พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือและการพิจารณาข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงการประเมินค่าเสียหาย
ขณะที่โจทก์เขียนหนังสือพิพาททั้งสองเล่มนั้น โจทก์มีหน้าที่โดยตรงในการประเมินผลการฝึกอบรมของหน่วยงานราชการ ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจัดทำเอกสารหรือเขียนตำราทางวิชาการเพื่อใช้ในการฝึกอบรม การที่โจทก์เขียนหนังสือดังกล่าวขึ้นจึงไม่ถือว่าเป็นงานที่โจทก์ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ในกรอบงานของโจทก์ และหน่วยงานราชการที่โจทก์สังกัดก็มิได้มีคำสั่งให้โจทก์เขียนหนังสือดังกล่าวหรือมีการจ่ายค่าตอบแทนให้ อีกทั้งโจทก์เขียนหนังสือดังกล่าวนอกเวลาราชการ จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ขึ้นเอง
ในการเขียนหนังสือของโจทก์ โจทก์ได้กำหนดเค้าโครงการเขียน และได้คิดกำหนดสารบัญรวมทั้งได้เขียนอธิบายเนื้อหาสาระและรายละเอียดต่าง ๆ แต่ละประเด็นโดยใช้ถ้อยคำและคำอธิบายของโจทก์ใหม่ทั้งหมดตามความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ทำขึ้นโดยไม่ได้ลอกเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมหนังสือพิพาททั้งสองเล่มนั้น หาใช่หน่วยราชการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 14 ไม่
แนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไม่ใช่สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 วรรคสอง บุคคลสามารถที่จะนำแนวความคิดทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ตราบเท่าที่การใช้ประโยชน์ของบุคคลนั้นไม่เป็นการทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นกล่าวคือหากนำแนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ของบุคคลอื่นไปสร้างสรรค์งานวรรณกรรมของตน ก็จะต้องสร้างสรรค์งานนั้นขึ้นมาโดยมีเนื้อหารายละเอียดและลักษณะการแสดงออกซึ่งความคิดของตนเองมิใช่เพียงแต่คัดลอกหรือเลียนแบบงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นในส่วนอันเป็นสาระสำคัญซึ่งถือว่าเป็นการทำซ้ำ หรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15(1) หากกระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27(1)แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เมื่อปรากฏว่าหนังสือของจำเลยมีข้อความที่เหมือนและคล้ายกับข้อความที่ปรากฏอยู่ในหนังสือของโจทก์ทั้งสองเล่มในส่วนอันเป็นสาระสำคัญของงานประมาณ 30 หน้า จากจำนวนประมาณ 150 หน้า โดยข้อความบางตอนมีลักษณะเกือบเหมือนกันคำต่อคำ บางตอนมีลักษณะดัดแปลงให้ต่างกันเล็กน้อยและบางตอนก็เพียงแต่ปรับเปลี่ยนหัวข้อเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำซ้ำ และดัดแปลงงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อจำเลยกระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
จำเลยเป็นผู้ทำซ้ำและดัดแปลงงานวรรณกรรมอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ และได้เผยแพร่งานดังกล่าวทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัด แม้ตั้งราคาจำหน่ายใกล้เคียงกับต้นทุน ไม่ได้หากำไรเท่าธุรกิจเอกชนก็เป็นการกระทำเพื่อหากำไร โดยรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์
การที่หน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัด จัดพิมพ์ตำราต่าง ๆ ตามระเบียบภายในของหน่วยงานดังกล่าวตามขั้นตอน จึงย่อมจะเป็นเหตุให้ไม่อาจทราบในเบื้องต้นได้ว่าหนังสือที่เขียนขึ้นละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ และต่อมาได้หารือกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้วเห็นว่าหนังสือของจำเลยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์และจำเลยจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างสรรค์ขึ้นมา และจำเลยจะทำละเมิดลิขสิทธิ์ในหนังสือสองเล่มของโจทก์หรือไม่ ยังเป็นปัญหาที่มีเหตุผลของแต่ละฝ่ายที่หน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัดก็ได้ใช้ความพยายามในการแสวงหาข้อยุติอย่างเต็มที่แล้ว ทั้งได้จัดจำหน่ายหนังสือของจำเลยโดยเปิดเผย จึงฟังไม่ได้ว่าหน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าหนังสือที่จำเลยเขียนขึ้นโดยการละเมิดลิขสิทธิ์ในวรรณกรรมของโจทก์ แล้วจำหน่ายหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งหนังสือดังกล่าวเพื่อการค้าอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 31(1) และ (2)
