พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นพยานเอกสารล่าช้าในคดีภาษีอากร และผลกระทบต่อการรับฟังพยานหลักฐาน
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544 ข้อ 15 วรรคสอง ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานพร้อมทั้งสำเนาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เมื่อจำเลยที่ 6 ได้ยื่นบัญชีระบุพยานแล้วเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2558 โดยระบุหนังสือรับรองการหักเงินรายได้เพื่อชำระหนี้ค่าหุ้นที่ออกโดยจำเลยที่ 1 เป็นพยานเอกสาร และยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน การยื่นบัญชีระบุพยานจึงชอบแล้ว
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 16 ให้คู่ความยื่นต้นฉบับพยานเอกสารทั้งหมดที่ประสงค์จะอ้างอิงและอยู่ในความครอบครองของตน...พร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยาน โดยคู่ความไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารต่อศาลและคู่ความฝ่ายอื่น และวรรคสองกำหนดว่า คู่ความฝ่ายใดมิได้ยื่นเอกสารต่อศาลตามความในวรรคหนึ่ง คู่ความฝ่ายนั้นไม่มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานนั้นมาสืบภายหลัง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อคู่ความดังกล่าวสามารถแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้เพราะเหตุสุดวิสัยหรือเมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบ แม้จำเลยที่ 6 ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว แต่จำเลยที่ 6 มิได้ยื่นต้นฉบับเอกสารที่ประสงค์จะอ้างอิงและอยู่ในความครอบครองของตนต่อศาลพร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยาน และจำเลยที่ 6 มิได้แสดงถึงเหตุที่ไม่สามารถปฏิบัติได้เพราะมีเหตุสุดวิสัย ทั้งไม่ได้รับอนุญาตจากศาลภาษีอากรกลางให้นำสืบเอกสารดังกล่าวได้ จำเลยที่ 6 จึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานนั้นเข้าสืบ
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 16 ให้คู่ความยื่นต้นฉบับพยานเอกสารทั้งหมดที่ประสงค์จะอ้างอิงและอยู่ในความครอบครองของตน...พร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยาน โดยคู่ความไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารต่อศาลและคู่ความฝ่ายอื่น และวรรคสองกำหนดว่า คู่ความฝ่ายใดมิได้ยื่นเอกสารต่อศาลตามความในวรรคหนึ่ง คู่ความฝ่ายนั้นไม่มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานนั้นมาสืบภายหลัง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อคู่ความดังกล่าวสามารถแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้เพราะเหตุสุดวิสัยหรือเมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบ แม้จำเลยที่ 6 ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว แต่จำเลยที่ 6 มิได้ยื่นต้นฉบับเอกสารที่ประสงค์จะอ้างอิงและอยู่ในความครอบครองของตนต่อศาลพร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยาน และจำเลยที่ 6 มิได้แสดงถึงเหตุที่ไม่สามารถปฏิบัติได้เพราะมีเหตุสุดวิสัย ทั้งไม่ได้รับอนุญาตจากศาลภาษีอากรกลางให้นำสืบเอกสารดังกล่าวได้ จำเลยที่ 6 จึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานนั้นเข้าสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรและสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษี – การใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ค่าหุ้น
การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า คดีในส่วนจำเลยที่ 2 มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (2) เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในปัญหาว่า คดีในส่วนจำเลยที่ 2 อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรกลางหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตามมาตรา 10 วรรคสอง (เดิม) กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย ศาลภาษีอากรกลางหามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ประกอบกับคู่ความไม่ได้โต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลไว้ จึงไม่มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในเรื่องเขตอำนาจศาล ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และพิพากษายกฟ้องมานั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานของโจทก์มีหนังสือไปยังกรรมการจำเลยที่ 1 เพื่อให้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมาชำระแก่จำเลยที่ 1 ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามสิทธิเรียกร้องของตนเป็นเหตุให้โจทก์เสียประโยชน์ หนี้ค่าภาษีอากรที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้มีบุริมสิทธิ กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 233 และมาตรา 235 โจทก์ชอบจะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ต่อจำเลยที่ 2 ได้ แต่การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 อันมีต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งยังส่งใช้เงินค่าหุ้นไม่ครบถ้วนพร้อมดอกเบี้ย แม้โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ในนามของตนเองตามมาตรา 233 ก็เป็นการใช้สิทธิแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ส่งใช้เงินค่าหุ้นที่ยังไม่ครบพร้อมดอกเบี้ย
เจ้าพนักงานของโจทก์มีหนังสือไปยังกรรมการจำเลยที่ 1 เพื่อให้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมาชำระแก่จำเลยที่ 1 ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามสิทธิเรียกร้องของตนเป็นเหตุให้โจทก์เสียประโยชน์ หนี้ค่าภาษีอากรที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้มีบุริมสิทธิ กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 233 และมาตรา 235 โจทก์ชอบจะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ต่อจำเลยที่ 2 ได้ แต่การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 อันมีต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งยังส่งใช้เงินค่าหุ้นไม่ครบถ้วนพร้อมดอกเบี้ย แม้โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ในนามของตนเองตามมาตรา 233 ก็เป็นการใช้สิทธิแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ส่งใช้เงินค่าหุ้นที่ยังไม่ครบพร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3135/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เพื่อขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ และขอบเขตการได้รับชำระหนี้
