกต้องเป็นโมฆะ ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลและโจทก์ไม่เสียหายใด ๆ จากสัญญาเท่านั้น โดยจำเลยที่ 4 มิได้แสดงรายละเอียดว่าสัญญาฉบับไหนไม่ถูกต้องเป็นโมฆะเพราะเหตุใด ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลอย่างไรและเหตุใดโจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากสัญญา เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208วรรคสุดท้าย
จำเลยที่ 4 กล่าวมาในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดี ย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง สัญญาไม่ถูกต้องเป็นโมฆะ ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลและโจทก์ไม่เสียหายใด ๆ จากสัญญาเท่านั้น โดยจำเลยที่ 4 มิได้แสดงรายละเอียดว่าสัญญาฉบับไหนไม่ถูกต้องเป็นโมฆะเพราะเหตุใด ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลอย่างไรและเหตุใดโจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากสัญญา เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับที่มิชอบและการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ที่ล่าช้า ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 เดิม เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยผู้ขาดนัดพิจารณาที่จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ โดยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่เมื่อได้มีการส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้แก่จำเลย หรือภายใน 15 วัน นับแต่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ซึ่งในการส่งคำบังคับนั้น ต้องเป็นการส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) หากการส่งคำบังคบให้แก่จำเลยไม่ใช่เป็นการส่งไปยังสถานที่ดังกล่าวแล้ว ก็ถือว่าเป็นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยมิชอบ เมื่อยังไม่มีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยชอบ กำหนดระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 วรรคหนึ่ง(เดิม)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงยังไม่เริ่มนับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุข้อผิดพลาดของคำพิพากษาอย่างชัดเจน และแสดงเหตุผลที่ศาลอาจเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาได้
จำเลยกล่าวอ้างในคำขอให้พิจารณาใหม่แต่เพียงว่าสัญญากู้เป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการที่โจทก์จัดให้แก่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ โจทก์ต้องเสนอข้อพิพาทต่อศาลแรงงานกลาง และจำเลยโต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจฟ้องและยอดหนี้ที่โจทก์ฟ้อง หากจำเลยมีโอกาสต่อสู้คดี คำพิพากษาคงเปลี่ยนแปลงไป อันเป็นข้ออ้างลอย ๆมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใดอย่างไร ทั้งไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่าหากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว จึงเป็นคำขอที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยการเสียบไว้ที่มือจับประตูเหล็กยืดไม่ถือเป็นการปิดเอกสารโดยชอบ จำเลยไม่จงใจขาดนัด
การปิดคำคู่ความหรือเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ต้องกระทำให้มีลักษณะแน่นหนา ไม่หลุดออกไปโดยง่าย การที่เจ้าพนักงานศาลเพียงแต่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง กับหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปเสียบไว้ที่เหล็กที่ใช้เป็นมือจับสำหรับปิดเปิดประตูเหล็กยืดที่บ้านจำเลย ซึ่งอาจหลุดและปลิวไปได้โดยง่าย ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการปิดคำคู่ความหรือเอกสารโดยชอบ ดังนั้นเมื่อยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบ จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ชอบที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8138/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำพิพากษาอย่างชัดเจน มิใช่เพียงโอกาสชนะคดี
คำขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคสอง ต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งทั้งเหตุที่ขาดนัดและทั้งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยในข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลนั้นกล่าวไว้เพียงว่า หากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีและนำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์แล้ว จำเลยมีโอกาสชนะคดีเนื่องจากโจทก์จำเลยไม่เคยมีมูลหนี้ต่อกันตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องเท่านั้น กรณีจึงเป็นเพียงการชี้แจงข้อเท็จจริงให้ศาลทราบ มิใช่ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นเพราะมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบประการใดเพราะเหตุใด และเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนให้เห็นได้ชัดแจ้งว่า หากให้มีการพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิจารณาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิจารณาไปแล้ว ซึ่งจะเป็นผลให้จำเลยชนะคดีได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำพิพากษาชัดเจน ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับคำร้องที่ไม่ถูกต้อง
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวอ้างแต่เหตุที่จำเลยขาดนัดและเหตุแห่งการที่ยื่นคำขอล่าช้า ไม่ได้กล่าวอ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยแพ้คดี ไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใดอย่างไรและไม่ได้แสดงเหตุผลว่าหากมีการอนุญาตให้พิจารณาใหม่ จำเลยจะชนะคดีได้อย่างไรเป็นคำร้องที่มิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลแม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องและไต่สวนพยานจำเลยไปบ้างแล้วก็มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งไม่รับคำร้องเพื่อให้ถูกต้องได้เพราะมีอำนาจสั่งได้เมื่อเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด ศาลต้องพิจารณาเหตุจงใจขาดนัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว การพิจารณาคำขอดังกล่าวจึงต้องพิจารณาเป็นลำดับ คือ ศาลต้องพิจารณาคำขอนั้นก่อนว่าถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207และ 208 หรือไม่ แล้วพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนั้นมาศาลไม่ได้หรือไม่ ตามมาตรา 209 วรรคหนึ่ง การที่คู่ความจงใจขาดนัดก็เป็นกรณีไม่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้นั่นเองเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า โจทก์พลั้งเผลอเป็นเหตุให้หลงลืมวันนัดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ไม่ใช่เหตุอันสมควรที่โจทก์จะมาศาลไม่ได้และยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงเท่ากับศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4041/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยปิดประกาศและการขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ การดำเนินการตามมาตรา 79 วรรคแรกชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ และยื่นอุทธรณ์ในปัญหาว่าการนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกโดยปิดประกาศหน้าศาลเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 หรือไม่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยเรื่องนี้ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายในกำหนด 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ และกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาไม่สามารถที่จะทำได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและแจ้งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบโดยวิธีอื่นโดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 จึงเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคแรก แล้วครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 23กรกฎาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและฟังได้ว่ามีการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วจริง การที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนไปนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 11 กันยายน 2539 และศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยวิธีปิดประกาศหน้าศาล โดยศาลชั้นต้นให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องส่งโดยวิธีการปิดหมายการดำเนินการดังกล่าวเป็นอีกวิธีการหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 มีผลเช่นเดียวกับการปิดหมาย การนัดสืบพยานนัดแรกโดย ประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยขาดนัดโดยไม่จงใจ จำเลยมีหน้าที่นำสืบแต่จำเลยนำสืบเพียงว่าไม่มีการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โดยมิได้นำสืบถึงพฤติการณ์อย่างอื่นให้เห็น จึงฟังว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายในกำหนด 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ และกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาไม่สามารถที่จะทำได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและแจ้งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบโดยวิธีอื่นโดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 จึงเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคแรก แล้วครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 23กรกฎาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและฟังได้ว่ามีการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วจริง การที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนไปนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 11 กันยายน 2539 และศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยวิธีปิดประกาศหน้าศาล โดยศาลชั้นต้นให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องส่งโดยวิธีการปิดหมายการดำเนินการดังกล่าวเป็นอีกวิธีการหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 มีผลเช่นเดียวกับการปิดหมาย การนัดสืบพยานนัดแรกโดย ประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยขาดนัดโดยไม่จงใจ จำเลยมีหน้าที่นำสืบแต่จำเลยนำสืบเพียงว่าไม่มีการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โดยมิได้นำสืบถึงพฤติการณ์อย่างอื่นให้เห็น จึงฟังว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