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในกรณีที่อ้างว่าเป็นการวิจัยและใช้เป็นเอกสารประกอบการสอนโดยไม่ได้แสวงหากำไร โดยมีการอ้างอิงที่มาของข้อความไว้แล้วนั้นประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการคือ (1) เป็นการกระทำต่าง ๆ ตามที่มาตรา 32วรรคสอง และมาตรา 33 บัญญัติไว้ (2) การกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และ (3) การกระทำนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรเมื่อปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการถึงขั้นจัดพิมพ์เพื่อจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปโดยได้รับค่าตอบแทนงานเขียนดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อหากำไรแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าว ส่วนข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 33นั้น แม้จะปรากฏว่าจำเลยคัด ลอก หรือเลียนงานวรรณกรรมของโจทก์ประมาณ 30 หน้าจากทั้งหมดประมาณ 150 หน้า อันถือได้ว่าเป็นงานบางตอนก็ตาม แต่ปรากฏว่าล้วนเป็นส่วนของเนื้อหาสาระที่สำคัญ และมีปริมาณงานเป็นจำนวนมาก จึงถือได้ว่าเป็นการคัด ลอก หรือเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเกินสมควร ส่วนการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์นั้น หนังสือของจำเลยดังกล่าวเป็นหนังสือขนาด 8 หน้ายกซึ่งจำเลยสามารถที่จะแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำเชิงอรรถหรือกล่าวถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เมื่อนำข้อความของงานนั้นมาเขียนไว้ในหนังสือของจำเลย การที่จำเลยเพียงแต่อ้างอิงชื่อโจทก์และบุคคลอื่นพร้อมงานเขียนไว้ในหัวข้อเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม ผู้อ่านย่อมไม่สามารถทราบได้ว่าข้อความส่วนใดของงานดังกล่าวเป็นงานเขียนของโจทก์ซึ่งจำเลยคัดลอกมา จึงยังไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าเป็นการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันจะถือได้ว่าเข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 33 ประการแรก ทั้งภายหลังเมื่อมีการฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยก็มิได้ดำเนินการให้ระงับการจำหน่ายหนังสือที่จำเลยทำขึ้น จึงเป็นการแบ่งตลาดของผู้บริโภคซึ่งจะซื้อหนังสือประเภทดังกล่าวออกไปส่วนหนึ่ง อันเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของโจทก์ และกระทบถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เกินสมควร จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์สองประการหลังของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ด้วย
จำเลยให้การว่าการจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าว จำเลยมิได้แสวงหากำไรทางการค้าแต่กลับอ้างในอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการของหน่วยราชการที่จำเลยสังกัด ในข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์นอกเหนือคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ในการเขียนหนังสือของโจทก์ โจทก์ได้กำหนดเค้าโครงการเขียน และได้คิดกำหนดสารบัญรวมทั้งได้เขียนอธิบายเนื้อหาสาระและรายละเอียดต่าง ๆ แต่ละประเด็นโดยใช้ถ้อยคำและคำอธิบายของโจทก์ใหม่ทั้งหมดตามความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ทำขึ้นโดยไม่ได้ลอกเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมหนังสือพิพาททั้งสองเล่มนั้น หาใช่หน่วยราชการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 14 ไม่
แนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไม่ใช่สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 วรรคสอง บุคคลสามารถที่จะนำแนวความคิดทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ตราบเท่าที่การใช้ประโยชน์ของบุคคลนั้นไม่เป็นการทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นกล่าวคือหากนำแนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ของบุคคลอื่นไปสร้างสรรค์งานวรรณกรรมของตน ก็จะต้องสร้างสรรค์งานนั้นขึ้นมาโดยมีเนื้อหารายละเอียดและลักษณะการแสดงออกซึ่งความคิดของตนเองมิใช่เพียงแต่คัดลอกหรือเลียนแบบงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นในส่วนอันเป็นสาระสำคัญซึ่งถือว่าเป็นการทำซ้ำ หรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15(1) หากกระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27(1)แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เมื่อปรากฏว่าหนังสือของจำเลยมีข้อความที่เหมือนและคล้ายกับข้อความที่ปรากฏอยู่ในหนังสือของโจทก์ทั้งสองเล่มในส่วนอันเป็นสาระสำคัญของงานประมาณ 30 หน้า จากจำนวนประมาณ 150 หน้า โดยข้อความบางตอนมีลักษณะเกือบเหมือนกันคำต่อคำ บางตอนมีลักษณะดัดแปลงให้ต่างกันเล็กน้อยและบางตอนก็เพียงแต่ปรับเปลี่ยนหัวข้อเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำซ้ำ และดัดแปลงงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อจำเลยกระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
