คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1120

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินค่าหุ้นค้างชำระหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเรียกเก็บได้
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนบริษัทไม่
กรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ถือหุ้น ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 22 และ 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้ สิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระแก่จำเลยผู้ร้องก็ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งยกคำสั่งยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องโดยมิได้กำหนดให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยนั้น ยังไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119วรรคสาม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าหุ้นคงเหลือของบริษัท, อายุความ, และอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1120,1121เป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ไม่ต้องเรียกภายใน10ปีนับแต่วันจดทะเบียนบริษัท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกร้องค่าหุ้นค้างชำระจากผู้ถือหุ้นลูกหนี้ เพื่อนำมาชำระหนี้
บริษัทจำเลยที่ 1 ซื้อก๊าซไนโตรเจนเหลวไปจากโจทก์ แล้วไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ และกรรมการของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์ต้องเสียประโยชน์โจทก์จึงมีอำนาจใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ส่งชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัทและการบังคับชำระหลังล้มละลาย
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจ ของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรง อยู่ หาใช่ว่าจะต้อง เรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้ง กรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้ เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้นและเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกทั้งหมดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระไม่ผูกติดกรอบเวลา 10 ปี แต่เกิดขึ้นเมื่อมีคำบอกกล่าวเรียกชำระจากกรรมการ
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าจะต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้งกรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 119เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระไม่จำกัดระยะเวลา หากยังไม่ได้รับชำระและบริษัทฯ ยังดำรงอยู่
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าจะต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้งกรรมการบริษัทไม่ แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกจึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดทางอาญาจากการถือหุ้นเกินสัดส่วนในธนาคารพาณิชย์ ทำให้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นตกไป
บริษัทโจทก์และบริษัทจำเลยที่ 1 ต่างรู้เห็นร่วมกันให้บริษัทจำเลยที่ 1ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ มีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทโจทก์เป็นจำนวนเกินกว่าที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์บัญญัติไว้ อันเป็นความผิดทางอาญา ย่อมได้ชื่อว่าต่างไม่สุจริตด้วยกัน เพราะร่วมกันก่อให้เกิดความผิดทางอาญาขึ้น บริษัทโจทก์จะยกสิทธิอันไม่สุจริต ซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำความผิดทางอาญาด้วยกันมาเรียกร้องเงินค่าหุ้นของบริษัทโจทก์ซึ่งยังไม่ได้รับชำระจากบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ไม่สุจริตด้วยกันหาได้ไม่เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมซึ่งกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดด้วย กรณีดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องเรียกเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระอันเกิดจากการร่วมกันใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการผู้ทำแทนบริษัทจำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทโจทก์ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76 มาใช้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโอนหุ้นที่ผิดกฎหมายธนาคารพาณิชย์ ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าหุ้นขาดผลบังคับใช้
บริษัทโจทก์และบริษัทจำเลยที่ 1 ต่างรู้เห็นร่วมกันให้บริษัทจำเลยที่ 1ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ มีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทโจทก์เป็นจำนวนเกินกว่าที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์บัญญัติไว้ อันเป็นความผิดทางอาญา ย่อมได้ชื่อว่าต่างไม่สุจริตด้วยกัน เพราะร่วมกันก่อให้เกิดความผิดทางอาญาขึ้น บริษัทโจทก์จะยกสิทธิอันไม่สุจริตซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำความผิดทางอาญาด้วยกันมาเรียกร้องเงินค่าหุ้นของบริษัทโจทก์ซึ่งยังไม่ได้รับชำระจากบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ไม่สุจริตด้วยกันหาได้ไม่เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมซึ่งกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดด้วย กรณีดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องเรียกเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระอันเกิดจากการร่วมกันใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการผู้ทำแทนบริษัทจำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทโจทก์ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 มาใช้หาได้ไม่
of 2