ก่อนยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีนี้เจ้าหนี้ได้ฟ้องบริษัท ส. และลูกหนี้เป็นจำเลยในข้อหาผิดสัญญาซื้อขาย รับสภาพหนี้ และใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ โดยฟ้องว่า บริษัท ส. ผิดสัญญาไม่ชำระค่าสินค้าให้เจ้าหนี้ ซึ่งต่อมาบริษัท ส. ได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ว่าเป็นหนี้ค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยเป็นเงิน 38,065,534.81 บาท และขอผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน แต่ก็ผิดนัดชำระหนี้และปรากฏว่าก่อนหน้านี้ลูกหนี้ได้ว่าจ้างบริษัท ส. ดังกล่าว ก่อสร้างและติดตั้งระบบภายในอาคารของลูกหนี้ โดยมีการส่งมอบงานแก่ลูกหนี้ 3 งวด รวมทั้งสิ้น 76 ครั้ง คิดเป็นเงิน 127,000,000 บาท และบริษัท ส. รับสมอ้างว่าได้รับค่าจ้างจำนวนดังกล่าวไปจากลูกหนี้แล้วซึ่งไม่เป็นความจริง เจ้าหนี้จึงแจ้งให้บริษัท ส. ใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้ดังกล่าวเพื่อจะได้นำมาชำระหนี้ค่าสินค้าแก่เจ้าหนี้ แต่บริษัท ส. เพิกเฉยทำให้เจ้าหนี้เสียหายและเสียประโยชน์ ขอให้บังคับบริษัท ส. และลูกหนี้ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวน 38,065,534.81 บาท พร้อมดอกเบี้ย บริษัท ส. และลูกหนี้ให้การต่อสู้คดี แต่ระหว่างการพิจารณาคดีลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะลูกหนี้ชั่วคราว และต่อมาได้พิพากษาให้บริษัท ส. ชำระหนี้ดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ คดีถึงที่สุด ดังนี้ การที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องบริษัท ส. และลูกหนี้เป็นจำเลยในคดีแพ่งแทนการขอให้ศาลออกหมายเรียกให้บริษัท ส. เข้ามาในคดีในการใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้ ก็ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ดำเนินการตาม ป.พ.พ. มาตรา 234 ที่มุ่งหมายให้ลูกหนี้เข้ามาในคดีเพื่อรักษาสิทธิของตนแล้ว และการที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการในนามตนเองแทนบริษัท ส. เป็นกระบวนการที่สืบเนื่องมาจากการที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องของบริษัท ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้นั่นเอง เมื่อบริษัท ส. ไม่มีทรัพย์สินที่เจ้าหนี้จะบังคับมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ และบริษัท ส. ก็มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ด้วย จึงเป็นกรณีที่บริษัท ส. เพิกเฉยไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์ เจ้าหนี้จึงใช้สิทธิเรียกร้องของบริษัท ส. ในนามตนเองขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ตามจำนวนหนี้ที่บริษัท ส. เป็นหนี้เจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7313/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่ผู้รับสิทธิเรียกร้องก่อนล้มละลาย ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนพ.ร.บ.ล้มละลาย
ก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดคดีที่ ส.ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยฟ้องผู้ร้องยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ซึ่ง ส. เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยได้ขอหมายเรียกจำเลยมาในคดีนั้นแล้ว แต่จำเลยมิได้เข้ามาในคดี ดังนั้นส. จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้จากผู้ร้องเท่าจำนวนที่ผู้ร้องลูกหนี้เดิมค้างชำระแก่จำเลยนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234,235 แล้ว และไม่มีหนี้ในส่วนนี้ที่ ส. จะนำไปใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้อีก เมื่อคดีแพ่งดังกล่าวได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้ผู้ร้องชำระหนี้แก่ ส.ส. จึงเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้อง ซึ่งอาจบังคับเอาแก่ผู้ร้องได้ตามกฎหมาย เมื่อผู้ร้องได้ชำระหนี้แก่ ส. ไปตามคำพิพากษาแล้วจึงเป็นการชำระหนี้ที่ได้ทำให้บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315 การชำระหนี้ดังกล่าวหาใช่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 ไม่ ผู้ร้องจึงไม่ได้เป็นหนี้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยอีกต่อไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้จำนวนดังกล่าวซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7313/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยผู้ใช้สิทธิเรียกร้องก่อนการพิทักษ์ทรัพย์: ไม่เป็นเหตุให้เกิดหนี้ซ้ำ
ก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดคดีที่ ส. ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยฟ้องผู้ร้องยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ซึ่ง ส. เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยได้ขอหมายเรียกจำเลยมาในคดีนั้นแล้ว แต่จำเลยมิได้เข้ามาในคดี ดังนั้น ส. จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้จากผู้ร้องเท่าจำนวนที่ผู้ร้องลูกหนี้เดิมค้างชำระแก่จำเลยนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234, 235 แล้ว และไม่มีหนี้ในส่วนนี้ที่ ส. จะนำไปใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้อีก เมื่อคดีแพ่งดังกล่าวได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้ผู้ร้องชำระหนี้แก่ ส. ส. จึงเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้อง ซึ่งอาจบังคับเอาแก่ผู้ร้องได้ตามกฎหมาย เมื่อผู้ร้องได้ชำระหนี้แก่ ส. ไปตามคำพิพากษาแล้ว จึงเป็นการชำระหนี้ที่ได้ทำให้บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315การชำระหนี้ดังกล่าวหาใช่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 22 ไม่ ผู้ร้องจึงไม่ได้เป็นหนี้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยอีกต่อไปเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้จำนวนดังกล่าวซ้ำอีก