จำเลยเป็นผู้ทำซ้ำและดัดแปลงงานวรรณกรรมอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ และได้เผยแพร่งานดังกล่าวทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัด แม้ตั้งราคาจำหน่ายใกล้เคียงกับต้นทุน ไม่ได้หากำไรเท่าธุรกิจเอกชนก็เป็นการกระทำเพื่อหากำไร โดยรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์
การที่หน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัด จัดพิมพ์ตำราต่าง ๆ ตามระเบียบภายในของหน่วยงานดังกล่าวตามขั้นตอน จึงย่อมจะเป็นเหตุให้ไม่อาจทราบในเบื้องต้นได้ว่าหนังสือที่เขียนขึ้นละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ และต่อมาได้หารือกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้วเห็นว่าหนังสือของจำเลยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์และจำเลยจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างสรรค์ขึ้นมา และจำเลยจะทำละเมิดลิขสิทธิ์ในหนังสือสองเล่มของโจทก์หรือไม่ ยังเป็นปัญหาที่มีเหตุผลของแต่ละฝ่ายที่หน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัดก็ได้ใช้ความพยายามในการแสวงหาข้อยุติอย่างเต็มที่แล้ว ทั้งได้จัดจำหน่ายหนังสือของจำเลยโดยเปิดเผย จึงฟังไม่ได้ว่าหน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าหนังสือที่จำเลยเขียนขึ้นโดยการละเมิดลิขสิทธิ์ในวรรณกรรมของโจทก์ แล้วจำหน่ายหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งหนังสือดังกล่าวเพื่อการค้าอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 31(1) และ (2)
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในกรณีที่อ้างว่าเป็นการวิจัยและใช้เป็นเอกสารประกอบการสอนโดยไม่ได้แสวงหากำไร โดยมีการอ้างอิงที่มาของข้อความไว้แล้วนั้นประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการคือ (1) เป็นการกระทำต่าง ๆ ตามที่มาตรา 32วรรคสอง และมาตรา 33 บัญญัติไว้ (2) การกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และ (3) การกระทำนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรเมื่อปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการถึงขั้นจัดพิมพ์เพื่อจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปโดยได้รับค่าตอบแทนงานเขียนดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อหากำไรแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าว ส่วนข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 33นั้น แม้จะปรากฏว่าจำเลยคัด ลอก หรือเลียนงานวรรณกรรมของโจทก์ประมาณ 30 หน้าจากทั้งหมดประมาณ 150 หน้า อันถือได้ว่าเป็นงานบางตอนก็ตาม แต่ปรากฏว่าล้วนเป็นส่วนของเนื้อหาสาระที่สำคัญ และมีปริมาณงานเป็นจำนวนมาก จึงถือได้ว่าเป็นการคัด ลอก หรือเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเกินสมควร ส่วนการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์นั้น หนังสือของจำเลยดังกล่าวเป็นหนังสือขนาด 8 หน้ายกซึ่งจำเลยสามารถที่จะแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำเชิงอรรถหรือกล่าวถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เมื่อนำข้อความของงานนั้นมาเขียนไว้ในหนังสือของจำเลย การที่จำเลยเพียงแต่อ้างอิงชื่อโจทก์และบุคคลอื่นพร้อมงานเขียนไว้ในหัวข้อเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม ผู้อ่านย่อมไม่สามารถทราบได้ว่าข้อความส่วนใดของงานดังกล่าวเป็นงานเขียนของโจทก์ซึ่งจำเลยคัดลอกมา จึงยังไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าเป็นการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันจะถือได้ว่าเข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 33 ประการแรก ทั้งภายหลังเมื่อมีการฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยก็มิได้ดำเนินการให้ระงับการจำหน่ายหนังสือที่จำเลยทำขึ้น จึงเป็นการแบ่งตลาดของผู้บริโภคซึ่งจะซื้อหนังสือประเภทดังกล่าวออกไปส่วนหนึ่ง อันเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของโจทก์ และกระทบถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เกินสมควร จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์สองประการหลังของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ด้วย
จำเลยให้การว่าการจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าว จำเลยมิได้แสวงหากำไรทางการค้าแต่กลับอ้างในอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการของหน่วยราชการที่จำเลยสังกัด ในข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์นอกเหนือคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: การรับฟังคำรับสารภาพ, การพิสูจน์องค์ประกอบความผิด, และการแก้ไขโทษปรับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31และ 70 เท่ากับโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 70 วรรคสองอยู่ในตัวแล้ว โจทก์หาจำต้องระบุวรรคของบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยไม่ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามวรรคในมาตรานั้น ๆ ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าโดยนำออกให้เช่าซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31,70 ซึ่งความผิดดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบความผิดว่า ผู้กระทำผิดจะต้องเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนวิดีโอเทปของกลางด้วยหรือไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตามมาตรา 27(1),69 ซึ่งเป็นความผิดคนละอย่างกันมาด้วย ดังนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปของกลางซึ่งเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดดังที่โจทก์ฟ้องศาลก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าโดยนำออกให้เช่าซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31,70 ซึ่งความผิดดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบความผิดว่า ผู้กระทำผิดจะต้องเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนวิดีโอเทปของกลางด้วยหรือไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตามมาตรา 27(1),69 ซึ่งเป็นความผิดคนละอย่างกันมาด้วย ดังนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปของกลางซึ่งเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดดังที่โจทก์ฟ้องศาลก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์: การกระทำความผิด การปรับบทลงโทษ และขอบเขตการลงโทษที่เหมาะสม
บริษัทจำเลยที่ 1 มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และพร้อมที่จะคัดลอกหรือทำซ้ำติดตั้งลงในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์และส่งมอบให้ในวันที่ ฟ.ไปสุ่มซื้อได้ทันทีแม้การกระทำของฟ. จะเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ แต่ก็ไม่เป็นการชักจูงใจหรือก่อให้ฝ่ายจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ขึ้นมา เพราะจำเลยมีเจตนากระทำการอันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และมาตรา 28(2)
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ ฟ. ไป ซึ่งเป็นการให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า แต่คิดราคาเฉพาะตัวเครื่อง โดยพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้ขายหรือเสนอขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ที่ไม่มีใบอนุญาตให้แก่ ฟ. แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 และกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31(1) คงมีความผิดตามมาตรา 31(3) ซึ่งเป็นการแจกจ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อการค้าเท่านั้น
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ ฟ. ไป ซึ่งเป็นการให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า แต่คิดราคาเฉพาะตัวเครื่อง โดยพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้ขายหรือเสนอขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ที่ไม่มีใบอนุญาตให้แก่ ฟ. แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 และกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31(1) คงมีความผิดตามมาตรา 31(3) ซึ่งเป็นการแจกจ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อการค้าเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2232/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษคดีละเมิดลิขสิทธิ์และควบคุมวัสดุโทรทัศน์ พิจารณาจากปริมาณของกลางและลักษณะการประกอบกิจการ
ความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31(1) และ 70 วรรคสองบัญญัติให้ลงโทษจำคุกสามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อภาพยนตร์วีดีโอซีดีแผ่นวีซีดีและแผ่นซีดีรอมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของกลาง ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทผู้เสียหายและจำเลยนำมาจำหน่ายเพื่อการหากำไรมีจำนวนเพียง 155 แผ่น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ให้จำคุก 1 ปี และปรับ 300,000 บาท จึงหนักเกินไปส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 6วรรคหนึ่ง และมาตรา 34 ที่ลงโทษปรับจำเลย 20,000 บาท ก็สูงเกินไปด้วย ไม่เหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดของจำเลยซึ่งประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวัสดุโทรทัศน์ของกลางบริเวณลานจอดรถของห้างสรรพสินค้าอันมิได้ประกอบกิจการโดยตั้งเป็นร้านค้าถาวรแต่อย่างใด ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ เห็นควรกำหนดโทษในความผิดทั้งสองฐานเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลย
วีดีโอภาพยนตร์ แผ่นวีซีดีและซีดีรอมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของกลาง ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทผู้เสียหายย่อมตกเป็นของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 75 จึงไม่ชอบที่จะริบของกลางดังกล่าว
วีดีโอภาพยนตร์ แผ่นวีซีดีและซีดีรอมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของกลาง ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทผู้เสียหายย่อมตกเป็นของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 75 จึงไม่ชอบที่จะริบของกลางดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทบัญญัติมาตรา 73 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ มิใช่บทเพิ่มโทษ แต่เป็นบทกำหนดโทษที่หนักขึ้น และการริบของกลางต้องมีคำขอ
การมีแผ่นวิดีโอซีดีแผ่นซีดีและแผ่นซีดีรอมไว้เพื่อขายและเสนอขายกับการประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ในคราวเดียวกันนั้น เป็นการกระทำโดยอาศัยเจตนาที่แยกต่างหากจากกันและเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกัน จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 73 เป็นบทระวางโทษที่หนักขึ้นเป็นสองเท่าของระวางโทษตามมาตรา 70 วรรคสองหาใช่บทเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยให้หนักขึ้นเป็นสองเท่าไม่
โจทก์มีคำขอเพียงให้แผ่นวิดีโอซีดีแผ่นซีดีและแผ่นซีดีรอมของกลาง ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ไม่มีของกลางรายการอื่นที่โจทก์ขอให้ริบอีก ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ริบสิ่งของที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดมาด้วยจึงเป็นการเกินคำขอ
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 73 เป็นบทระวางโทษที่หนักขึ้นเป็นสองเท่าของระวางโทษตามมาตรา 70 วรรคสองหาใช่บทเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยให้หนักขึ้นเป็นสองเท่าไม่
โจทก์มีคำขอเพียงให้แผ่นวิดีโอซีดีแผ่นซีดีและแผ่นซีดีรอมของกลาง ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ไม่มีของกลางรายการอื่นที่โจทก์ขอให้ริบอีก ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ริบสิ่งของที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดมาด้วยจึงเป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7450/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษปรับในคดีละเมิดลิขสิทธิ์และจำหน่ายเทปวีดีโอที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยพิจารณาจากปริมาณของกลางและขนาดธุรกิจ
จำเลยเป็นเพียงผู้นำออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายซึ่งแผ่นภาพยนตร์วีดีโอซีดีที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้นทั้งภาพยนตร์วีดีโอซีดีของกลางก็มีจำนวนเพียง 81 แผ่น ซึ่งเป็นจำนวนไม่มากนัก และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงแน่ชัดว่าการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดมากเพียงใดการที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยสูงถึง 162,000 บาท นับว่าหนักเกินไป ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ นั้น ข้อเท็จจริงได้ความจากอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งโจทก์มิได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า จำเลยเช่าสถานที่ประกอบกิจการเป็นแผงขนาดเล็ก มิได้เป็นร้านค้าใหญ่โตแต่อย่างใดดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลย 13,000 บาท จึงหนักเกินไปเช่นกัน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเฉพาะโทษปรับในความผิดทั้งสองฐานเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่สภาพความผิดและพฤติการณ์แห่งรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้รู้ว่าลูกโป่งละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
งานภาพพิมพ์รูปการ์ตูนหมีพูห์ (WinniethePooh) ของผู้เสียหายอันเป็นศิลปกรรมอยู่ในประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ผู้เสียหายสร้างสรรค์จินตนาการนั้นเป็นการสร้างสรรค์จินตนาการโดยวิจักขณ์จากธรรมชาติซึ่งเป็นสัตว์โลกที่เรียกกันว่า "หมี"(BEAR) มาเป็นงานศิลปกรรมในรูปการ์ตูนสัตว์โลกที่เป็น "หมี" เป็นสัตว์ธรรมชาติที่มีชีวิตที่งดงามแปลกหูแปลกตาและแปลกไปจากสัตว์อื่น มนุษย์ทุกคนย่อมมีปรัชญาศิลปะอยู่ในตัวบ้างไม่มากก็น้อย เมื่อพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติก็สามารถสร้างสรรค์จินตนาการในศิลปะในลักษณะต่าง ๆ กันได้เมื่อการสร้างสรรค์จินตนาการภาพการ์ตูนมีที่มาจากสัตว์ธรรมชาติอย่างเดียวกันโดยการริเริ่มขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์แต่ละคน งานศิลปกรรมดังกล่าวจึงอาจจะเหมือนหรือคล้ายกันได้โดยไม่จำต้องมีการลอกเลียนทำซ้ำกันหรือดัดแปลงงานของกันและกันแต่อย่างใด พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 วรรคสอง ไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่ความคิดในการสร้างสรรค์งาน การใช้ความคิดริเริ่มนำเอาความสวยงามตามธรรมชาติของสัตว์โลกมาสร้างสรรค์จินตนาการเป็นภาพการ์ตูนจึงเป็นความคิดที่กฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครองเอาไว้เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการผูกขาดจินตนาการหรือสุนทรียภาพในทางความคิดก่อให้เกิดผลเสียแก่มนุษยชาติ เนื่องจากจะมีผลทำให้บุคคลอื่นไม่สามารถสร้างสรรค์จินตนาการของตนเองเป็นภาพการ์ตูนจากสัตว์ธรรมชาติหรือจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันได้ กฎหมายลิขสิทธิ์จึงคุ้มครองเฉพาะการแสดงออกซึ่งความคิดซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขของมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์ตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ของผู้เสียหายโดยนำลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนรูปหมีพูห์ซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 4,435 ใบ ออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่ารูปหมีพูห์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า ลูกโป่งจำนวนดังกล่าวที่มีภาพตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่ารูปหมีพูห์บนลูกโป่งดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับซื้อลูกโป่งจากบุคคลอื่นมาบรรจุแผงขาย เจ้าพนักงานตำรวจค้นและแยกลูกโป่งออกจากกันแล้ว พบว่ามีลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายได้เพียง 4,435 ใบจากจำนวนลูกโป่งทั้งหมดเกือบ 1,000,000 ใบ ซึ่งมีภาพการ์ตูนสัตว์หลายประเภทปะปนกันนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักและเหตุผลให้เชื่อได้ดังที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพพิมพ์บนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใดแต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่งความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบให้ฟังได้ว่า ภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางคือภาพที่ได้ทำขึ้นโดยมิได้มีการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเอง แต่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย
แม้จะฟังว่าภาพการ์ตูนหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหาย แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอให้ฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์ตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ของผู้เสียหายโดยนำลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนรูปหมีพูห์ซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 4,435 ใบ ออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่ารูปหมีพูห์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า ลูกโป่งจำนวนดังกล่าวที่มีภาพตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่ารูปหมีพูห์บนลูกโป่งดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับซื้อลูกโป่งจากบุคคลอื่นมาบรรจุแผงขาย เจ้าพนักงานตำรวจค้นและแยกลูกโป่งออกจากกันแล้ว พบว่ามีลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายได้เพียง 4,435 ใบจากจำนวนลูกโป่งทั้งหมดเกือบ 1,000,000 ใบ ซึ่งมีภาพการ์ตูนสัตว์หลายประเภทปะปนกันนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักและเหตุผลให้เชื่อได้ดังที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพพิมพ์บนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใดแต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่งความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบให้ฟังได้ว่า ภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางคือภาพที่ได้ทำขึ้นโดยมิได้มีการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเอง แต่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย
แม้จะฟังว่าภาพการ์ตูนหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหาย แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอให้ฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย: โจทก์มีสิทธิฟ้องละเมิด แม้มีข้อตกลงกับนางแบบ, การแบ่งหน้าที่ผิดกฎหมาย และความผิดฐานเผยแพร่
แม้ตกลงระหว่างโจทก์และ ท. จะกำหนดว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัท น. แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา ท. จะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีนี้ไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ ทั้งการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ยอมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้น หากมีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ"ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์ และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 เป็นเพียงผู้รับจ้างจากบริษัท 222 ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าโดยเฉพาะเท่านั้น อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ"ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์ และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 เป็นเพียงผู้รับจ้างจากบริษัท 222 ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าโดยเฉพาะเท่านั้น อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: พิจารณาเฉพาะความเสียหายโดยตรงที่ประเมินเป็นเงินได้
จำเลยเป็นเพียงผู้จำหน่ายเทปเพลงซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่มีผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้ทำซ้ำไว้แล้วเท่านั้น แม้การกระทำดังกล่าวจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ประชาชนขาดความเชื่อถือ และโจทก์ได้เสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเทปเพลงลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบเป็นเงินจำนวนมากก็ตามแต่ความเสียหายของโจทก์ที่ได้รับจากการกระทำของจำเลยโดยตรงที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้คงมีเฉพาะที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการที่จำเลยนำเทปเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ออกจำหน่าย อันอาจทำให้การจำหน่ายเทปเพลงของโจทก์ตกต่ำไป 175 ม้วน ซึ่งคิดเป็นเงินที่โจทก์จำหน่ายราคาม้วนละ 90 บาท เป็นเงิน 15,750 บาท ส่วนความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ทำให้ประชาชนไม่เชื่อถือในกิจการของโจทก์นั้นมีไม่มากนัก ค่าเสียหายในส่วนนี้จำนวน 50,000 บาท จึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยแล้ว แต่การที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่สำนักงานทนายความเพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้นเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องจ่ายเพื่อรักษาประโยชน์ในการดำเนินกิจการของโจทก์เท่านั้น มิใช่ค่าเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายส่วนนี้จากจำเลยได้
โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายเพิ่มในชั้นอุทธรณ์ 50,000 บาทเท่านั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์เพียง 50,000 บาท รวมค่าขึ้นศาลอนาคตด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 100,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายเพิ่มในชั้นอุทธรณ์ 50,000 บาทเท่านั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์เพียง 50,000 บาท รวมค่าขึ้นศาลอนาคตด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 100,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: พิจารณาผลกำไรที่สูญเสียไป ไม่ใช่ราคาขายรวมต้นทุน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการทำซ้ำ โฆษณาและนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ และขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายทางการค้า จึงเท่ากับโจทก์อ้างว่า การกระทำของจำเลยซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้นประกอบด้วยการทำซ้ำและการนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแต่เพียงในปัญหาว่าการกระทำซ้ำของจำเลยต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายหรือไม่ จึงยังไม่ถูกต้อง ต้องวินิจฉัยด้วยว่าการที่จำเลยนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งเทปเพลงของกลางทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายทางการค้าหรือไม่
ความเสียหายจากการขาดรายได้ที่โจทก์จะได้รับเมื่อจำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการนำเทปเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ออกจำหน่าย ย่อมเป็นความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลกำไรจากการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนออกจำหน่ายเท่านั้น หาใช่ความเสียหายที่คิดคำนวณจากราคาจำหน่ายเทปเพลงแต่ละม้วนซึ่งได้รวมต้นทุนการผลิตเอาไว้ด้วยแต่อย่างใดไม่
ความเสียหายจากการขาดรายได้ที่โจทก์จะได้รับเมื่อจำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการนำเทปเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ออกจำหน่าย ย่อมเป็นความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลกำไรจากการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนออกจำหน่ายเท่านั้น หาใช่ความเสียหายที่คิดคำนวณจากราคาจำหน่ายเทปเพลงแต่ละม้วนซึ่งได้รวมต้นทุนการผลิตเอาไว้ด้วยแต่อย่างใดไม่